เทคนิคการเลิกสัญญากับคู่ค้า|เทคนิคการเลิกสัญญากับคู่ค้า

เทคนิคการเลิกสัญญากับคู่ค้า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เทคนิคการเลิกสัญญากับคู่ค้า

ผู้อ่านหลายท่านขอให้ผมเขียนบทความเกี่ยวกับเทคนิคการเลิกสัญญากับคู่ค้าว่า ควรจะทำอย่างไร

บทความวันที่ 11 เม.ย. 2560, 11:06

มีผู้อ่านทั้งหมด 11404 ครั้ง


เทคนิคการเลิกสัญญากับคู่ค้า
    ผู้อ่านหลายท่านขอให้ผมเขียนบทความเกี่ยวกับเทคนิคการเลิกสัญญากับคู่ค้าว่า ควรจะทำอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด ตามกฎหมายแล้วการเลิกสัญญามี 3 แบบคือ
    แบบแรก  เลิกโดยอาศัยข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้ แต่คู่สัญญาผิดสัญญาจึงบอกเลิกสัญญา
    แบบที่สอง เลิกสัญญาโดยไม่ได้อาศัยข้อตกลงในสัญญาแต่อาศัยบทบัญญัติของกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387-มาตรา 389
    แบบที่สาม เลิกสัญญาโดยคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันหรือโดยปริยาย
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลิกสัญญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    มาตรา 387 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้
    มาตรา 388 ถ้าวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญานั้น ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดก็ดี หรือภายในระยะเวลาอันใดอันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ก็ดี และกำหนดเวลาหรือระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ชำระหนี้ไซร้ ท่านว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ มิพักต้องบอกกล่าวดังว่าไว้ในมาตราก่อนนั้นเลย
    มาตรา 389  ถ้าการชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้ได้ไซร้ เจ้าหนี้จะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้
ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับการเลิกสัญญาโดยอาศัยข้อสัญญา
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543
    แม้ในสัญญาระบุว่า หากโจทก์จะเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลย 6 เดือน  ข้อสัญญาดังกล่าวนำมาใช้เฉพาะการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาเท่านั้น ไม่นำมาใช้กับการเลิกสัญญาโดยผลของกฎหมายตามมาตรา 387-389 ดังนั้น หากมีเหตุเลิกสัญญาตาม มาตรา 387-389 โจทก์ก็ไม่จำต้องบอกล่วงหน้า 6 เดือน
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542
    เมื่อการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญามีผลแล้ว จะบอกถอนการแสดงเจตนาอีกไม่ได้
ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับการเลิกสัญญาโดยผลของกฎหมาย
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2500
    เมื่อผู้เช่าและผู้ให้เช่าเรือนและบริเวณตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ผู้ให้เช่าอนุญาตให้ผู้เช่าทำการเช่าช่วงได้แต่เมื่อผู้เช่าให้ผู้ใดเช่าช่วงแล้วต้องบอกกล่าวให้ผู้ให้เช่าทราบทุกคราวไปที่มีการเช่าช่วง เช่นนี้แม้เมื่อผู้เช่าให้เช่าช่วงไปแล้วจะมิได้บอกกล่าวให้ผู้ให้เช่าทราบก็ยังถือว่าผู้เช่าไม่ผิดสัญญา เพราะการที่ไม่บอกนั้นไม่เป็นสาระสำคัญถึงกับจะทำให้สัญญาเช่าเสียไปอย่างใด
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2538
    การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ตกลงยินยอมให้ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ตกลงกันเดิมมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงอันจะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จำเลยก่อสร้างบ้านของโจทก์มีส่วนสูงน้อยกว่าที่กำหนดไว้ประมาณ.16ถึง.18เมตรแต่เมื่อไม่กระทบถึงความคงทนของตัวบ้านก็หาทำให้บ้านเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ไม่จึงมิใช่การผิดสัญญาในข้อสำคัญถึงขนาดโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดก็มีเพียง สิทธิเรียกร้องให้จำเลย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเท่านั้น
ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับการเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7175/2554 
    โจทก์ไม่ชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยตามสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่โจทก์กลับมาเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยและให้จำเลยคืนเงินที่รับไปแล้ว ส่วนจำเลยขอใช้สิทธิริบมัดจำตามข้อสัญญา ถือเป็นการตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8188/2554
    การสมัครใจตกลงกันเลิกสัญญา หรือเลิกสัญญากันโดยปริยาย โดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาจะไม่นำผลการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 วรรคท้าย มาใช้บังคับ จึงเรียกร้องมัดจำ เบี้ยปรับหรือค่าเสียหายกันไม่ได้ คงนำแต่เฉพาะการกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งถึงวรรคสามมาใช้เท่านั้น
    ดังนั้น คู่สัญญาจะเลิกสัญญาแบบสมัครใจหรืออาศัยข้อสัญญาหรือข้อกฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดตนเองได้ประโยชน์สูงสุด ก็เลือกแบบนั้นนะครับ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก