สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ|สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ

สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ

  • Defalut Image

ในการพิจารณาการจ้างทำงานว่าเป็นการจ้างแรงงานหรือเป็นการจ้างทำของนั้น

บทความวันที่ 13 ธ.ค. 2562, 11:22

มีผู้อ่านทั้งหมด 1410 ครั้ง


สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ

              ในการพิจารณาการจ้างทำงานว่าเป็นการจ้างแรงงานหรือเป็นการจ้างทำของนั้น ผู้ว่าจ้างอาจใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
(1) การมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ
             การจ้างทำของจะมีความมุ่งหวังที่ผลสำเร็จของงานนั้นเป็นสำคัญ กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะมีอิสระในการดำเนินการงานที่จ้างให้สำเร็จลุล่วง ตามลักษณะ แบบ คุณสมบัติ เวลา และมาตรฐานที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และในการคิดคำนวณค่าตอบแทนมักใช้ผลสำเร็จของงานที่ตกลงกันเป็นตัวแปรในการพิจารณาค่าตอบแทนของผู้รับจ้าง
(2) อำนาจบังคับบัญชา
            ในสัญญาจ้างแรงงานผู้ว่าจ้างจะมีอำนาจการบังคับบัญชาเด็ดขาดเหนือผู้รับจ้าง กล่าวคือ ผู้ว่าจ้างอาจมอบหมายงานอย่างอื่นให้ผู้รับจ้าง เปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับจ้างได้ มีอำนาจตักเตือนลงโทษทางวินัย การกำหนดให้ผู้รับจ้างเข้าทำงานตามวันเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 575
อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทํางานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทํางานให้
มาตรา 587อันว่าจ้างทําของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทําการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสําเร็จแห่งการที่ทํานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2562
                  จำเลยจ่ายค่าจ้างโจทก์เป็นรายเดือนมีจำนวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ไม่ได้คำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ  และจ่ายให้ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงาน ทั้งโจทก์ได้รับสิทธิ สวัสดิการต่างๆ  เหมือนพนักงานลูกจ้างคนอื่นของจำเลย โจทก์ปฏิบัติงานไม่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจำเลย จำเลยมีอำนาจสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการอื่นของจำเลยได้ แม้ไม่ปรากฎว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างเคร่งครัด แต่การที่จำเลยจะหยุดงานต้องแจ้งให้คณะกรรมการของจำเลยทราบก่อนโจทก์จึงไม่ได้มีอิสระในการทำงาน สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก