การคืนรถโดยไม่ต้องรับผิดค่าส่วนต่าง|การคืนรถโดยไม่ต้องรับผิดค่าส่วนต่าง

การคืนรถโดยไม่ต้องรับผิดค่าส่วนต่าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การคืนรถโดยไม่ต้องรับผิดค่าส่วนต่าง

  • Defalut Image

ทุกวันนี้ประชาชนที่ไปเช่าซื้อและค้ำประกันรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจไม่มีเงินผ่อนชำระค่างวด

บทความวันที่ 7 ต.ค. 2563, 10:49

มีผู้อ่านทั้งหมด 818 ครั้ง


การคืนรถโดยไม่ต้องรับผิดค่าส่วนต่าง

             ทุกวันนี้ประชาชนที่ไปเช่าซื้อและค้ำประกันรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจไม่มีเงินผ่อนชำระค่างวด ทำให้ผิดนัดชำระหนี้ หาทางออกในชีวิตไม่ได้ บางคนนำรถไปขายดาวน์ คนที่ซื้อดาวน์ไปก็ไม่ผ่อนชำระ แถมยังนำรถไปขายต่อ ทำให้ผู้เช่าซื้อต้องผ่อนกุญแจโดยที่ไม่มีรถ และถ้าไม่ผ่อนก็จะถูกฟ้องร้องยึดทรัพย์สินในอนาคต เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่จบสิ้น ปัจจุบันมีคำพิพากษาของศาลฎีกา ได้วางบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องการคืนรถโดยที่ไม่ต้องรับผิดหลังจากขายทอดตลาด เกี่ยวกับค่าขาดราคาทรัพย์ โดยมีแนวคำพิพากษาฎีกาอยู่สองแนว แนวแรก คืนรถในขณะที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้ผิดสัญญา อีกแนว คืนรถในระยะเวลา 30 วัน ตามหนังสือบอกเลิกสัญญา ที่ไฟแนนซ์ให้เวลาชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมด มิฉะนั้นถือว่าเป็นการเลิกสัญญา หากทำตามเงื่อนไขตามแนวคำพิพากษาฎีกา เมื่อคืนรถให้กับไฟแนนซ์แล้วก็ไม่ต้องรับผิด หลังจากไฟแนนซ์ขายทอดตลาดแล้วขาดทุนอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2538/2562 (คืนรถในขณะที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้ผิดสัญญา)
           สัญญาเช่าซื้อข้อ 10 กำหนดไว้ว่า ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ โดยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่ากลับคืนให้แก่เจ้าของ ณ ภูมิลำเนา ปัจจุบันของเจ้าของในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี  และผู้เช่าตกลงที่จะชำระบรรดาหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันบอกเลิกสัญญาแก่เจ้าของจนครบถ้วน ...แสดงว่าการบอกเลิกสัญญาตามข้อตกลงนี้จะนำมาใช้บังคับก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อมีหนี้หรือมีการผิดนัดก่อนการเลิกสัญญาเท่านั้น  ไม่ใช่กรณีที่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีหนี้้ค้างชำระตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งมีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะอยู่แล้ว  ประกอบกับการที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่างๆ ไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้นเงื่อนไขที่จะมีผลทำให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดจึงต้องตีความโดยเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เช่าซื้อ และหากมีข้อสงสัยต้องตีความให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เช่าซื้อ โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอาข้อตกลงเรื่องความรับผิดในเรื่องขายทอดตลาดได้ในราคาที่น้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อมาใช้บังคับเอากับจำเลยที่ 1  เพระาเหตุที่ผู้เช่าซื้อคืนรถได้ ดังนั้นเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 มิได้ประพฤติผิดสัญญาและไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสี่  ที่ใช้ในกรณีที่มีความเสียหายจากการผิดสัญญาหรือการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบมาใช้บังคับได้  โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2562 (คืนรถในระยะเวลา 30 วัน ตามหนังสือบอกเลิกสัญญา)
            คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้วแต่ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาที่โจทก์ส่งไปยังจำเลยทั้งสองมีข้อความให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อที่ผิดนัดรวม 3 งวด ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา  ถ้าพ้นกำหนดเวลาแล้วจำเลยทั้งสองยังคงเพิกเฉยโจทก์ขอบอกเลิกสัญญานับแต่วันที่ครบกำหนดตามหนังสือฉบับนี้  จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 และวันที่ 21 มีนาคม 2545 ตามลำดับ  แต่ยังไม่ทันครบกำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามหนังสือดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554  โจทก์ได้รับรถกลับคืนมาโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้ง จึงต้องถือว่าคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย มิใช่กรณีสัญญาเลิกกันเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาซึ่งในกรณีคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายนั้น   คู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน และไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดราคาซึ่งเป็นค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องได้ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ อย่างไรก็ดี การที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาโดยไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น จำเลยที่ 1 จำต้องใช้เงินเป็นค่าใช้ทรัพย์ให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 391 วรรคสาม พร้อมดอกเบี้ย
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 391
  เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่
           ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
          ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น
          การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่
มาตรา 573 ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

อยากทราบหนูได้นำรถจักรยานยาต์ปคืนที่ร้านเองเพราะผ่อนไม่ไหวเลยคืนร้านไปค่ะประมาน7แล้วค่ะมีจดหมายเรียกเก็บค่ะส่วนต่างส่งมาที่บ้านกับที่ทำงานให้ชำระค่าส่วนต่างค่ะเมือเดือนกรกฏาคมส่วมาทีงานอีกบอกให้ชำระค่าส่วนต่างอีกลงท้ายด้วยว่านี้เป็นแจ้งครั้งสุดท้ายแล้วยอดชำระ3หมื่นกว่าเลยค่ะเท่ากับเราออกรถใหม่ได้คันหนึงเลยนะค่ะแบบนี้หนูจะโดนฟ้องร้องหรือป่าวค่ะ

โดยคุณ มัลลิกา 10 ต.ค. 2563, 01:33

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก