ลูกจ้างทุจริตเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย|ลูกจ้างทุจริตเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย

ลูกจ้างทุจริตเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างทุจริตเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย

  • Defalut Image

ปัจจุบันมีลูกจ้างทุจริตในแต่ละองค์กรจำนวนมาก

บทความวันที่ 21 ก.พ. 2562, 10:01

มีผู้อ่านทั้งหมด 1902 ครั้ง


ลูกจ้างทุจริตเลิกจ้างได้ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย

                ปัจจุบันมีลูกจ้างทุจริตในแต่ละองค์กรจำนวนมาก ทนายคลายทุกข์จึงขอนำตัวอย่างคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกจ้างที่ทุจริตมาเป็นอุทาหรณ์ หากนายจ้างจับได้ว่ามีการกระทำความผิด นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ทันที ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  และไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายในการเลิกจ้าง


ลูกจ้างใช้เวลาทำงานให้นายจ้างรับจ๊อบหาประโยชน์แก่ตนเอง
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2538

             โจทก์มีหน้าที่ทำงานออกแบบเสื้อผ้าให้จำเลยการที่โจทก์รับงานนอกเข้ามาทำในระหว่างทำงานโดยใช้ภู่กันสีและกระดาษของจำเลยเป็นการเบียดบังทั้งเวลาและทรัพย์สินของจำเลยโดยมิชอบต่อหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
            ลูกจ้างใช้เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์หรือสถานที่ทำงานของนายจ้างเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัวเป็นการทุจริตต่อหน้าที่
1.ลูกจ้างใช้สถานที่ทำงาน รถยนต์ และคนงานของนายจ้างเพื่อขายสินค้าบางส่วนของตนเอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4884/2548

           ลูกจ้างอาศัยตำแหน่งหน้าที่ฐานะเป็นผู้จัดการสาขา ใช้สถานที่ทำการ พนักงาน รถยนต์ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ของนายจ้างเพื่อจำหน่ายสินค้าของลูกจ้าง แม้จะเป็นสินค้าซึ่งซื้อจากนายจ้างและมิได้ทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าที่สาขาของนายจ้างลดลงก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่

2. ลูกจ้างใช้สถานที่ทำงาน อุปกรณ์ เครื่องมือและพนักงานของนายจ้างทำงานส่วนตัวหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12820/2553

            การที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เปิดบริษัทนำเข้าและส่งออกเสื้อผ้ากีฬาและใช้อุปกรณ์ เครื่องมือและพนักงานของจำเลยที่ 3 บางส่วนทำงานส่วนตัวของโจทก์ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 3 จึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 (4)

ลูกจ้างใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์ที่มิควรได้สำหรับตนเอง เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
1.ลูกจ้างสั่งซ่อมรถยนต์ของบริษัท และขายให้ตนเองราคาถูก
คำพิพากษาฎีกาที่ 2798/2526
          ลูกจ้างเป็นกรรมการบริษัทและดำรงตำแหน่งหน้าที่แผนกบัญชีและการเงินของบริษัทด้วย ได้ออกคำสั่งในฐานะกรรมการบริษัทสั่งให้ซ่อมรถยนต์เก๋งของบริษัทเป็นเงิน 20,000 บาท โดยใช้เงินของบริษัท เมื่อซ่อมเสร็จแล้วก็ออกคำสั่งในนามของกรรมการบริษัทโอนขายรถยนต์ดังกล่าวให้แก่ตนเองในราคา 40,000 บาท ซึ่งเท่ากับราคารถเก่าของบริษัทยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกันที่เคยขายไปโดยไม่ได้ซ่อม  การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่

2. ลูกจ้างมีหน้าที่ตรวจคุณสมบัติขอสินเชื่อแล้วรับเงินจากผู้ขอสินเชื่อ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3495/2546

          ผู้ขอสินเชื่อให้เงินจำนวน 10,000 บาท แก่โจทก์เอง แต่โจทก์เป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติของลูกค้าและทำความเห็นประกอบให้สำนักงานใหญ่พิจารณาอนุมัติ หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการอนุมัติสินเชื่อที่ไม่พึงมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือแม้แต่หลังมีการอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์และฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง

3. ลูกจ้างใช้ตำแหน่งหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมติดตั้งไฟฟ้าเกินอัตราเป็นประโยชน์ตนเอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3145/2526

         ลูกจ้างมีตำแหน่งเป็นผู้ให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งกระแสไฟฟ้าตรงให้แก่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าโดยไม่ได้เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้า แต่ได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการติดตั้งเกินอัตราที่กำหนดและนำส่วนนั้นไปเป็นประโยชน์ต่อตนเอง เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

4. ลูกจ้างเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ขอสุราจากคู่ค้าไปดื่มระหว่างท่องเที่ยว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2549

             พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และไม่ได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์ที่ได้สุรา4 ขวด มาจากคู่ค้าของจำเลย เพราะโจทก์เรียกรับเอาเองในขณะที่โจทก์มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของจำเลย อันเป็นตำแหน่งที่อาจเอื้อประโยชน์หรือให้คุณให้โทษต่อคู่ค้า คู่ค้าจึงอาจเกรงใจ จำยอมหรือยอมให้โดยไม่ได้สมัครใจอย่างแท้จริง จึงเป็นความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ตามมาตรา 119 (1) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ลูกจ้างอาศัยตำแหน่งหน้าที่เสนอให้ลูกค้าของนายจ้างไปซื้อสินค้ากับบริษัทที่ตนเองตั้งขึ้น หรือบริษัทอื่น แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4534/2549
          ลูกจ้างมีหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอขายสินค้าให้นายจ้าง แต่กลับจัดตั้งบริษัทขึ้นมาแล้วได้ดำเนินการให้ลูกค้าของนายจ้างได้ติดต่อซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตที่ขายสินค้าราคาถูกกว่าของนายจ้างเกือบครึ่งหนึ่ง และบริษัทที่ลูกจ้างตั้งขึ้นได้รับผลประโยชน์จากการตกลงซื้อขายดังกล่าว เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
              ลูกจ้างนำข้อมูลหรือความลับของนายจ้างที่ลูกจ้างได้จากการทำงานไปแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5298/2548
    ลูกจ้างเป็นหัวหน้างานออกแบ นำข้อมูลและราคากลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลปริมาณงานและราคาที่แท้จริงซึ่งเป็นความลับของนายจ้างไปเปิดเผยแก่ผู้ประมูล ก่อนมีการประมูลงานก่อสร้างโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งอาจทำให้นายจ้างต้องประมูลงานในราคาที่สูงกว่าราคาที่ควรจะเป็น อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่

ขั้นตอนในการคัดกรองคนเข้าทำงาน ต้องเน้นเก่งและดี เก่งอย่างเดียวไม่พอ เพราะเก่งแล้วโกง นายจ้างก็เสร็จครับ


 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก