พักงาน ในวิกฤตโควิด 19|พักงาน ในวิกฤตโควิด 19

พักงาน ในวิกฤตโควิด 19

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

พักงาน ในวิกฤตโควิด 19

  • Defalut Image

ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ก่อนที่นายจ้างจะดำเนินการใดๆ

บทความวันที่ 20 มี.ค. 2563, 12:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 550 ครั้ง


พักงาน ในวิกฤตโควิด 19

             ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19  ก่อนที่นายจ้างจะดำเนินการใดๆ นายจ้างควรทบทวนให้รอบคอบก่อนออกคำสั่งเสียก่อน (ที่มา ผศ. ปานทิพย์ พฤกษาชลวิทย์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news)
          การกำหนดลูกจ้างเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยงโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะเลิกจ้างทันทีตามปกติทุกคนมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหวหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆได้และอำนาจควบคุมของนายจ้างก็มีได้ในระหว่างการทำงานเท่านั้น หากนายจ้างเลิกจ้าง อาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
         ส่วนการหยุดประกอบการชั่วคราวโดยไม่จ่ายเงินในระหว่างนั้นเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรค หรือจำเป็นต้องหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะความต้องการในการผลิตสินค้าหรือให้บริการลดลงมาก กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ให้นายจ้างที่จำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราวจ่ายเงินให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างปกติ ยกเว้นกรณีการหยุดประกอบการอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย กฎหมายกำหนดให้นายจ้างสามารถหยุดประกอบการชั่วคราวได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใดให้ลูกจ้างในระหว่างนั้น  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541  มาตรา 75

1.คำพิพากษาฎีกาที่ 6960/2548
         นายจ้างประสบปัญหาด้านการตลาด คำสั่งซื้อลดลงมาก ทำให้ส่วนการประกอบมีคำสั่งซื้อลดลง ถือว่าเป็นเหตุจำเป็นที่นายจ้างสามารถสั่งให้หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวได้  การที่นายจ้างสั่งให้พนักงานในส่วนการประกอบหยุดงานชั่วคราวมีกำหนด 2 เดือนจึงชอบด้วย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75  ในช่วงหยุดกิจการชั่วคราว นายจ้างจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 70 ของค่าค่าจ้างในวันทำงาน เบี้ยขยันเดือนละ 1,000 บาทและค่าอาหารเดือนละ 480 บาท รวมแล้วประมาณร้อยละ 80 ของค่าจ้าง นับว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างปกติเต็มจำนวนให้แก่ลูกจ้างอีก

2.คำพิพากษาฎีกาที่7675/2548
         ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  ประกาศของนายจ้างเป็นเพียงประกาศแจ้งให้ทราบถึงความจำเป็นที่ต้องหยุดกิจการชั่วคราวและจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่หยุดกิจการชั่วคราว   แต่ไม่ใช่หนังสือเลิกจ้างลูกจ้าง แม้ประกาศจะระบุให้ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานทันทีที่ไปประจำทำงานกับนิติบุคคลอื่น  ก็เป็นเพียงเงือนไขที่นายจ้างจะใช้สิทธิเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น การที่ลูกจ้างไปทำงานกับนิติบุคคลอื่น จึงมิใช่เป็นการตกลงเลิกสัญญาจ้างกับนายจ้างอันจะทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง แม้ลูกจ้างยังเป็นลูกจ้างในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว  แต่นายจ้างมิได้มอบงานให้ทำ ส่วนเงินที่นายจ้างจ่ายมิใช่ค่าจ้างแต่เป็นที่ต้องจ่ายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75  ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามลูกจ้างไปทำงานให้แก่บุคคลอื่นในระหว่างนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว  การที่ลูกจ้างไปทำงานให้แก่บุคคลอื่นจึงมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่หรือทำผิดสัญญาจ้างและไม่เป็นการเอาเปรียบนายจ้างที่รับเงินสองทางเพราะเงินที่นายจ้างจ่ายให้ไม่ใช่ค่าจ้าง  เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก