คืนรถต้องจ่ายค่าส่วนต่างไหม|คืนรถต้องจ่ายค่าส่วนต่างไหม

คืนรถต้องจ่ายค่าส่วนต่างไหม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คืนรถต้องจ่ายค่าส่วนต่างไหม

  • Defalut Image

นำรถยนต์ไปคืนไฟแนนซ์ ก่อนที่จะค้างค่างวด

บทความวันที่ 1 ก.ค. 2563, 09:44

มีผู้อ่านทั้งหมด 643 ครั้ง


คืนรถต้องจ่ายค่าส่วนต่างไหม

          นำรถยนต์ไปคืนไฟแนนซ์ ก่อนที่จะค้างค่างวด  เพราะส่งไม่ไหว เราต้องเสียค่าส่วนต่างไหม

คำแนะนำสำนักงานทนายคลายทุกข์
            ถ้าเราเช่าซื้อรถมา ดูแล้วจะผ่อนไม่ไหว ไม่ค้างค่าเช่าซื้อ เอารถไปคืน ขายทอดตลาดแล้วได้เงินน้อยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่หากผิดนัดแล้วถูกยึดไปขายทอดตลาดและขาดราคาก็ต้องชำระค่าขาดราคา

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การเช่าซื้อ


  แนวคำพิพากษาเทียบเคียง

 ฎีกาที่ 5032/2547


            

จำเลยทั้งสองให้การ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 821,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 13 ตุลาคม 2542) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงต้องฟังว่าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ก็มิได้บัญญัติว่าการฟ้องคดีอันเกี่ยวแก่สัญญาเช่าซื้อมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าจะต้องเป็นค่าเสียหายเฉพาะที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้บังคับอยู่เท่านั้น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็มีอายุความ 6 เดือนด้วยนั้น เห็นว่า โจทก์นำสืบว่า หลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแล้วนำออกขายได้ราคา 409,090.91 บาท เมื่อหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเงินยังขาดอยู่ 798,946.83 บาท แต่โจทก์ขอคิดเพียง 600,000 บาท จึงเป็นการนำสืบว่า ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์ที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซือ้ได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อไปเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2541 แล้วฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2542 ภายในกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 23 ก.ค. 2563, 08:51

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก