การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526
มาตรา 5 คดีใดที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับโทษอาญาในคดีนั้นแล้ว อาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ เมื่อปรากฏว่า
(1) พยานบุคคลซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานนั้นเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง
(2) พยานหลักฐานอื่นนอกจากพยานบุคคลตาม (1) ซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าเป็นพยานหลักฐานปลอมหรือเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง หรือ
(3) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด
มาตรา 6 บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิยื่นคำร้อง
(1) บุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
(2) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลในกรณีที่บุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นเป็นผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ
(3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลในกรณีที่นิติบุคคลนั้นต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
(4) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาของบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการยื่นคำร้อง หรือ
(5) พนักงานอัยการในกรณีที่พนักงานอัยการมิได้เป็นโจทก์ในคดีเดิม
มาตรา 8 คำร้องให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาคดีนั้นหรือศาลอื่นที่ได้มีเขตอำนาจแทนศาลนั้น เว้นแต่
(1) คดีของศาลอาญาศึกหรือศาลประจำหน่วยทหาร ให้ยื่นต่อศาลทหารกรุงเทพ
(2) คดีของศาลตามกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่กฎหมายกำหนดให้เป็นศาลทหารและศาลนั้นไม่เป็นศาลทหารสำหรับคดีนั้นแล้ว ให้ยื่นต่อศาลตามกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่เคยเป็นศาลทหารนั้น หรือศาลอื่นที่ได้มีเขตอำนาจแทนศาลนั้น
ในคำร้องดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ต้องอ้างเหตุตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 โดยละเอียดชัดแจ้ง และถ้าประสงค์จะขอค่าทดแทนเพื่อการที่บุคคลใดต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือขอรับสิทธิที่บุคคลนั้นเสียไปอันเป็นผลโดยตรงจากคำพิพากษานั้นคืน ให้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคำร้องนั้นด้วย คำขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนนั้นมิให้เรียกค่าธรรมเนียมศาล
สิทธิดังกล่าวในวรรคก่อนมิให้รวมถึงสิทธิในทางทรัพย์สิน
ในกรณีที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลทหาร ให้บุคคลตามมาตรา 6 (1) (2) (3) และ (4) มีสิทธิดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารและแต่งทนายแทนตนได้
เพื่อประโยชน์ในการไต่สวนตามมาตรา 9 และการพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13 หรือการดำเนินการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าศาลตาม (2) เป็นศาลทหาร
มาตรา 9 ให้ศาลที่ได้รับคำร้องทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ เว้นแต่ในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นผู้ร้อง ศาลจะไต่สวนคำร้องหรือไม่ก็ได้ ถ้าเห็นว่าไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้อง ก็ให้ศาลสั่งรับคำร้องและดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป คำสั่งของศาลในกรณีเช่นนี้ให้เป็นที่สุด
ในการไต่สวนคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลส่งสำเนาคำร้องและแจ้งวันนัดไต่สวนไปให้โจทก์ในคดีเดิมทราบ ในกรณีที่โจทก์ในคดีเดิมมิใช่พนักงานอัยการ ให้ส่งสำเนาคำร้องและแจ้งวันนัดไต่สวนให้พนักงานอัยการทราบด้วย พนักงานอัยการและโจทก์ในคดีเดิมจะมาฟังการไต่สวนและซักค้านพยานของผู้ร้องด้วยหรือไม่ก็ได้ ผู้ร้องและโจทก์ในคดีเดิมมีสิทธิแต่งทนายแทนตนได้
เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า
ให้ผู้พิพากษา ตุลาการของศาลตามกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่กฎหมายกำหนดให้เป็นศาลทหาร หรือตุลาการพระธรรมนูญคนเดียวมีอำนาจไต่สวนคำร้องและทำความเห็นได้
มาตรา 20 คำร้องให้ยื่นได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงตามมาตรา 5 หรือภายในสิบปีนับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด แต่เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษศาลจะรับคำร้องที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้นนั้นไว้พิจารณาก็ได้
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-8217470, 081-6252161