การอายัดบัญชีของพนักงานสอบสวนทำได้หรือไม่|การอายัดบัญชีของพนักงานสอบสวนทำได้หรือไม่

การอายัดบัญชีของพนักงานสอบสวนทำได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การอายัดบัญชีของพนักงานสอบสวนทำได้หรือไม่

การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. ปรากฏว่า

บทความวันที่ 2 ม.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 20960 ครั้ง


การอายัดบัญชีของพนักงานสอบสวนทำได้หรือไม่


    การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. ปรากฏว่า พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้มีการอายัดบัญชีเงินฝากของแกนนำการชุมนุมจำนวนหลายคนและหลายบัญชี พี่น้องประชาชนสอบถามมาว่า พนักงานสอบสวนมีสิทธิ มีอำนาจหน้าที่ในการอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของผู้ต้องหาหรือผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือไม่อย่างไร  และถ้ามีสิทธิจะทำได้เพียงใด ทนายคลายทุกข์ได้ไปค้นคว้าคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับเรื่องการอายัดบัญชีเงินฝากของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งการอายัดทรัพย์สินต่าง ๆ ของผู้ต้องหา ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังต่อไปนี้
            1.การอายัดบัญชีเงินฝากของผู้ต้องหา สามารถกระทำได้ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกกล่าวหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7528/2552
            พนักงานสอบสวนอายัดเงินฝากของผู้ต้องหาได้ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13537/2553

            จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำการสืบสวนคดีอาญา เมื่อสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดแล้วว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันเถื่อน จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจกล่าวโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (8) 17, 18, 125 และ 127 และเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสืบสวนสอบสวนของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121,130 และ 131 ซึ่งลักษณะความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินที่กล่าวหา บัญชีเงินฝากของโจทก์ย่อมเป็นหลักฐานอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างหนึ่งที่อาจพิสูจน์ให้เห็นความผิดตามที่กล่าวหาได้ จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจยึดหรืออายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ไว้ตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม และ 132 อันเป็นการดำเนินการทางอาญาในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินตามอำนาจหน้าที่ของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ
             การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร โดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมมีอำนาจหน้าที่โดยตรง เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
              เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174
             2. ยึดไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบคดีเพื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิด เพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนยึดรถของกลางไว้เป็นหลักฐานประกอบคดีได้
             3. ยึดรถยนต์ขนส่งไม่ประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต รถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิด เพื่อที่จะรู้ตัวผู้ร่วมกระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจที่จะยึดไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ไม่ใช่เป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อ.มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2528
            การดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 นั้นรถยนต์ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้ร่วมกระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดพนักงานสอบสวนมีอำนาจที่จะยึดรถยนต์ของกลางไว้เป็นพยานหลักฐานประกอบคดีได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ประกอบกับมาตรา 85
            4.    ยึดใบอนุญาตเดินเรือในกรณีเดินเรือ ยึดใบอนุญาตได้
            5.    การอายัดบัญชีโดยสุจริตของพนักงานสอบสวนและยึดไว้ไม่เกินเวลาอันสมควรแล้วก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2486
           พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดใบอนุญาตเรือยนต์เพื่อการสอบสวนในกรณีที่หาว่าคนเรือทำผิดกฎหมายได้ ถ้าไม่เป็นการเกินสมควรและทำโดยสุจริตแล้วไม่เป็นละเมิด ใบอนุญาตเรือยนต์ที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ ย่อมเป็นพยานหลักฐานตามความหมายของ มาตรา 131 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
             6. ยึดไม้สักท่อน ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543
            แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 64 บัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไว้ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวน ตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ก่อนมี การสอบสวนเท่านั้นไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ด้วย จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนแต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม มิได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดด้วยไม่ โดยขั้นตอนต่อไปในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมต้องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือ ตรวจค้นยึดได้นั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ ก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป กรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้ ส่วนข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจในขณะนั้นกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้ เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับ ของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลาง ที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและ ดำเนินการ ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการ ปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและ สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แม้กฎหมายและระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการ มีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาล มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดี ไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวน จึงเป็น การกระทำการแทนพนักงานสอบสวน กรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล ไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ ขอมาใช้บังคับได้
ตัวบทกฎหมายอ้างอิงเกี่ยวกับการอายัดเงินฝากของผู้ต้องหาหรือยึดหรืออายัดทรัพย์สินในระหว่างการสอบสวน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2
  ในประมวลกฎหมายนี้
(2) “ผู้ต้องหา” หมายความถึงบุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
(11) “การสอบสวน” หมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้  ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา  เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
มาตรา 131  ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา
ทางแก้ของผู้ต้องหาในกรณีถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สิน โดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเป็นหรือมีเหตุอันสมควรกรณีถูกอายัดบัญชี ผู้ต้องหาหรือผู้ที่ถูกอายัดบัญชีมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนในการให้ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับเงินเข้าออกในบัญชีของตนเองว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้กระทำความผิดคนอื่นและเงินเข้าออกมีแหล่งที่มาที่ไปโดยชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนก็สามารถจะเพิกถอนการอายัดเงินในบัญชีได้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ตำรวจสั่งธนาคารล็อกบัญชีธนาคารของเราไว้เพื่อตรวจสอบ  หาอะไรอยากรู้ 
โดยคุณ โอวัลติน 25 ก.ค. 2560, 18:40

ความคิดเห็นที่ 1

Hello, Am Daniel smith, a private loan lender i give out loan to those that are in need of loan, and Those that want to start a new business.I give out Personal Loans, Business Loans, Student Loans and Company Loans.

Full Name:
Sex:
State:
Country:
Occupation:
Monthly Income:
Amount Needed:
Duration:
Phone Number +

[email protected]

โดยคุณ daniel smith 7 ม.ค. 2557, 00:14

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก