ใส่ความผู้อื่นหมายความว่าอย่างไร|ใส่ความผู้อื่นหมายความว่าอย่างไร

ใส่ความผู้อื่นหมายความว่าอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ใส่ความผู้อื่นหมายความว่าอย่างไร

  • Defalut Image

การใส่ความหมายถึง การแสดงข้อเท็จจริงเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย

บทความวันที่ 18 ส.ค. 2562, 10:50

มีผู้อ่านทั้งหมด 1290 ครั้ง


ใส่ความผู้อื่นหมายความว่าอย่างไร

          การใส่ความหมายถึง การแสดงข้อเท็จจริงเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โดยจะต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงด้วย โดยข้อความที่ใส่ความจะเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ 

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเรื่องการใส่ความ
1.คำพิพากษาฎีกาที่ 79/2537 (พูดกับผู้อื่นถือเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง)
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ถูกร้องเรียนว่ายักยอกเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาการแทนโจทก์ร่วมทำหนังสือสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับ พ.ผู้ช่วยสมุหบัญชีธนาคารว่า "ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวมีความหมายให้ พ. เข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการแล้วหนีไป จึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วม
2.คำพิพากษาฎีกาที่ 2822/2515 (นำจดหมายที่มีข้อความหมิ่นประมาทให้ผู้อื่นดู)
จำเลยแสดงข้อความในจดหมายที่ได้รับจากผู้อื่นให้บุคคลที่สามทราบโดยรู้อยู่ว่าจดหมายนั้นมีข้อความหมิ่นประมาทผู้เสียหาย นับว่าจำเลยได้ใส่ความผู้เสียหาย แล้วไม่ต่างอะไรกับที่จำเลยได้กล่าวด้วยถ้อยคำวาจา


 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก