หากคู่ความใดไม่พอใจคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาได้|หากคู่ความใดไม่พอใจคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาได้

หากคู่ความใดไม่พอใจคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หากคู่ความใดไม่พอใจคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาได้

  • Defalut Image

เมื่อจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลย

บทความวันที่ 31 มี.ค. 2563, 09:59

มีผู้อ่านทั้งหมด 981 ครั้ง


หากคู่ความใดไม่พอใจคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาได้

    เมื่อจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลย แต่พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาในประเด็นที่วินิจฉัยเรื่องการร่วมกันรับผิด

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 193
  คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์โดยประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
    อุทธรณ์ทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 15310/2555
    ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โดยผลแห่งคดีจำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องอุทธรณ์ แต่โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยที่ 2 มีสิทธิยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แต่ที่พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นที่วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิคัดค้านโดยกล่าวในคำแก้อุทธรณ์ได้ประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงยังมีอยู่ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวด้วย

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยายภาค 2 สมัยที่ 72 ปี พ.ศ.2562 เล่ม 14

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก