การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ |การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ

การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ

  • Defalut Image

คู่สัญญามีสิทธิเลิกสัญญา 2 ประการ

บทความวันที่ 6 ธ.ค. 2562, 10:56

มีผู้อ่านทั้งหมด 5070 ครั้ง


การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ  

    คู่สัญญามีสิทธิเลิกสัญญา 2 ประการ
               1.สิทธิตามสัญญา เป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้
               2.สิทธิตามกฎหมาย เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดไว้เฉพาะในเรื่องนั้น เช่น กรณีเช่าซื้อ
    กรณีไม่มีข้อสัญญาหรือตามบทบัญญัติของกฎหมาย คู่สัญญาจะเลิกสัญญาตามอำเภอใจไม่ได้ มิฉะนั้นไม่มีผลให้สัญญาเลิกกัน สัญญายังคงมีผลผูกพันคู่สัญญากันตามเดิม

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 386
   ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
    แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาหมายที่เกี่ยวข้อง
การบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีสิทธิ ไม่ทำให้สัญญาเลิกกัน แม้คู่สัญญาอีกฝ่ายจะไม่ได้โต้แย้งคัดค้านก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2558

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 386 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้น ย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง" จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาไว้ 2 ประการ คือ โดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ เมื่อสัญญาเช่าบ้านไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนสัญญาเช่าถึงกำหนดโดยข้อสัญญาได้ โจทก์จึงต้องอาศัยสิทธิการบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะขนย้ายทรัพย์สินและออกไปจากบ้านเช่าพร้อมกับทำหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบ ก็มิใช่เป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านกับจำเลยได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมตกลงเลิกสัญญาเช่าบ้านกับโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านแต่เพียงฝ่ายเดียว สัญญาเช่าบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญา จำเลยจึงไม่จำต้องคืนเงินดังกล่าวอันเป็นค่าเช่าล่วงหน้าส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์

ผู้ที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้นั้นต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาโดยอาศัยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฏหมาย มิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2541
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มีสิทธิเลิกสัญญาโดยเหตุใดการที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2และมิได้โต้แย้งคัดค้านหามีผลเป็นการเลิกสัญญาดังกล่าวไม่เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโต้แย้งหรือคัดค้านการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 277/2551
ผู้ที่ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมาย มิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ เมื่อพิจารณาสัญญาจะคืนที่ดินแล้ว ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่ระบุข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยว่าให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้หากธนาคารปฏิเสธไม่อนุมัติวงเงินให้จำเลยตามที่จำเลยอ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

นายเอกตกลงซื้อรถยนต์จากนายโท ในราคา ๓๐๐,๐๐๐ บาท โดยในสัญญากำหนดไว้ว่า ถ้าหากรถยนต์มีความชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้นายเอกเสียประโยชน์ในการใช้ ภายใน ๓ ปีนับแต่ที่ซื้อ นายเอกมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อนายเอกได้รับมอบรถยนต์และได้ชำระราคาเรียบร้อยแล้ว นายเอกใช้งานรถยนต์คันดังกล่าวมาได้เพียง ๑ เดือน ปรากฏว่า รถยนต์สตาร์ทไม่ติดและประตูรถไม่สามารถปิดได้ นายเอกจึงได้บอกเลิกสัญญากับนายโททันที และเรียกให้นายโทจ่ายเงินค่าซื้อรถยนต์จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท คืนให้แก่นายเอก ให้นักศึกษาจงวินิจฉัยในกรณีดังต่อไปนี้ ถ้านายโทต่อสู้ว่า นายเอกบอกเลิกสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้บอกกล่าวให้นายโททราบล่วงหน้าก่อน นายเอกจึงยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และนายโทไม่ต้องจ่ายเงินคืนให้แก่นายเอก ข้อต่อสู้ของนายโทฟังขึ้นหรือไม่ เพราะอะไร

โดยคุณ วรรณธิดา 21 เม.ย. 2565, 10:27

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก