หลอกลวงเฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่มไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง|หลอกลวงเฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่มไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

หลอกลวงเฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่มไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หลอกลวงเฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่มไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

  • Defalut Image

หากการหลอกลวงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการหลอกลวงบุคคลเฉพาะบุคคลหรือบุคคลเฉพาะกลุ่ม

บทความวันที่ 11 ก.ย. 2561, 13:57

มีผู้อ่านทั้งหมด 4141 ครั้ง


หลอกลวงเฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่มไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

             หากการหลอกลวงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการหลอกลวงบุคคลเฉพาะบุคคลหรือบุคคลเฉพาะกลุ่ม เช่น หลอกลวงเฉพาะคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน,หลอกลวงเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง,หลอกลวงเฉพาะคนที่เข้าโบสถ์ด้วยกัน ไม่ได้เป็นการหลอกลวงเป็นการทั่วไป ไม่ได้มีผู้ทราบข้อความที่หลอกลวงนั้นเป็นจำนวนมาก ผู้หลอกลวงสามารถต่อสู้คดีได้ว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 เท่านั้น ไม่ได้เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15505/2553
          ป.อ. มาตรา 343 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน" คำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไปไม่จำกัดตัวว่าเป็นผู้ใด แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกซึ่งเป็นคนต่างด้าวและคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น โดยคนต่างด้าวดังกล่าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงเฉพาะคนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเท่านั้น อันเป็นการจำกัดตัวผู้ถูกหลอกลวงว่าเป็นผู้ใดมิใช่หลอกลวงบุคคลทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341 ตามที่จำเลยให้การรับสารภาพเท่านั้น 

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2536
          จำเลยที่ 1 และที่ 4 มาหาที่บ้านแล้วชักชวนให้ ส.และ ธ. ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นโดยได้ค่าจ้างประมาณเดือนละ 35,000 บาท ถึง 40,000 บาท แต่การไปต้องมีค่าใช้จ่ายคนละ 68,000 บาท ถึง 78,000 บาท และให้บุคคลทั้งสองพาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไปบ้าน ว. และ น. และพูดชักชวน ว. และ น. ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นโดยยืนยันว่ามีงานให้ทำจริง ๆ นอกจากนั้น ว. ยังไม่ได้แจ้งให้ ล., ท.และพ. ทราบ แล้วพากันเดินทางมากรุงเทพฯ โดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 5 ไปรอรับที่สถานีขนส่งระหว่างอยู่ในกรุงเทพฯ จำเลยทั้งห้ากับพวกมารับเงินจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดไป อ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการทำวีซ่าค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าทำงาน พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ทั้งห้ามิใช่เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ควรบอกให้แจ้งต่อประชาชน การแสดงข้อความอันเป็นเท็จของ จำเลยทั้งห้าเป็นการเฉพาะเจาะจงต่อผู้เสียหายทั้งเจ็ดคน เท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จำเลยทั้งห้าไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนงานข้อความเท็จที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันแสดงออกต่อผู้เสียหายทั้งเจ็ด ยืนยันข้อเท็จจริงว่ามีงานให้ทำในประเทศญี่ปุ่นมีค่าจ้างเดือนละ 35,000 บาท ถึง 40,000 บาท และชักชวนผู้เสียหายทั้งเจ็ดให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้อความเท็จนั้น เป็นข้อความที่จำเลยทั้งห้าใช้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดเพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งห้าประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน ตามความหมายของพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 จำเลยทั้งห้าจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานโดยมิได้รับอนุญาต ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เพราะเชื่อในข้อความเท็จที่จำเลยทั้งห้าแจ้งให้ทราบและที่จำเลยทั้งห้า หลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งเจ็ด ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้จริงผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า การรู้หรือไม่รู้ว่าการเข้าไปทำงาน ในประเทศญี่ปุ่นต้องลักลอบเข้าไป ไม่ใช่สาระสำคัญที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เมื่อ ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เพราะเชื่อ ในคำหลอกลวงของจำเลยทั้งห้า ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงเป็น ผู้เสียหายโดยนิตินัย

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2535
         จำเลยทั้งสองโฆษณาหลอกลวงผู้ที่มาเข้าโบสถ์ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนในบริษัท ท. สามารถส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศได้แต่บุคคลเหล่านั้นต่างเป็นคนหมู่บ้านหรือท้องถิ่นเดียวกันนับถือศาสนาคริสต์ ด้วยกัน ปฏิบัติศาสนกิจที่โบสถ์เดียวกันจำเลยทั้งสองเป็นครูย่อมเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้าน การโฆษณาต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรู้จักจำเลยเป็นอย่างดี ย่อมมิใช่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าเป็นบุคคลใด จึงยังไม่เป็นการโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2534
         ผู้เสียหาย 4 คนได้ทราบว่าที่วัด พ. มีพระเครื่องซึ่งเป็นของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีให้เช่าบูชา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดดังกล่าวเป็นผู้นำออกให้เช่าผู้เสียหายทั้งสี่จึงไปเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1รับรองว่าพระเครื่องดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ได้มาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งความจริงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เคยทรงจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าวและไม่เคยทรงพระราชทานแก่จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โฆษณาให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการให้เช่าพระเครื่อง หากเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายทั้งสี่ทราบข่าวมาเองแล้วมาติดต่อขอเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 นำเงินที่ได้จากการให้เช่าพระเครื่องส่วนหนึ่งไปปรับปรุงซ่อมศาลากรรมฐานของวัดดังกล่าว แต่พฤติการณ์การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการร้ายแรงนำความเสื่อมเสียมาสู่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและพุทธศาสนาจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1

5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2534
          คำว่า "ประชาชน" ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน หมายถึง บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด และไม่ถือจำนวน มากน้อยเป็นสำคัญจำเลยหลอกลวง ว. แล้ว ว.พาจำเลยไปหาช.จำเลยจึงหลอกลวงช. แม้เหตุการณ์ในบ้านของจำเลยจะมีคนอื่นอยู่ด้วยอีกสองคน ก็ไม่ใช่บุคคลทั่วไป ตามความหมายของกฎหมายบทนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการโฆษณา แสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ. เป็นผู้ดำเนินงานจัดหางานให้คนงานไปทำงานยังต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่มีเจตนาที่จะส่งคนไปทำงานต่างประเทศ และไม่สามารถจัดหางานแก่คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศได้ และข้อเท็จจริงคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการ จัดหางานให้คนหางานได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ แสดงว่าจำเลย มิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย เพียงแต่อ้าง ข้อความเท็จเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำ ของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต

6. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532
         จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่ องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่ พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ ตัวแทนของจำเลยได้ ติดต่อ กับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่ง เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงตาม มาตรา 341 ซึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับ แต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม มาตรา 341 ดังกล่าวซึ่ง เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 ให้รับผลตาม คำพิพากษาด้วย.

7. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531
       จำเลยโฆษณาหลอกลวงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อขายข้อสอบที่จำเลยเขียนขึ้นเองเพื่อให้นักศึกษาที่ซื้อข้อสอบจากจำเลยหลงเชื่อว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการหลอกลวงประชาชนทั่วไป จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341 เท่านั้น

ปรึกษาข้อกฎหมายกับทีมทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700, 081-6161425

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

     จากเหตุการณ์นี้ เป็นความผิดอะไรได้บ้างครับ


ประมาณกลางเดือน ส.ค. รุ่นน้องที่เคยคบกันแล้วเลิกรากันไปเพราะเค้าไปมีแฟนใหม่ตั้งแต่เดือน ก.พ. ต่อมาในเดือนสิงหาคมเค้าได้กลับเข้ามาหา และมาทำทีขอคำปรึกษา เรื่องปัญหาการเงิน ปัญหาความรัก ปัญหาค่าใช้จ่ายต่างๆ เรื่องไหนเล็กๆน้อยๆ ที่ผมพอช่วยได้ ผมก็ช่วย เพราะคิดว่ารู้จักกันมานาน จนมาถึงช่วงสื้นเดือน ส.ค. เค้าขอยืมเงินผมไปชำระหนี้ 1.หนี้ที่ค้างอยู่กับที่ทำงานเก่าที่ได้ลาออกมาแล้ว 2.ซื้อควายให้แม่ 2 ตัว 3.ไถ่ทองที่ไปจำนำไว้ 4.ไปปิดงวดรถยนตร์ โดยบอกว่าถ้าผมช่วยเค้าได้ เค้าจะไม่ลืมบุญคุณ ผมเลยบอกว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของผม ไปให้แฟนเราช่วยจึงจะถูก และหลังจากวันนั้น เค้าก็มาบอกว่าขอคบผมเป็นแฟนอีกครั้ง ผมจึงถามว่า แล้วแฟนของเราไปไหน เค้าบอกว่าได้เลิกกับแฟนของเค้าแล้ว(ภายหลังรู้ว่าเค้าได้โกหก เค้ายังคบกับคนรักของเค้าและ อยู่กันที่บ้านของคนรักฉันสามีภรรยา) เพราะไม่สามารถดูแลเค้าได้ ผมเลยสอบถามเเรื่องราว เค้าจึงเอาโทรศัพย์ซึ่งมีข้อความที่เค้าทะเลาะกันกับแฟนของเค้าให้ผมดู ผมดูแล้วก็เชื่อ ผมสอบถามเค้าหลายเรื่อง เค้าก็บอกจนผมเชื่อว่าเลิกรากันแล้วจริงๆ และบอกอีกว่า เค้าจะมาอยู่ด้วย ผมจะได้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ผมเลยถามเค้าว่าต้องการเงินจำนวนเท่าไหร่ถึงพอตามที่ขอมา เค้าบอก 300000 บาท ผมเลยบอกว่าเงินขนาดนั้นผมไม่มี เค้าเลยคะยั้นคะยอขอให้ผมหาให้เค้า และบอกว่าพี่ไม่ต้องห่วงพอได้เงินแล้ว จะนำเงินไปปิดงวดรถ พอได้เล่ม จะนำเล่มกับรถมาให้ผม หากมีปัญหาเค้าจะเอารถไปเข้าไฟแนนส์ เพื่อนำเงินคืนให้ แล้วจะทำสัญญากู้ยืมให้อีกด้วย ถ้าผมยังไม่เชื่อใจ เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยกำหนดจะคืนให้ วันที่ 1 ธ.ค.  ต่อมาในวันที่ 4 ก.ย. ผมไปกู้ยืมเงินได้  250000 บาท และโอนเข้า บ/ช ธนาคารออมสิน ให้เค้า 250000 เวลา 19.11น. โดยทางโทรศัพย์ เมื่อได้เงินไปแล้ว เค้าก็ไม่ได้นำเล่มมาให้ บอกลืมบ้าง กับอยู่ในรถบ้าง ผมก็เชื่อใจไม่ได้คิดอะไร  ผมจึงยังไม่ได้เล่ม รถผมก็ให้เค้าใช้ตามปกติ เพราะส่วนใหญ่เค้าก็เข้าออกประจำ  ต่อมาผมก็ทราบเรื่องว่าเค้าโกหกเรื่องคนรักของเค้า  จึงได้ส่งข้อความไปหาเค้าให้มาทำสัญญา เริ่มแรกเค้าก็พิมพ์ตอบมาดีๆ ต่อมาก็เริ่มต่อว่า ด่าทอผม สุดท้ายก็บล๊อกเบอร์ของผม ผมไปตามที่บ้านก็ไม่เจอ หายไปเลย ไม่สามารถติดต่อได้ จนได้ทราบในเวลาต่อมาว่าเค้าได้กลับไปอยู่บ้านของคู่รักของเค้าแล้ว

โดยคุณ LONDON 13 พ.ย. 2562, 11:11

ตอบความคิดเห็นที่ 2

 จากข้อเท็จจริงข้างต้น หากจะเอาผิดสามารถฟ้องเรื่องทางคดีแพ่งได้ ส่วนเรื่องทางอาญาหากจะเอาผิดเรื่องฉ้อโกง รบกวนสอบถามเพิ่มเติม

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ธ.ค. 2562, 11:05

ความคิดเห็นที่ 1

พฤติการณ์แบบนี้เข้าข่ายคดีอะไรคะ

เรื่องมีอยู่ว่าลูกค้ามายื่นสินเชื่อเราจึงหลอกให้ลูกค้าเปิดบัญชีพร้อมฝากเงิน200,000และฝากสมุดไว้กับเราเพื่อโชว์ยอดต่อธนาคารต่อมาโอนเงินจากสมุดบัญชีลูกค้าเข้าบัญชีตัวเองและลูกค้ามาเซ็นสลิปให้วันหลังต่อมาประมาณ 3 อาทิตย์ลูกค้าทราบเรื่องจึงรีบโอนเงินคืนเข้าบัญชีลูกค้าเราชดใช้เงินคืนลูกค้าไปหมดแล้ว

โดยคุณ may2181 12 ก.ย. 2561, 18:48

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก