งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
การขโมยสินค้าภายในห้าง
ปัจจุบันมีการขโมยสินค้าตามห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ เช่น โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟู โฮมโปร เซเว่นอีเลฟเว่น เป็นจำนวนมาก และนับวันจะมีคดีเพิ่มขึ้นทุกวัน ยากในการป้องกันและปราบปราม เนื่องจากคนที่ขโมยสินค้ามีทั้งที่เป็นพนักงานภายในองค์กร ที่ทรยศต่อความไว้วางใจของนายจ้าง ร่วมมือกับกลุ่มมิจฉาชีพภายนอก อีกส่วนหนึ่งเป็นพวกมิจฉาชีพภายนอกที่มีการเตรียมการวางแผนมาอย่างดี ผมในฐานะวิทยากรฝึกอบรม หลักสูตรป้องกันและปราบปรามการทุจริตภายในองค์กรของภาครัฐและเอกชน จึงขอนำตัวอย่างของการขโมยสินค้าและแนวทางป้องกันและแก้ไขมานำเสนอท่านผู้อ่านเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. การรู้กลไกและระบบการป้องกันของห้าง มิจฉาชีพและพนักงานของห้างรู้กลไก
ระบบการป้องกันของห้าง เช่น ระบบการจัดวางสินค้า การติดบาร์โค้ด มุมกล้อง วิธีการตรวจสอบว่าห้างใช้วิธีการอย่างไร ตรวจสอบวันละกี่ครั้ง มีช่องว่างอะไรบ้าง ก็จะหาประโยชน์จากการที่ตัวเองรู้กลไกและระบบการป้องกันของห้าง
ทางแก้ ต้องปิดจุดอ่อนที่เป็นช่องว่างให้คนร้ายไม่สามารถขโมยสินค้าได้ ทำให้การขโมยช้าลง ทำให้ยากขึ้น ต้องเรียกพนักงานถ้าต้องการซื้อสินค้า หรือติดอุปกรณ์ป้องกันเช่น ใช้กุญแจหรือแถบแม่เหล็ก
2. ใช้บัตรของห้างซึ่งเป็นบัตรสะสมแต้มหาประโยชน์ส่วนตัว ใช้ช่องว่างเกี่ยวกับ
โปรโมชั่นทางการตลาด คีย์ข้อมูลใส่ชื่อตนเองเป็นผู้ซื้อสินค้า ทำให้ตัวเองได้ประโยชน์จากการสะสมแต้มและนำไปแลกสินค้าเพื่อประโยชน์ของตนเองโดยทุจริต
ทางแก้ จะต้องออกข้อบังคับหรือกฎระเบียบยกเลิกไม่ให้พนักงานมีบัตรสะสมแต้ม แต่พนักงานก็อาจใช้ชื่อเพื่อนสะสมแต้มแทน ฝ่ายตรวจสอบก็จะต้องมีความเข้มงวดในการตรวจสอบข้อมูลการซื้อสินค้าภายในห้างให้มีความถี่มากขึ้น เพื่อตัดวงจรในการทุจริต
3. ขโมยสินค้าที่พกพาง่าย
ทางแก้ จัดมุมกล้องให้ครอบคลุมบริเวณสินค้าที่หายบ่อย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบเฝ้าระวัง ในห้องคอนโทรลต้องไม่หลับหรือมัวแต่นั่งโทรศัพท์มือถือหรือเล่นเกมส์ นอกจากนี้ต้องมีกฎระเบียบห้ามถือถุงหรือกระเป๋าเข้ามาภายในบริเวณที่วางสินค้า และให้สังเกตบุคคลที่ใส่เสื้อคลุม แจคเก็ต สำหรับผู้ชาย หรือถ้าเป็นผู้หญิงก็ให้สังเกตคนที่ใส่ชุดคลุมท้อง อาจจะไม่ได้ตั้งครรภ์ก็ได้ รวมทั้งพวกที่มาเป็นกลุ่ม อาจมีลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ
4. เปลี่ยนป้ายราคาสินค้า พวกนี้จะมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าเป็นอย่างดีว่า มีราคา
เท่าใดอย่างไร ลักษณะภาชนะ หีบ ห่อ เป็นอย่างไร วิธีการเปลี่ยนป้ายไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่หยิบสินค้าทั้ง 2 ชนิดมารวมไว้ในรถเข็น หลังจากนั้นก็เปลี่ยนป้ายสินค้าสลับกัน แค่นี้ก็จบแล้ว และไม่น่าสงสัยด้วย
ทางแก้ ต้องหามาตรการทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนป้ายสินค้าได้ รวมทั้งต้องฝึกแคชเชียร์ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เกี่ยวกับสินค้าที่หายบ่อย โดยให้เปรียบเทียบกับ price list หลังจากที่ยิงบาร์โค้ดว่าราคาสินค้าสอดคล้องกับ price list ของราคาสินค้าหรือไม่(การเปลี่ยนป้ายสินค้า มีความผิดฐานฉ้อโกง)
5. เปลี่ยนสินค้าในลังบรรจุสินค้า มิจฉาชีพประเภทนี้จะเปลี่ยนสินค้าภายในลัง เช่น
ยกลังน้ำปลามาพร้อมกับเหล้านอก และแกะเอาเหล้านอกใส่ลงในลังน้ำปลาพร้อมทั้งปิดให้เหมือนเดิม
ทางแก้ ลังสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ ต้องออกแบบให้ป้องกันการเปลี่ยนสินค้า (การเปลี่ยนสินค้าในลัง มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย)
6. เปลี่ยนสินค้าในกล่องกระดาษใส่สินค้า มิจฉาชีพก็จะเลือกกล่องกระดาษของ
สินค้าที่ใกล้เคียงกัน และเปิดกล่องกระดาษและเปลี่ยนสินค้า
ทางแก้ ก็ต้องป้องกันเกี่ยวกับเรื่องบรรจุภัณฑ์เช่นเดียวกัน (มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย)
7. สมัครงานเข้าเป็นลูกจ้างของห้างสรรพสินค้าในตำแหน่งแคชเชียร์และร่วมกับ
พวกขโมยสินค้าในห้าง
ทางแก้ ขั้นตอนการรับสมัคร จะต้องมีการตรวจสอบเกี่ยวกับประวัติโดยเฉพาะความประพฤติในทางเสื่อมเสีย การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ก่อนหน้านั้นอย่างละเอียด รวมทั้งต้องมีผู้รับรองหลายคนในการเข้าทำงาน พนักงานเข้าใหม่ต้องคอยหมั่นตรวจสอบอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอเพื่อติดตามพฤติกรรมอันเป็นการป้องปรามมิให้กระทำความผิด
8.พฤติกรรมของพนักงานห้างหรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในการขโมยสินค้าที่เจ้าของกิจการจะต้องจับตามองเป็นพิเศษ มีดังต่อไปนี้
1. ติดการพนัน
2. มีประวัติในอดีตในทางเสื่อมเสีย
3. มีปัญหาครอบครัว
4. เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
5. ไม่เคร่งครัดในระเบียบวินัย
6. ทำงานผิดพลาดบ่อย
7. ขาดงานบ่อย
8. ขยันเกินเหตุ ไม่ขาดงาน
9. ร่ำรวยผิดปกติ
10. มีพฤติกรรมเลี้ยงดูปูเสื่อเพื่อนร่วมงาน
11. มีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว
12. เป็นคนฟุ้งเฟ้อ
สุดท้ายนี้หวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน
การขโมยสินค้าได้