การบริหารงานสินเชื่อ เรื่องการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา|การบริหารงานสินเชื่อ เรื่องการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา

การบริหารงานสินเชื่อ เรื่องการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การบริหารงานสินเชื่อ เรื่องการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา

สัญญาณเตือนภัย (WARNING SIGN) และอาการของหนี้ที่ปัญหา

บทความวันที่ 26 พ.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 40448 ครั้ง


 

การบริหารงานสินเชื่อ เรื่องการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา

สัญญาณเตือนภัย (WARNING SIGN)  และอาการของหนี้ที่ปัญหา

 

สัญญาณเตือนภัย (WARNING SIGN) และอาการของหนี้ที่ปัญหา

 

            ก่อนที่ลูกหนี้รายใดรายหนึ่งก็ตาม  จะเป็นหนี้ที่มีปัญหานั้น  จะมีลางบอกเหตุหรืออาการที่แสดงว่า  หนี้รายนั้น  เริ่มมีปัญหาแล้ว  ถ้าหากเจ้าหน้าที่สินเชื่อ (L/O) ได้ให้ความสนใจติดตามข่าวสารในวงการธุรกิจหรือติดตามดูการใช้วงเงินสินเชื่อของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอแล้ว  ก็จะตรวจพบได้ไม่ยากนัก

            อาการของหนี้ที่มีปัญหา

            1. ลูกหนี้ไม่ให้ข้อมูลหรือหลบเลี่ยงการติดต่อ

            2. มีข่าวในทางลบของลูกหนี้

            3. โครงการล่าช้ากว่ากำหนดหรือเกิด COST OVER RUN

            4. ผิดนัดชำระเงินกู้ตามสัญญา

            5. การเคลื่อนไหวบัญชีน้อย และมีการเกินวงเงินบ่อยครั้ง

            6. เช็คการค้าเรียกเก็บเงินไม่ได้หรือนำเช็คส่วนตัวมาขายลด

            7. ใช้วงเงินสินเชื่อประเภท P/N  ผิดวัตถุประสงค์

            8. ถูก CLAIM L/G โดยไม่มีเหตุอันสมควร

            9. T/R OVER DUE หรือขอต่ออายุ โดยไม่มีเหตุอันสมควร

            10.PACKING CREDIT ไม่สามารถส่งสินค้า  ได้ตามกำหนด

            11.AVAL OVER DUE

            12.มีหนี้สินกับสถาบันการเงินอื่น ๆ มาก

            13.เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร

            14.ผลประกอบการ ขาดทุน

 

            เมื่อเกิดอาการของหนี้ที่มีปัญหาขึ้น  ถ้าหากเจ้าหน้าที่สินเชื่อ (L/O) สนใจติดตามหาสาเหตุว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว  ก็จะช่วยทำให้การแก้ไขปัญหานั้น ได้เท่าทันต่อเหตุการณ์

            อาการของหนี้ที่มีปัญหา

            เมื่อตรวจพบอาการของหนี้ที่มีปัญหาแล้ว  ควรจะรีบดำเนินการ  เพื่อแก้ไขปัญหานั้น  โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

            1. ตรวจสอบภาระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ และผลการติดต่อ

            2. ตรวจสอบเอกสาร และหลักประกัน

            3. ออกเยี่ยมเยียนลูกหนี้หรือเชิญพบเพื่อเจรจา

            4. วิเคราะห์ปัญหาของลูกหนี้

            5. หาสาเหตุของปัญหา

            6. กำหนดแนวทางการแก้ไข

            7. ดำเนินการแก้ไข

            8. ติดตาม และประเมินผล

           

            สาเหตุของปัญหา

            สาเหตุของปัญหาที่พบเสมอ ๆ มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ

            1) สาเหตุจากความบกพร่องของธนาคาร

            2) สาเหตุจากตัวลูกหนี้เอง

            3) ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อลูกหนี้

 

            1). สาเหตุจากความบกพร่องของธนาคาร

            - ขาดการวิเคราะห์สินเชื่อที่ดี

            - พนักงานธนาคารขาดประสบการณ์
            - เน้นเป้าหมายมากกว่าคุณภาพสินเชื่อ

            - ให้สินเชื่อโดยเกรงใจผู้แนะนำ

            - ไม่ควบคุมการใช้วงเงินสินเชื่อให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์

            - ทิ้งปัญหาไม่ดำเนินการแก้ไขมาตั้งแต่ต้น

            - ขาดการประสางานระหว่างกัน

            - HUMAN ERROR

            - ความไม่ซื่อสัตย์ของพนักงาน

 

            2) สาเหตุจากตัวลูกหนี้เอง

            - สภาพธุรกิจโดยรวมเกิดปัญหา

            - สินค้าขายไม่ได้หรือผลิตสินค้าไม่ตรงตามความต้องการของตลาด

            - ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์

            - เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร

            - มีภาระหนี้สินเกินตัว

            - จัดระบบงานไม่ดี  เกิดการรั่วไหล

            - เช็คการค้าของลูกหนี้เรียกเก็บเงินไม่ได้

            - OVER INVESTMENT

            - ลงทุนใน FIX ASSET มากเกินไป

            - เทคนิคการผลิตและเครื่องจักรล้าสมัย

           

            3) ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อลูกหนี้

            - ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ (ECONOMICS)

            - ปัจจัยทางด้านการเมือง (POLITICAL)

            - ปัจจัยทางด้านนโยบายของรัฐ (GOVERNMENT POLICY)

            - ปัจจัยทางด้านตลาดสินค้า (MARKETING)

            - การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค

            - UNFORSEEN FACTOR  (ปัจจัยที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า)

 

            การวางแนวทางเพื่อแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา

            เมื่อทราบสาเหตุของปัญหาแล้ว  ก็จะสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ  เพื่อให้หนี้นั้นกลับคืนสู่สภาพปกติ  หรือทำให้ธนาคารเสียหายน้อยที่สุด  ซึ่งการแก้ไขปัญหานั้น จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้

1.      ความจริงใจของลูกหนี้ในการแก้ไขปัญหา

2.      สภาพธุรกิจที่ดำเนินอยู่

3.      ความสามารถในการชำระหนี้

4.      หลักประกัน

5.      วิธีการควบคุม

 

เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบดังกล่าวแล้ว สรุปได้ว่า ธนาคารสามารถดำเนินการ

อย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 แนวทาง ดังนี้

            1) ในกรณีที่เห็นว่า ธุรกิจยังคงดำเนินการต่อไปได้

            หากมีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ควรให้ลูกหนี้มีโอกาสในการพื้นฟูธุรกิจ  ซึ่งการแก้ไขหนี้วิธีนี้ มีดังนี้

            1. RESTRUCTURE หนี้ใหม่

            โดยเปลี่ยนหนี้ระยะสั้นเป็นระยะยาว ยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป  เปลี่ยนดอกเบี้ยค้างชำระมาเป็นเงินต้น  แล้วให้ผ่อนชำระในระยะเวลา ให้ GRACE PERIOD  ตามความจำเป็น  กำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระเสียใหม่  ให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้

 

            2. ลดเงินต้นหรือดอกเบี้ย

            เมื่อเห็นว่า ธุรกิจไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมด และหลักประกันไม่เพียงพอ  ถ้าปล่อยให้เห็นปัญหายืดเยื้อถึงขั้นฟ้องร้องบังคับคดี  ก็ยิ่งทำให้ธนาคารเสียหายมากขึ้นด้วย  การลดเงินต้นบางส่วนหรือดอกเบี้ย  อาจจูงใจให้ลูกหนี้ขวนขวายหา  เจ้าหนี้รายใหม่หรือผู้ร่วมทุน  เข้ามาดำเนินการได้

 

            3. การเพิ่มทุน

            หากธุรกิจขาดสภาพคล่อง และลูกหนี้ยังมีความสามารถในการเพิ่มพูนหรือหาผู้ร่วมทุนอื่นมาได้  ก็อาจทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้  โดยกำหนดเงื่อนไขว่า  ถ้าลูกหนี้มีการเพิ่มทุนในสัดส่วนที่ธนาคารพอใจแล้ว  จะให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพิ่มแก่ลูกหนี้อีก

 

            4. ให้กู้เพิ่ม

            ในกรณีที่เห็นว่า ธุรกิจขาดสภาพคล่อง  แต่ยังพอมีช่องทางในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้  ธนาคารจะเพิ่มวงเงินสินเชื่อ  เพื่อแก้ไจสภาพคล่องของลูกหนี้ให้ดีขึ้น  โดยคำนึงถึงปัจจัย ดังนี้

            - วงเงินสินเชื่อที่เพิ่ม  สามารถทำให้ธุรกิจทำกำไรเพียงพอที่จะชำระหนี้ทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ได้

            - วงเงินสินเชื่อที่เพิ่ม ไม่มากเกินกว่า ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

            - หลักประกันเดิมคุ้มกับวงเงินสินเชื่อใหม่หรือไม่  หรือให้ลูกหนี้หาหลักประกันใหม่เข้ามาเพิ่ม

            - สัดส่วนหนี้สินของธนาคารกับหนี้ภายนอกเป็นอย่างไร

            - ต้องแน่ใจว่า สามารถควบคุม การใช้วงเงินหรือกำหนดเงื่อนไขที่ควบคุมการใช้วงเงินของลูกหนี้ได้

 

            5. REORGANIZATION

            เมื่อเห็นว่า ธุรกิจเกิดจากปัญหาจากการบริหารงานที่ไม่ดี  อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร และจัดระบบการบริหารงานใหม่ หรือปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่  ซึ่งอาจควบคุมการใช้วงเงินที่ดีที่สุด ในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้  จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้เสียก่อน

 

            6. การเจรจาให้ขายทรัพย์สิน

            ในกรณีที่มีปัญหา  อันเกิดจากลูกหนี้มี FIX ASSET มากเกินไป  อาจเสนอให้ลูกหนี้ขายทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ  เพื่อนำเงินชำระหนี้บางส่วน เป็นการลดภาระหนี้ของลูกหนี้ลงและ  ช่วยให้ไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยมากเกินไป

 

7. เปลี่ยนหนี้เป็นทุน

            เมื่อเห็นว่า ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้  โดยต้องการเพิ่มทุน แต่ลูกหนี้ไม่สามารถเพิ่มทุนได้  อาจจะเปลี่ยนหนี้สินเป็นทุน  เพื่อลดภาระหนี้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจต้องล้มพับได้ แต่กรณีนี้ ต้องระมัดระวังให้มาก  มิฉะนั้น  อาจถูกมองว่า ธนาคารเข้าไปฮุบ (TAKE OVER) กิจการของลูกหนี้ได้

 

            2) ในกรณีที่เห็นว่า ธุรกิจอาจต้องมีการเยี่ยวยารักษา

            ควรรีบดำเนินการ  เพื่อให้ธนาคารได้รับการชำระหนี้โดยเร็วที่สุด  ซึ่งการแก้ไขหนี้วิธีนี้ มีดังนี้

            1. SPLIT หนี้

            โดยให้ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในหนี้  เป็นผู้ส่งจ่ายเช็คผู้ค้ำประกัน  หรือบุคคลที่ต้องรับผิดชอบอื่น  แบ่งการชำระหนี้ตามส่วนความรับผิดชอบ  ก็อาจจะทำให้การเรียกหนี้คืนง่ายขึ้น

            2. รับโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้

            เพื่อตัดปัญหาในการฟ้องร้อง อาจจะชวนให้ลูกหนี้  โอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ก็ได้

            3. การดำเนินคดี

            หรือใช้ขบวนการทางกฎหมายอื่น ๆ  เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้คืนโดยเร็วที่สุด

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 7

 อยากปรึกษาสินเชื่อรถยนต์หาเงินจ่ายค่างวดไม่ทันไม่อยากให้ไฟแนนซ์ยกเลิกสัญญาอยากไกล่เกลี่ยแต่ไม่กล้าติดต่อธนาคาร

โดยคุณ yanin 8 ก.ย. 2559, 08:34

ความคิดเห็นที่ 6

 ใครที่ปล่อยกู้จริงๆช่วยที ติดหนี้เยอะมาก ต้องการเงินมาปิดบัตร 

โดยคุณ ชุติมา ชมภูนุช 16 ธ.ค. 2558, 18:39

ความคิดเห็นที่ 5

 อยากได้เงินปิดบัตรเคดิต60000แต่ไม่มีที่ดินไม่มีรถมีแต่เงินเดือนเหลือเดือนละ13000แต่กู้เงินที่ไหนก็ไม่ได้เพราะติดเคดิตยูโรจะช่วยได้ไหมค่ะ

โดยคุณ 10 ก.ย. 2558, 21:42

ความคิดเห็นที่ 4

เนื่องจากทำธุรกิจแล้วขาดสภาพคล่องแบกภาระแบงค์ไม่ไหวติดบูโรด้วยเพิ่งขาดสภาพคล่องมาประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2555 ขอคำแนะนำหน่อยครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ นายoff 31 ธ.ค. 2555, 14:07

ความคิดเห็นที่ 3

ุ้บริการงานสินเชื่อ รับทำสินเชื่อบ้านกู้100% กู้เกิน กู้120% รับจัดหาบ้านที่กู้เกินได้ รับซื้อรับฝากขายบ้าน รับจำนำ จำนอง ขายฝาก ที่ดิน บ้านและอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท รับจำนำรถยนต์ ที่ปรึกษาทางการเงิน ติดบูโล ติดแบล็กลิสต์ ต้องการเงินปิดหนี้ มีปัญหากู้สินเชื่อไม่ผ่าน อยากได้บ้านแต่แบงค์ไม่ปล่อย เราเป็นทีมงานที่เชี่ยวชาญสินเชื่อบ้านและสินเชื่อธุรกิจ ที่จะทำให้ท่านแก้ปัญหาหนี้ต่างๆและทำให้ท่านมีบ้าน มีเงินซื้อรถ มีเงินดำเนินธุรกิจ โดยท่านจะเป็นลูกค้าของธนาคารชั้นนำของไทย ไม่ใช่นายทุนนอกระบบ ไม่ได้เป็นหนี้นอกระบบ สนใจสอบถามหรือปรึกษา โทร 0899944220

โดยคุณ nipaporn (สมาชิก) 16 ก.ค. 2555, 13:34

ความคิดเห็นที่ 2

 ,,,

โดยคุณ ืnut 25 ธ.ค. 2554, 21:00

ความคิดเห็นที่ 1

อยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ค่ะเนื่องจาำกกำลังศึกษาเพื่อทำ IS ค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ืnut 25 ธ.ค. 2554, 20:54

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก