ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 6 ปี อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย|ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 6 ปี อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย

ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 6 ปี อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 6 ปี อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย

วันนี้ศาลฎีกา โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิพากษายืน ตามคำพิพากษาศาลฎีกา

บทความวันที่ 9 ก.ค. 2567, 17:53

มีผู้อ่านทั้งหมด 507 ครั้ง


ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 6 ปี อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย
            วันนี้ (9 มกราคม 2567) ศาลฎีกา โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิพากษายืน ตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำคุก ดร.อนุรักษ์ฯ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย  6 ปี  มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา  149 เป็นเจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สิน เงิน 5 ล้านบาทเพื่อแลกกับการผ่านงบประมาณ  โดยพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลฎีกา 
รายละเอียดปรากฎตามสำเนาคำพิพากษาอย่างย่อ

วันนี้ เวลา ๑๑ นาฬิกา  ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.อธ.๗/๒๕๖๖  หมายเลขคดีแดงที่ อม.อธ.๕/๒๕๖๗   ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นายอนุรักษ์  ตั้งปณิธานนท์  จำเลย
          คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า  ขณะเกิดเหตุ จำเลยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔  และอนุกรรมมาธิการแผนงานบูรณาการ ๒ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔  ก่อนการพิจารณางบประมาณของคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ ๒ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓  จำเลยเรียกเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท  หรือของานโครงการจากนาย ศ. อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อแลกกับการไม่ตัดงบประมาณของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลอันเป็นการเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบ  หรือมิชอบด้วยหน้าที่  และเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ  เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด  หรือโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๑๗๒, ๑๗๓  ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา ๑๔๙, ๑๕๗  จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว  พิพากษาว่า  จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก ๖ ปี กับให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕  อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติหน้าที่ในคดีนี้ และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา  สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป  และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ 
         จำเลยอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา  องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์รับอุทธรณ์ วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗ 
         องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ เห็นว่า เบื้องต้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตรวจสอบ  เพื่อทราบรายละเอียดตามเรื่องกล่าวหาว่าผู้ถูกร้องเรียนเป็นบุคคลใดมีตำแหน่งหน้าที่ใดได้  หนังสือร้องเรียนมีข้อมูลเบื้องต้นระบุบุคคลที่เกี่ยวข้องเพียงที่จะตรวจสอบได้  การตรวจสอบวันรุ่งขึ้นหลังจากได้รับหนังสือร้องเรียนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยสอบปากคำ นาย ศ. เพื่อทราบถึงผู้ถูกร้องเรียน จึงมิใช่เป็นการมุ่งเอาผิดจำเลยฝ่ายเดียว  กรณีจำเป็นต้องไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนเองหรือจะแต่งตั้งกรรมการไม่น้อยกว่าสองคนและบุคคลอื่นเป็นคณะกรรมการไต่สวน คำสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่แต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนคดีนี้สอดคล้องตรงตามกฎหมายจึงชอบแล้ว  ที่คณะกรรมการไต่สวนไม่เรียกพยานหลักฐานที่จำเลยร้องขอก็ไปปรากฎว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย ตามรายงานและสำนวนการไต่สวนมีการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพยานบุคคล ๑๗ ราย  และเอกสารหลักฐานต่างๆ รวม ๑๐ รายการ ถือเป็นการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตรงตามความจริงที่เกิดขึ้น เพียงพอที่จะวินิจฉัยมูลความผิดของจำเลยแล้ว  คณะกรรมการไต่สวนย่อมมีดุลพินิจที่จะคำสั่งได้  การไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
           ส่วนปัญหาที่ว่า  จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์โดยมติเสียงข้างมาก  เห็นว่า คำเบิกความของนาย ศ. อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ซึ่งเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียว แต่นาย ศ. เบิกความถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามที่ตนได้ประสบพบมาเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่การพิจารณางบประมาณของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลในระดับกระทรวงเรื่อยมาจนถึงระดับกรมในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ  จนถึงคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ ๒ ทำให้เห็นพฤติการณ์ของจำเลยที่ตั้งข้อสังเกตและซักถามงบประมาณเฉพาะกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมาโดยตลอด  ลักษณะที่เน้นย้ำถึงโครงการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มิได้มีลักษณะเป็นการตรวจสอบการใช้งบประมาณของหน่วยงานรัฐตามปกติ แต่เป็นการสร้างความกดดันและความกังวลแก่ผู้รับการพิจารณาว่าจะถูกตัดหรือลดงบประมาณหรือไม่  เพื่อใช้เป็นข้อต่อรองในการแสวงหาประโยชน์ อันทำให้เป็นเหตุชักจูงใจให้จำเลยโทรศัพท์หานาย ศ. ผ่านการติดต่องานของนาง น. เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ ๒ ในคืนวันเกิดเหตุ นาย ศ. และจำเลยใช้เวลาสนทนาครั้งแรก ๙ นาทีเศษ  และใช้เวลาสนทนาครั้งที่สอง ๖ นาทีเศษ  สอดคล้องกับข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ข้อความที่มีการสนทนโต้ตอบกันทางโทรศัพท์ตั้งแต่การเรียกเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท  เมื่อนาย ศ.  ปฏิเสธก็เปลี่ยนมาเป็นของานแทน  เพื่อแลกกับการไม่ตัดงบประมาณ มีลักษณะพูดต่อรองกันไปมา ซึ่งมีรายละเอียดมาก ยากที่จะแต่งเรื่องขึ้นมาให้สอดคล้องกัน  โดยเฉพาะข้อความที่สนทนากันในเรื่่องของานยังสอดคล้องกับการตั้งข้อสังเกตและซักถามของจำเลยในการประชุม ซึ่งมุ่งเฉพาะโครงการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลที่มีงบประมาณไม่มากที่จำเลยอ้างว่า  จำเลยโทรศัพท์ติดต่อนาย ศ. ขอแบบแปลนและประมาณราคาเพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณโดยตรงทั้งที่ต้องดำเนินการผ่านเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามข้อบังคับการประชุมและแนวทางปฏิบัติที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวดำเนินการสืบกันมา ไม่สมเหตุสมผล  จึงเป็นพิรุธและไม่น่าเชื่อถือ สำหรับที่นาย ศ. กล่าวต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ ๒ และให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมาธิการกฎหมาย  การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนว่าได้มีการบันทึกเสียงการสนทนาไว้นั้น  ก็น่าเชื่อว่าเป็นการพูดต่อด้วยความไม่พอใจ  และแสดงให้เห็นว่าตนมีพยานหลักฐานที่มั่นคงที่จะกล่าวหาจำเลยได้  โดยบันทึกชี้แจงข้อเท็จจริง คำให้การ และคำเบิกความ นาย ศ. คงยืนยันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์โทรศัพท์เรียกเงินหรือของานของจำเลยมาโดยตลอด  ดังนั้น  คำเบิกความในส่วนนี้จะแตกต่างกันไปบ้าง  แต่สาระสำคัญแห่งคดีมิได้เปลี่ยนแปลง  ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงเป็นเพียงพลความ  การตั้งข้อสังเกตและซักถามของจำเลย  และการชี้แจงของนาย ศ. เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ตามธรรมดาย่อมมีเหตุกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้นได้  หากจะมีความไม่พอใจเกิดขึ้นระหว่างการประชุมบ้างก็เป็นเรื่องปกติ  ไม่น่าจะร้ายแรงถึงขนาดว่าจะต้องปั้นแต่งเรื่องขึ้นเพื่อปรักปรำจำเลย  อีกทั้งในคืนวันเดียวกันแทบจะในทันทีภายหลังที่เกิดเหตุ  นาย ศ. ได้โทรศัพท์ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ไปหานาย ภ.และนาย ส. เล่าเรื่องการเรียกเงินดังกล่าวให้ฟังทันที  ย่อมไม่มีเวลาคิดปรุงแต่งเรื่อง โดยในส่วนนี้  โจทก์ยังมีนาย ภ. และนาย ส. มาเบิกความยืนยันว่า นาย ภ. โทรศัพท์ติดต่อหาจำเลยเช่นกัน  มีการซักถามจนนำไปสู่การพูดในเชิงของานของกรมดังกล่าว และในวันรุ่งขึ้น นาย ศ. ยังโทรศัพท์ติดต่อนาย น.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เล่าเรื่องที่ถูกจำเลยเรียกเงินให้ฟังด้วย  แม้นาย ภ. นาย ส. และนาย น. เป็นคนรู้จักกันในฐานะเพื่อนและผู้ใต้บังคับบัญชาก็ตาม  แต่ต่างก็เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเป็นถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มีสาเหตุโกรธเคืองหรือขัดแย้งกับจำเลยมาก่อน  พยานบุคคลทั้งสามยังเบิกความเชื่อมโยงกับที่นาย ศ. เบิกความ  จึงเชื่อว่า เบิกความไปตามความจริง พยานพฤติเหตุแวดล้อมของโจทก์ดังกล่าวที่ใกล้ชิดต่อเหตุการณ์เช่นนี้ ย่อมสนับสนุนคำเบิกความของ นาย ศ. ประจักษ์พยานให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
         การที่จำเลยโทรศัพท์เรียกรับเงินหรือขอผลประโยชน์จากโครงการในการจัดทำงบประมาณของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล  เป็นการอาศัยโอกาสในตำแหน่งที่ตนมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสามารถเสนอปรับลดงบประมาณได้  จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น และเป็นการขอ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด  เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งของจำเลย ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่  อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๑๗๓  และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๙  เมื่อคดีฟังได้ดังกล่าวแล้ว  อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน  ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษามานั้น  องค์คณะชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์โดยมีมติเสียงข้างมากเห็นพ้องด้วย  พิพากษายืน

แสดงความเห็น