งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ถอนเงินที่ถูกอายัด
สามีและดิฉันมีคดีความกับธนาคารแห่งหนึ่งค่ะ แล้วทีนี้ดิฉันจะไปถอนเงินออกจากการที่ฝากธ.นั้นไว้ แต่ธ.แจ้งว่าไม่สามารถถอนได้เพราะถูกอายัด แต่เมื่อดิฉันไปดูรายการที่ทางธนาคาร ร้องต่อศาลให้อายัดทรัพย์สินของดิฉัน และสามีไม่มีรายการที่เป็นตัวเงินฝากของดิฉันเลย แล้วธนาคารมีสิทธิที่จะไม่ให้ดิฉันถอนเงินได้ด้วยหรอค่ะ แล้วอย่างงี้ดิฉันควรจะไปแจ้งความหรือฟ้องศาลแพ่งไหมค่ะ (ทางคดีอาญาศาลให้ดิฉันยกฟ้องค่ะ)
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
กรณีตามปัญหาของท่านและสามี ซึ่งมีคดีความข้อพิพาททางแพ่งกับธนาคารคู่กรณี ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนการพิจารณา โดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎชัดว่าฝ่ายใดเป็นโจทก์เป็นจำเลย แต่ตามพฤติการณ์ได้ความว่าธนาคารยื่นคำร้องต่อศาลขอให้อายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องของท่านและสามีไว้ในระหว่างพิจารณา หากธนาคารเป็นโจทก์ ย่อมเป็นการที่ธนาคารยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254(1), 255 (1) และเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของท่านและสามี ซึ่งเป็นจำเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษาแล้ว คำสั่งดังกล่าวย่อมบังคับแก่จำเลยได้ทันที ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 258 วรรค 1 ธนาคารจึงย่อมมีสิทธิอายัดเงินฝากของท่านและสามีได้ทันทีโดยการปฏิเสธการถอนนั้น ดังนั้น เมื่อคำสั่งของศาลดังกล่าวเป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณา ท่านและสามีย่อมมีสิทธิอุทธรณ์เพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์เพื่อถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษานั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันมีคำสั่ง หรือภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 (2) และวรรคท้าย