ลูกจ้างควรรู้เรื่องสิทธิประกันสังคม|ลูกจ้างควรรู้เรื่องสิทธิประกันสังคม

ลูกจ้างควรรู้เรื่องสิทธิประกันสังคม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างควรรู้เรื่องสิทธิประกันสังคม

  • Defalut Image

ลูกจ้างที่เข้าทำงานจะได้รับสิทธิเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ซึ่งจะช่วยในการรักษาพยาบาลและสิทธิต่างๆ มากมาย

บทความวันที่ 26 มี.ค. 2563, 11:37

มีผู้อ่านทั้งหมด 2815 ครั้ง


ลูกจ้างควรรู้เรื่องสิทธิประกันสังคม

           ลูกจ้างที่เข้าทำงานจะได้รับสิทธิเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม  ซึ่งจะช่วยในการรักษาพยาบาลและสิทธิต่างๆ มากมาย เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ อาจมีบางบริษัทเลิกจ้าง ทนายคลายทุกข์ จึงนำข้อกฎหมายเกี่ยวกับพรบ.ประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนนำไปศึกษาเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ ของตนเองกันค่ะ

พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533
มาตรา 33
ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน
              ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป

มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลง เมื่อผู้ประกันตนนั้น
            (1) ตาย
            (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
              ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติในลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติในหมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และหมวด 5 ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือตามระยะเวลาที่กําหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

มาตรา 39 ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจํานงต่อสํานักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกําหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
            จํานวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งต้องนําส่งเข้ากองทุนตามมาตรา 46 วรรคสาม ให้เป็นไปตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ให้คํานึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย
           ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนําส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป
           ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจํานวนภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจํานวนเงินสมทบที่ยังมิได้นําส่งหรือของจํานวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนําส่งเงินสมทบ สําหรับเศษของเดือนถ้าถึงสิบห้าวันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง

มาตรา 40 บุคคลใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้อาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัตินี้ได้โดยแสดงความจํานงต่อสํานักงาน ทั้งนี้คุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
             หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับตามมาตรา 54 ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
            ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก