งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
การพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย
การอุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษ เป็นกรณีที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นโดยตรง ได้แก่ การอุทธรณ์ขอให้ลงโทษบทความผิดที่หนักขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2510
คดีที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบาไป และโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามมาตรา 297 ถือได้ว่าโจทก์ฎีกาในทำนองที่ขอลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น ดังนี้ ศาลฎีกามีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยให้หนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2508
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้วางโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบกับมาตรา 225 แล้ว ที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 นั้น ศาลได้วางโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตแล้ว จึงเพิ่มโทษอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 51 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2511
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส. แต่ไม่มีเจตนาฆ่า. โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนา. ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยให้หนักขึ้นอยู่ในตัว. ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นได้.ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212.
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 212 คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น