ข้อยกเว้นไม่มีความผิดหรือไม่ต้องรับโทษคดีหมิ่นประมาท|ฉ้อโกง,เปลี่ยนนามสกุล,คดีหมิ่นประมาท,มาตรา 33

ข้อยกเว้นไม่มีความผิดหรือไม่ต้องรับโทษคดีหมิ่นประมาท

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อยกเว้นไม่มีความผิดหรือไม่ต้องรับโทษคดีหมิ่นประมาท

  • Defalut Image

ปัจจุบันมีการฟ้องร้องดำเนินคดีหมิ่นประมาททางเฟซบุ๊คและหมิ่นประมาททั่วไปเป็นจำนวนมากในศาล

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:13

มีผู้อ่านทั้งหมด 9351 ครั้ง


ข้อยกเว้นไม่มีความผิดหรือไม่ต้องรับโทษคดีหมิ่นประมาท

            ปัจจุบันมีการฟ้องร้องดำเนินคดีหมิ่นประมาททางเฟซบุ๊คและหมิ่นประมาททั่วไปเป็นจำนวนมากในศาล เมื่อมีการแก้กฎหมายคอมพิวเตอร์แล้ว ทำให้การหมิ่นประมาททางเฟซบุ๊คไม่ผิดกฎหมายคอมพิวเตอร์ แต่ผิดกฎหมายหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น การด่ากันทางเฟซบุ๊คหรือไลน์ การใส่ร้าย วิพากษ์วิจารณ์แบบไม่สุจริตทางเฟซบุ๊คและทางไลน์ มีการดำเนินคดีในชั้นศาลเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ถูกดำเนินคดีได้รับความเดือดร้อนบางกรณีบุคคลที่ทุจริตหรือคดโกงก็ใช้กฎหมายหมิ่นประมาท เป็นเครื่องมือในการปิดปากมิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์การทุจริตของตนเอง บางคดีฟ้องหลายคดี หลายจังหวัดและเรียกค่าเสียหายจำนวนมาก เพื่อหยุดผู้ที่จะแฉเกี่ยวกับเรื่องความไม่ดีของตัวเอง ตามประมวลกฎหมายอาญามีข้อยกเว้นการแสดงความคิดเห็นไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และข้อยกเว้นไม่ต้องรับโทษฐานหมิ่นประมาท 
ข้อยกเว้นไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 329
ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
    (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
    (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
    (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
    (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
ข้อยกเว้นไม่ต้องรับโทษฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ 
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
ตัวอย่างคดีที่ศาลฎีกาเคยตัดสิน
1. คำพิพากษาฎีกาที่ 1362/2514
          หมิ่นประมาทตำรวจซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการจราจร ซึ่งทำให้ผู้ฟังเข้าใจว่ารีดไถเงินทอง หรือรับสินบนจากผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจร ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ มิใช่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์ความจริงย่อมเป็นประโยชน์แก่ประชาชน จำเลยจึงขอพิสูจน์ความจริงเพื่อไม่ต้องรับโทษได้ 
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520
           บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการจำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพันบาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2,3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงินฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถูบ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดีตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยวตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2521
             ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การที่หนังสือพิมพ์ของโจทก์นำรูปจำเลยไปรวมอยู่ในกลุ่มคนร้ายและอาชญากรในหน้าปกหนังสือพิมพ์เป็นการทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่าจำเลยเป็นบุคคลประเภทเดียวกับคนร้ายและอาชญากรเหล่านั้นทำให้จำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียง จำเลยย่อมมีสิทธิตอบโต้โดยสุจริต เพื่อให้การกระทำดังกล่าวของโจทก์ไร้ผล ไม่มีคนเชื่อ ดังนั้น การที่จำเลยกล่าวต่อหน้าสาธารณชนว่า "โจทก์เป็นบรรณาธิการ จิตใจต่ำช้ามาก จิตใจเลวทรามต่ำช้ามาก .......ไอ้คนปัญญาทรามอย่างนี้ผมไม่มีวันไปร่วมด้วย" ย่อมทำให้ผู้ที่ได้รับฟังไม่เลื่อมใสโจทก์ อันมีผลทำให้ผลร้ายที่จำเลยได้รับจากการกระทำของโจทก์ลดน้อยถอยลง เป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนโดยสุจริตตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1077/2504)
ถ้าท่านแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต มิได้มีเจตนาร้ายต่อผู้อื่น ท่านก็ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทครับ
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การที่นาย ก.ฉ้อโกงข้าพเจ้าโดยข้าพเจ้าได้ซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตแล้วได้โอนเงินชำระค่าสินค้าให้นาย ก. แต่นาย ก.ไม่จัดส่งสินค้ามาให้ แล้วข้าพเจ้าได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับนาย ก. จนนาย ก.ตกเป็นผู้ต้องหาคดีฉ้อโกง

คำถาม

1.ถ้าข้าพเจ้าส่งข้อความจดหมายอิเล็คทรอนิคไปหาคู่ค้าทางธุรกิจกับนาย ก. เพื่อแจ้งว่านาย ก.เป็นผู้ต้องหาคดีฉ้อโกง

2.ถ้าข้าพเจ้าโพสในอินเตอร์เน็ตเพื่อแจ้งในสาธารณะเตือนว่านาย ก.เป็นผู้ต้องหาคดีฉ้อโกง

ทั้ง 2 กรณีข้าพเจ้าจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ครับ

ขอบคุณอย่างสูงครับ

โดยคุณ ฉัตต์พงค์ หมีไพร 23 ต.ค. 2562, 10:21

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก