กฎหมายใหม่ทำยอมก่อนฟ้องบังคับคดีได้ |กฎหมายใหม่ทำยอมก่อนฟ้องบังคับคดีได้ 

กฎหมายใหม่ทำยอมก่อนฟ้องบังคับคดีได้ 

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กฎหมายใหม่ทำยอมก่อนฟ้องบังคับคดีได้ 

  • Defalut Image

ศาลยุติธรรมได้มีการเปิดเผยเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ที่จะออกมาสามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความ

บทความวันที่ 23 มี.ค. 2561, 10:43

มีผู้อ่านทั้งหมด 2017 ครั้ง


กฎหมายใหม่ทำยอมก่อนฟ้องบังคับคดีได้ 

           ศาลยุติธรรมได้มีการเปิดเผยเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ที่จะออกมาสามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมได้ก่อนฟ้องคดีแพ่ง ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกมาจะทำให้คู่ความโดยเฉพาะเจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถระงับข้อพิพาทกันได้ โดยไม่ต้องนำคดีไปฟ้องศาล ไม่ต้องเสียค่าวางศาล และเมื่อผิดสัญญายอมก็บังคับคดีได้ทันที ซึ่งจะทำให้คดีที่ไม่เป็นสาระหรือที่เรียกว่ามโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยากหมดไปจากศาลจำนวนมาก เนื่องจากปัจจุบันมีคดีกู้ยืมเงิน เช่าซื้อ ค้ำประกัน บัตรเครดิต อยู่ในศาลเป็นจำนวนมาก ถ้ากฎหมายใหม่ที่จะออกมามีผลบังคับ คู่ความที่มีปัญหากรณีพิพาทมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ตั้งผู้ประนอมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ หากอีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจเข้าร่วมไกล่เกลี่ยคู่ความก็มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้พิพากษาตามยอมได้ และถ้าผิดนัดชำระหนี้ก็บังคับคดีได้ ซึ่งจะลดขั้นตอน ลดภาระค่าใช้จ่ายของคู่ความได้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันการทำยอมจะต้องมีการฟ้องคดีต่อศาลก่อน ต้องเสียค่าทนาย เสียค่าธรรมเนียมศาล เสียเวลานาน ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหลังจากศาลรับฟ้องคดีมีดังต่อไปนี้ 
      1.เมื่อโจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว จะกลับมาทำยอมไม่ได้ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 725/2536) 
     2.ผู้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความต้องเป็นคู่ความ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2559) 
การที่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง ก. และ น. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม สัญญาประนีประนอมยอมความจึงชอบด้วยกฎหมาย ผูกพันคู่สัญญาทุกฝ่ายในสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนคำพิพากษาตามยอมซึ่งพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดตามสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเฉพาะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความเว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 142 (1), 245 และ 274 และในข้อยกเว้นตามมาตรา 145 วรรคสอง (1) (2) เมื่อ ก. ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิขอบังคับคดีแก่ ก. โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมและคำพิพากษาตามยอมคดีนี้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ก. เป็นคดีต่างหาก แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 11 ระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดข้อตกลงในสัญญายอมข้อใดข้อหนึ่งให้บังคับคดีไปตามสัญญายอมนี้ได้ทันที โดยให้ถือเอาคำพิพากษาตามยอมของศาลเป็นการแสดงเจตนา พร้อมให้ชำระเงิน 2,000,000 บาท แก่คู่ความอีกฝ่ายด้วย ก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าคู่สัญญาคนใดในสัญญาประนีประนอมยอมความผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่คู่สัญญานั้นตามสัญญาแต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้โจทก์ทั้งสองกับ ก. ต้องรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิได้ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเอาแก่โจทก์ทั้งสอง
       3.การตกลงหรือประนีประนอมยอมความกระทำได้เมื่อศาลได้รับคำฟ้องไว้แล้ว (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2994/2543)
      4.การตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกระทำได้ทุกชั้นศาล (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2576/2531) 
      5.คำพิพากษาตามประนีประนอมยอมความไม่ห้ามพิพากษาเกินคำขอ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2628/2558)
      6.ต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความในประเด็นแห่งคดี (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5372/2542)
      7.คำพิพากษาตามยอมแก้ไขได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1482/2551)
       สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา จึงอยู่ในบังคับที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในสัญญาดังกล่าวได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ทั้งนี้จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
      8.สัญญาประนีประนอมยอมความต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 195/2521)
      9.กรณีทายาทถูกฟ้องให้รับผิดในหนี้ของเจ้ามรดกซึ่งทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดก การที่จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดตามฟ้อง แม้มิได้ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความว่ากระทำการในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวไม่ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 8489/2559)
     โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นทายาทโดยธรรมผู้รับมรดกของ ร. ผู้ตายให้รับผิดชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยในกรณีผู้ตายทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน เท่ากับว่าโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอากับกองมรดกผู้ตายซึ่งได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย หาใช่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะส่วนตัวไม่ ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงผ่อนชำระเงินให้โจทก์เป็นรายเดือน ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอากับกองมรดก แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความว่ากระทำการในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายก็ตามก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวไม่ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จำต้องบังคับคดีเอากับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตาย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินส่วนตัวของผู้ร้องที่ 1 (จำเลยที่ 1) ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงเป็นการยึดที่ไม่ชอบ 
การแก้ไขหนี้ตามกฎหมายใหม่ทำยอมโดยไม่ต้องฟ้องศาลจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ถือว่าเป็นกฎหมายที่ดีมากครับ อยากให้มีผลบังคับใช้เร็วๆ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก