มารดาทำสัญญายอมแทนบุตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่ผูกพันบุตร|มารดาทำสัญญายอมแทนบุตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่ผูกพันบุตร

มารดาทำสัญญายอมแทนบุตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่ผูกพันบุตร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

มารดาทำสัญญายอมแทนบุตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่ผูกพันบุตร

  • Defalut Image

บิดาของโจทก์ร่วมทั้งสองถูกจำเลยฆ่าตาย ต่อมาระหว่างจำเลยถูกคุมขัง

บทความวันที่ 8 พ.ค. 2563, 10:46

มีผู้อ่านทั้งหมด 1101 ครั้ง


มารดาทำสัญญายอมแทนบุตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่ผูกพันบุตร

              บิดาของโจทก์ร่วมทั้งสองถูกจำเลยฆ่าตาย ต่อมาระหว่างจำเลยถูกคุมขัง มารดาของโจทก์ร่วมทั้งสองกับภริยาของจำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่สถานีตำรวจ โดยมีใจความสำคัญว่าภริยาจำเลยได้รับเงินไปแล้ว และไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายกับจำเลยอีก แม้มารดาของโจทก์ร่วมจะสามารถทำนิติกรรมแทนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ แต่ก็ต้องได้รับอนุญาติจากศาลก่อน คดีนี้มารดาโจทก์ร่วมไม่ได้รับอนุญาตจากศาลก่อน สัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่ผูกพันผู้เยาว์ ผู้เยาว์ยังมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในคดีนี้อยู่

คำพิพากษาฎีกาที่ 1774/2562
                หลังจากจำเลยถูกจับกุม จำเลยถูกคุมขังตลอดมา ภริยาจำเลยและภริยาผู้ตายไปพบพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงทำบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ภริยาจำเลยและภริยาผู้ตายลงลายมือชื่อไว้ ข้อความมีใจความสำคัญว่า พ. ซึ่งเป็นภริยาจำเลยตกลงมอบเงินให้ บ. ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายจำนวน 200,000 บาท ภริยาผู้ตายได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว รับว่ามีความพอใจ จะไม่ติดใจฟ้องร้องเอาความกับผู้ใดอีก ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ข้อความตามที่ระบุในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแม้ได้ความว่า บ.ภริยาผู้ตายเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งสามารถทำนิติกรรมแทนโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้ก็ตาม แต่การที่มารดาของโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับพ. ภริยาจำเลยที่สถานีตำรวจอันจะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวผูกพันโจทก์ร่วมทั้งสองได้นั้น บ. จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ. มาตรา 1574(12) เมื่อไม่ปรากฎว่า บ. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วมทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยได้รับอนุญาตจากศาล สัญยาประนีประนอมยอมความจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ร่วมทั้งสอง โจทก์ร่วมทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งทำละเมิดให้บิดาถึงแก่ความตายได้

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1574
  นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา  ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก