ผู้จัดการมรดก สามารถขายทรัพย์ให้ตนเองได้หรือไม่|ผู้จัดการมรดก สามารถขายทรัพย์ให้ตนเองได้หรือไม่

ผู้จัดการมรดก สามารถขายทรัพย์ให้ตนเองได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้จัดการมรดก สามารถขายทรัพย์ให้ตนเองได้หรือไม่

ผมอยู่กินกับภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร 1 คน

บทความวันที่ 17 ส.ค. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 12874 ครั้ง


ผู้จัดการมรดก สามารถขายทรัพย์ให้ตนเองได้หรือไม่

    
         1.ผมอยู่กินกับภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร 1 คน
         2.ได้ร่วมกันกู้(กู้ร่วม) เพื่อซื้อบ้าน(ที่อยู่ปัจจุบัน)
         3.ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ผมร้องศาลเป็นผู้จัดการมรดก ศาลมีคำสั่งให้ผมเป็นผู้จัดการมรดก
         4.ต่อมาผมจะรีไฟแนนซ์บ้านทำเรื่องกู้อนุมัติแล้ว
         5.เมื่อถึงวันนัดไถ่ถอน และจดจำนอง ปรากฏว่าสำนักงานที่ดินแจ้งว่าดำเนินการไม่ได้เพราะผู้จัดการจะขายทรัพย์ที่เป็นมรดกให้ตนเองไม่ได้  โดยแนะนำว่าให้ร้องศาลขอเปลี่ยนแปลงผู้จัดการมรดกเป็นแม่ของภรรยา แล้วให้แม่ขายต่อให้ผม  ถามว่ากรณีนี้ ซึ่งผมเป็นเจ้าของทรัพย์กึ่งหนึ่ง และอีกกึ่งหนึ่งเป็นของทายาท(พ่อ แม่ภรรยา และบุตร ซึ่งศาลสั่งให้ผมป็นผู้ปกครอง) จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างครับ หากไม่ต้องร้องศาลขอเปลี่ยนผู้จัดการมรดก เนื่องจากเกรงว่าเวลาจะนานเกินกว่าทางธนาคารใหม่จะรับได้เรื่องการกู้เงิน


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
          กรณีตามปัญหาของท่านดังกล่าว ท่านในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกจะกระทำนิติกรรมดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เพราะนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง อันเป็นทรัพย์มรดกในส่วนของภริยาเจ้ามรดก เป็นการทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฎิปักษ์ต่อกองมรดก ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1722

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก