การบอกล้างโมฆียะกรรม|การบอกล้างโมฆียะกรรม

การบอกล้างโมฆียะกรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การบอกล้างโมฆียะกรรม

  • Defalut Image

ช่วงนี้มีข่าวดัง ผู้เยาว์ อาม ชุติมานักร้องดังมีปัญหาแย่งลิขสิทธิ์เพลงกับนายห้าง

บทความวันที่ 1 พ.ย. 2561, 09:43

มีผู้อ่านทั้งหมด 3136 ครั้ง


การบอกล้างโมฆียะกรรม

                 ช่วงนี้มีข่าวดัง ผู้เยาว์ อาม ชุติมานักร้องดังมีปัญหาแย่งลิขสิทธิ์เพลงกับนายห้าง และมีการทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลง มีการต่อสู้ว่าเป็นโมฆียะ พ่อแม่ไม่ได้ให้ความยินยอม ทนายคลายทุกข์จึงขอนำกฎหมายเกี่ยวกับโมฆียะ และการบอกล้างโมฆียะมานำเสนอให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงตามกฎหมาย โดยหลักแล้ว นิติกรรมที่เป็นโมฆียะสมบูรณ์ตั้งแต่แรก เพียงแต่อาจถูกบอกล้างได้เท่านั้น และบุคคลที่จะบอกล้างต้องเป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น บุคคลอื่นถึงแม้จะมีส่วนได้เสีย เช่น กองเชียร์ ไม่สามารถบอกล้างได้ ตามตัวอย่างฎีกาข้างล่างนี้

1.คำพิพากษาฎีกาที่ 2153/2555 (ผู้มีส่วนได้เสีย ไม่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม) 
             ผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมได้ต้องเป็นบุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 บุคคลอื่นนอกจากนี้แม้จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ไม่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมได้ เว้นแต่ผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะกรรมถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 175 วรรคท้าย 

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2549  (การฟ้องคดีแพ่งถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมอย่างหนึ่ง)
            จำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไว้กับจำเลยที่ 2 นิติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นด้วยกับการกระทำของจำเลยที่ 1 นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆียะ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามมาตรา 175 และการที่โจทก์ฟ้องคดีถือได้ว่าเป็นการบอกล้างแล้ว นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 176

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12473/2555  (ผู้ซื้อขอเงินค่าที่ดินคืนจากผู้ขายถือเป็นการบอกล้างเป็นโมฆียะกรรมแล้ว)
            โจทก์แสดงเจตนาทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเพราะถูกจำเลยใช้กลฉ้อฉลว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าโจทก์สามารถครอบครองทำประโยชน์ได้ มิใช่เป็นที่สาธารณประโยชน์หากจำเลยไม่ใช้กลฉ้อฉลโจทก์ก็จะไม่ทำสัญญาซื้อขายและชำระราคาแก่จำเลย ต่อมาโจทก์ทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะประโยชน์ โจทก์ได้ไปเจรจาขอเงินค่าที่ดินคืนจากจำเลย และจำเลยคืนเงินบางส่วนแก่โจทก์ อันถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทอันเป็นโมฆียกรรมแล้ว ทำให้นิติกรรมมีผลเป็นโมฆะกรรมตามป.พ.พ. มาตรา 150 คู่สัญญาต้องกลับสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินที่เหลือแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2538 (เมื่อผู้ซื้อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ผู้ขายต้องคืนเงินมัดจำที่ผู้ขายรับไว้)
             จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อสร้างโรงงานผลิตอาหารกระป๋องและรู้ว่าที่ดินพิพาทจะถูกเวนคืนบางส่วนเพื่อขุดคลองชลประทานแต่ก็ไม่แจ้งความจริงให้โจทก์ทราบเป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นโมฆียะเมื่อโจทก์ได้ไปทวงเงินคืนจากจำเลยถือว่าได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่แรกคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามที่ระบุในสัญญาว่าหากจำเลยผิดสัญญาแล้วจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งได้เพราะเป็นการขอให้บังคับตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 175
 โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
           (1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
           (2) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์
          (3) บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่
          (4) บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา 30 ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว
ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้
มาตรา 176  โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน
มาตรา 178  การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน
             การทำนิติกรรมสัญญา ถ้าเป็นผู้เยาว์หรือไม่มีความรู้กฎหมายควรจ้างที่ปรึกษากฎหมายคอยให้คำชี้แนะก่อนทำนิติกรรมสัญญา มิฉะนั้นจะทำให้เกิดข้อพิพาทตีความกันในภายหลัง เหมือนคดีไหทองคำ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก