งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ฟ้องเพิกถอนการให้ เหตุเนรคุณ ด่าแม่
#ฟ้องเพิกถอนการให้ #บุตรบุญธรรม #ด่าแม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2567
โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ก็เปรียบเสมือนเป็นมารดาของจำเลยคนหนึ่ง จำเลยย่อมต้องให้ความเคารพและยกย่องเชิดชูโจทก์ การที่จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยคำว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม" เป็นการกล่าวหาโจทก์ว่า ไม่รู้จักชอบชั่วดี ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ทำให้ถูกคนอื่นเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ส่วนคำว่า "หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีความละอายแก่ใจที่มาอาศัยอยู่กับจำเลยและครอบครัว อันเป็นถ้อยคำที่ไร้ความเคารพนับถือ เป็นการลบหลู่เหยียดหยามอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 531(2)
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ถอนคืนการให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 คืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้โจทก์ดำเนินการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับ ให้ถอนคืนการให้ โดยให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 คืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 50,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวม 20,000 บาท กับให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่โจทก์ได้รับยกเว้นทั้งสองศาลในนามโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมา 29,933 บาท แก่โจทก์
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่าวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมและต่อมาได้ย้ายไปอยู่กับจำเลยที่บ้านของนาย.และนางท. ซึ่งเป็นพ่อตาแม่ยายของจำเลย วันที่ 22 กรกฎาคม 2560 โจทก์ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินมีทั้งที่ดินและเงินฝากในบัญชีธนาคารให้แก่จำเลย ต่อมาวันที่ 16 ตุลาคม 2560 โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 แก่จำเลยโดยเสน่หา โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 โจทก์ย้ายกลับไปอยู่บ้านโจทก์ และเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 โจทก์จดทะเบียนเลิกรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม
คงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาของจำเลยว่า โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2)ได้หรือไม่ ข้อนี้ได้ความจากโจทก์นำสืบว่า หลังจากโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงแก่จำเลยโดยเสน่หาแล้ว จำเลยไม่เลี้ยงดูโจทก์เหมือนเช่นก่อน จำเลยให้โจทก์นอนและรับประทานอาหารใต้บันไดบ้านคนเดียว ขังโจทก์ไว้ในบ้านและไม่ให้ญาติมาเยี่ยมโจทก์จำเลยหลอกยืมเงินแล้วไม่คืนให้และลักเอาเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ เหลือเงินในบัญชีเพียง 68.03 บาท โจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ โจทก์สิ้นเนื้อประดาตัว เมื่อเดือนมกราคม 2563 โจทก์ทวงเงินและขอเงินจากจำเลยเป็นค่ารักษาพยาบาลกับค่าอาหารเพื่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลจำเลยด่าว่าโจทก์ ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ต่อมาเมื่อวันที่1 กุมภาพันธ์ 2563 โจทก์จึงออกจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยกลับไปอยู่บ้านโจทก์ ส่วนจำเลยนำสืบว่า โจทก์และนาง พ. น้องสาวของโจทก์มาอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยและครอบครัวดูแลโจทก์และนางพ.เป็นอย่างดี เมื่อโจทก์และนาง พ.ป่วยจำเลยและครอบครัวก็ไปดูแลที่โรงพยาบาล ทั้งจ้างนางสาว ร.มาดูแล ต่อมาเมื่อนางพ.ถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ยังขออยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยและครอบครัวดูแลโจทก์เป็นอย่างดี พาโจทก์ไปเที่ยวและทำบุญหลายจังหวัด จำเลยให้โจทก์เป็นประจำทุกสัปดาห์ เมื่อเดือนมกราคม 2563 จำเลยได้รับงานราชการที่จังหวัดขอนแก่น โจทก์ก็ยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 จำเลยไปกรุงเทพมหานคร โจทก์บอกว่าจะไปหาหมอและจะไปบ้านญาติ แม่ยายของจำเลยให้นางร.ไปส่ง หลังจากนั้นโจทก์ไม่กลับมาที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยอีกเลยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 จำเลยไปที่บ้านโจทก์ โจทก์บอกว่าที่มาอยู่ที่บ้านโจทก์เพราะญาติจะไม่คืนเงินกู้หากโจทก์ยังอยู่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยไปหาโจทก์อีก แต่นางบ.กีดกันไม่ยอมให้จำเลยพบโจทก์อีก แต่นางบ.กีดกันไม่ยอมให้จำเลยพบโจทก์ จำเลยดูแลโจทก์เป็นอย่างดี และไม่เคยด่าว่าโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง และไม่เคยไล่ออกจากบ้านแม้โจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียวที่เบิกความว่า จำเลยด่าทอโจทก์และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ไม่มีพยานโจทก์ที่ปากอื่นเบิกความสนับสนุนก็ตามซึ่งจำเลยก็นำสืบปฎิเสธว่า ไม่ได้ด่าทอโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากบ้าน ทำให้ต้องวินิจฉัยว่า คำเบิกความฝ่ายใดจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่ากันเมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์เริ่มแรกก่อนที่จำเลยจะเข้ามาเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ โจทก์เบิกความว่า ก่อนที่โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์และนางพ.เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ม.เป็นเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ มีนายส.และนางท. พ่อตาแม่ยายของจำเลยมาาเฝ้าดูแล และพาไปโรงพยาบาลจนเกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกันจนกระทั่งโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้เห็นว่าจำเลยและครอบครัวภริยาพยายามเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์และนางพ.น้องสาวโจทก์เป็นพิเศษ ทั้งที่ไม่ได้เป็นเครือญาติกัน จึงเป็นเรื่องผิดวิสัยที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาดูแลเอาใจใส่พาโจทก์และนางพ.ไปโรงพยาบาลให้ที่พักอาศัยพาไปทำบุญและท่องเที่ยวตามที่ต่างๆ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ทั้งโจทก์และนางพ.น้องสาวโจทก์ต่างเป็นหญิงชรา โจทก์มีโรคประจำตัวหลายโรคทั้งเบาหวาน และความดัน ส่วนนางพ.ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเป็นผู้ป่วยติดเตียงต้องการผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อโจทก์และนางพ.มีทรัพย์สินและเงินฝากในบัญชีธนาคารมูลค่าไม่ใช่น้อย จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยในการกระทำของจำเลยและครอบครัวว่ากระทำด้วยความสุจริตหรือไม่ ซึ่งต่อมาโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม และทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและเงินสดให้แก่จำเลย แต่โจทก์ก็ยังเป็นห่วงจำเลยว่าเครือญาติของโจทก์จะมีเรื่องทรัพย์สินพิพาทกับจำเลย จึงจดทะเบียนยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ย่อมรักไว้ใจและผูกพันจำเลยเสมือนบุตรและหวังฝากผีฝากไข้ไว้กับจำเลยดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย ต่อมาวันที่ 28 กันยายน 2560 โจทก์ได้รับเงินประกันชีวิต 4,770,000 บาท และนำไปฝากที่ธนาคาร ก. ปรากฎว่าในวันเดียวกันมีการถอนเงินออกไป 2,700,000 บาท และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 มีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีก 2,010,000 บาท โจทก์เบิกความว่าไม่ได้เป็นผู้เบิกถอน ซึ่งจำเลยนำสืบรับว่า เงินที่ถอน 2,700,000 บาท โจทก์ยกให้จำเลยนำไปชำระหนี้ส่วนตัวของจำเลยและภริยา ส่วนเงินที่ถอน 2,010,000 บาท โจทก์ให้นำไปใช้ในครอบครัวและดูแลความเป็นอยู่ของโจทก์ แม้ให้การไม่สอดคล้องกัน แต่ก็ทำให้เห็นว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากการที่ดูแลโจทก์เพียงไม่กี่เดือน นับแต่ที่โจทก์รับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมและจำเลยพาโจทก์มาพักอาศัยอยู่ด้วยกัน หลังจากที่โจทก์ย้ายออกจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยแล้ว ปรากฎว่าโจทก์ตรวจสอบบัญชีเงินฝากจึงทราบว่าเหลือยอดเงินฝากเพียง 68.03 บาท โจทก์จึงแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ และพนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคามยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ตามสำเนาคำพิพากษาศาลจังหวัดมหาสารคาม ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2565 แนบท้ายคำแก้ฎีกาของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ที่ลักเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ไปโดยใช้บัตรกดเงินสด(บัตรเอทีเอ็ม) รวม 37 ครั้ง และลักเงินสด รวมยอดเงินที่จำเลยลักไปในคดีดังกล่าว 560,504 บาท ในระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ช่วงที่โจทก์พักอาศัยอยู่กับจำเลย ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาสุจริตที่รับเลี้ยงดูแลโจทก์ดังที่จำเลยนำสืบ แต่การกระทำของจำเลยแฝงไว้ด้วยเล่ห์เพทุบายในการหลอกล่อเอาทรัพย์สินของโจทก์ไปโดยทุจริตจนเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์เหลือเพียง 68.03 บาทและโจทก์ยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้เป็นของจำเลยแล้วจนโจทก์แทบไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยถ้อยคำตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริงและไล่โจทก์ออกจากบ้าน เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคำที่จำเลยด่าทอโจทก์ที่ว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" กับการที่โจทก์จดทะเบียนรับรองบุตรเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ก็เปรียบเสมือนเป็นมารดาของจำเลยคนหนึ่ง จำเลยย่อมต้องให้ความเคารพและยกย่องเชิดชูโจทก์คำว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม" เป็นการกล่าวหาโจทก์ว่า ไม่รู้จักชอบชั่วดี ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ทำให้ถูกคนอื่นเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ส่วนคำว่า"หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีความละอายแก่ใจที่มาอาศัยอยู่กับครอบครัวจำเลย อันเป็นถ้อยคำที่ไร้ความเคารพนับถือ เป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
มีปัญหาข้อกฎหมายสอบถาม 02-948-5700 หรือ 081-616-1425 หรือ 081-625-2161, 081-821-7470