แจ้งความเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง|แจ้งความเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง

แจ้งความเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แจ้งความเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง

  • Defalut Image

แจ้งความเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง

บทความวันที่ 14 ก.พ. 2562, 11:39

มีผู้อ่านทั้งหมด 2266 ครั้ง


แจ้งความเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง

            ปัจจุบันมีการมอบอำนาจให้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับบุคลลอื่นทางอาญา บางคดีเป็นคดีแพ่งก็ไปแจ้งตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีเช่น ผิดสัญญา ก็ไปแจ้งตำรวจว่าฉ้อโกง ถ้าแจ้งไปตามข้อเท้จจริงโดยไม่ได้บิดเบือนความจริงแม้ภายหลังพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องก็ตาม การกระทำดังกล่าวก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ 

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4248/2561  
    
               ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นที่ยุติว่า บริษัท ท.จำกัด จัดตั้งขึ้นจากการร่วมทุนของบริษัท ป. จำกัด บริษัท  ณ. จำกัด และ บริษัท ส.จำกัด เพื่อจัดตั้งศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 บริษัท ท. จำกัด มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 1/2553 ซึ่งที่ประชุมมีมติว่าให้มีการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลโดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553  และกำหนดจ่ายค่า Medical Director fee แก่โจทก์ประจำเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2553 ในอัตราเดือนละ 150,000 บาท โดยขอตั้งเป็น “ค่าใช่จ่ายค้างจ่าย”(accrued expense) ไว้ก่อนจนกว่าบริษัท ท. จำกัด จะมีสภาพคล่องพอที่จะจ่ายได้ ส่วนเดือนกรกฎาคม 2553 เป็นต้นไปในจ่ายในอัตราเดือนละ 300,000 บาท โดยขอตั้งเป็น “ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย” จำนวน 150,000 บาท โดยที่บริษัท ท.จำกัด จะจ่ายให้โจทก์ ณ เดือนที่เปิดดำเนินการจริง ส่วนอีก 150,000 บาท ให้จ่ายได้หลังจากเซ็นสัญญากันเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในวันที่ 7 ตุลาคม 2553 สถานพยาบาลของบริษัท ท. จำกัด  ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ และโจทก์ให้พนักงานบัญชีของบริษัทดังกล่าวจัดทำเช็คจำนวน 5 ฉบับ ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2553 สั่งจ่าย เงินค่าตอบแทนการทำงานให้แก่โจทก์  โดยมีนางป. กับนายศ. ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายหลังจากนั้นโจทก์นำเช็คทั้ง 5 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมาวันที่ 14 ตุลาคม 2553  นายศ.และนายช. มีหนังสือขอให้ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) จำกัด(มหาชน) สาขาสีลม ระงับการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า การจ่ายเงินตามเช็คไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการสั่งจ่ายตามรายงานการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/2553  และรายงานประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 1/2553  ตามสำเนาเช็คและคำขอให้ระงับการสั่งจ่ายเงิน เอกสารหมาย ล.3 และเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2554  จำเลยมอบอำนาจให้นายพ. ไปแจ้งความกล่าวหาโจทก์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553 นางป.กับโจทก์ซึ่งครอบครองสมุดเช็ค ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด(มหาชน)  ของบริษัท ท.จำกัด เบียดบังเช็ค รวม 5 ฉบับ ซึ่งนายศ. ลงลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินฉบับละ 1458,500 บาท รวม  727,500 บาท ให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าเป็นค่าตอบแทนการทำหน้าที่ดำเนินการสถานพยาบาลโจทก์กับบริษัท ท.จำกัด และอ้างว่ากรรมการของบริษัททั้งหมดทราบเรื่องแล้ว ทั้งๆ ที่นาง ป. และโจทก์ทราบแล้วว่า บริษัท ท. จำกัด ยังไม่ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์แต่อย่างใด ทำให้นายศ. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 5 ฉบับ และส่งมอบเช็คให้แก่นาง ป. และโจทก์ ต่อมาในวันที่ 11 ตุลาคม 2553 โจทก์ได้นำเช็คทั้ง 5 ฉบับ ไปเบิกถอนเงินจากธนาคารเจ้าของเช็คโดยมิใช่ของผู้มีสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นเช็คไม่มีมูลหนี้ การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัท ท. จำกัด เสียหาย โดยร่วมกันเบียดบังเอาเช็คไปโดยทุจริตและทำให้เช็คเสียหายหรือไร้ประโยชน์ ตามสำเนาหมายเรียกผู้ต้องหา สำเนาบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา และสำเนาบันทึกคำให้การของพยานเอกสาร หมาย จ.8 จ.9 และ จ.12 ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2554  บริษัท ท.จำกัด มีการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2554  ซึ่งนาย ศ. เป็นประธานในที่ประชุมและนาย ศ.แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า บริษัท ท.จำกัด มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงินตามเช็ค 5 ฉบับ  ซึ่งสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์ เนื่องจากไม่ทราบว่าเป็นการจ่ายเงินเพื่อชำระมูลหนี้ใด  อีกทั้งการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คของบริษัทที่บริษัทได้มอบไว้กับธนาคารตามรายงานการประชุมคณะกรรมการ ครั้ง 3/2553 แต่เมื่อนางป.และโจทก์ไม่ได้เข้าร่วมประชุมในวันดังกล่าว นายศ. จึงให้ที่ประชุมลงมติว่าให้ส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังนางป. และโจทก์ให้ไปชี้แจงปัญหาต่อบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว หากนางป.และโจทก์ไม่มาชี้แจงให้บริษัททราบหรือไม่สามารถชี้แจงแก่บริษัทได้ ที่ประชุมมีมติเห็นควรให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ตามสำเนารายงานการประชุมและสำเนาหนังสือเอกสารหมาย ล.6 และ ล.4  ตามลำดับ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 นั้น ต้องเป็นกรณีที่แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาให้ผิดไปจากความจริง ส่วนการแจ้งความเท็จแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 นั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นเลย แต่ผู้แจ้งไปแจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยมอบอำนาจให้นายพ. ไปแจ้งความกล่าวหาโจทก์ตามสำเนาหมายเรียกผู้ต้องหา สำเนาบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา และสำเนาบันทึกคำให้การของพยานเอกสารหมาย จ.8 จ.9 และ จ.12 นั้น ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามลำดับเหตุการณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ปรากฏว่านาย พ. ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดที่เป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงแต่อย่างใดการที่จำเลยมอบอำนาจให้นายพ. ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์กับนางป.ในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์นั้น น่าเชื่อว่าเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างไปตามความเข้าใจของตน ทั้งมีรายงานการประชุมของบริษัท ท.จำกัด เป็นพยานสนับสนุน ข้อความที่นายพ. แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจึงตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำตามที่จำเลยแจ้งจะเป็นความผิดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานใด ซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการแจ้งความย่อมหมายถึงการแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริง  ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องโจทก์กับนางป. ตามคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการเอกสารหมาย จ.11 ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิด ตามฟ้องที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
การแจ้งความต้องแจ้งไปตามความเป็นจริงถ้าบิดเบือนมีโอกาสติดคุกนะครับ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก