คำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องหนึ่งไม่ผูกพันคดีอาญาเรื่องอื่น|คำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องหนึ่งไม่ผูกพันคดีอาญาเรื่องอื่น

คำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องหนึ่งไม่ผูกพันคดีอาญาเรื่องอื่น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องหนึ่งไม่ผูกพันคดีอาญาเรื่องอื่น

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2555

บทความวันที่ 19 ธ.ค. 2567, 10:53

มีผู้อ่านทั้งหมด 388 ครั้ง


คำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องหนึ่งไม่ผูกพันคดีอาญาเรื่องอื่น
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2555

             ในการพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่นดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับคดีแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ไม่ แม้โจทก์ทั้งสามกับบริษัท ส. ซึ่งมีจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ จะเป็นคู่ความเดียวกันและพยานหลักฐานของจำเลยจะเป็นชุดเดียวกันกับจำเลยเคยอ้างและนำสืบในคดีอาญาก่อนมาแล้วก็ตาม เพราะในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง จะไม่พิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยคดีนี้โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาก่อนซึ่งถึงที่สุด โดยมิได้วินิจฉัยตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (5) และมาตรา 227 วรรคหนึ่ง

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2523
           คดีอาญามิได้มีบทกฎหมายใดบัญญัติบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งได้ชี้ขาดไว้มาเป็นหลักในการวินิจฉัย แม้คดีทั้งสองนั้นจะมีมูลกรณีเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2525
           ในการพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่นดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่ เพราะในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง จะไม่พิพากษาลงโทษจำเลยจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2564
             ในการพิจารณาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่นเพราะคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงที่กล่าวหานั้นจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยได้  ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะมีผลผูกพันคดีอื่นได้เฉพาะบทบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 46 เท่านั้น

อ้างอิงหนังสือกฎหมาย วิ.อาญาพิสดาร เล่ม 1(ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2567) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ของนายวิเชียร  ดิเรกอุดมศักด์ (ผู้พิพากษา)

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก