เสียชีวิตก่อนเลิกจ้าง จะได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา118 หรือไม่|เสียชีวิตก่อนเลิกจ้าง จะได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา118 หรือไม่

เสียชีวิตก่อนเลิกจ้าง จะได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา118 หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เสียชีวิตก่อนเลิกจ้าง จะได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา118 หรือไม่

กรณีทำงาน บริษัทเอกชน ทำงานได้15 ปี เกิดเสียชีวิตตอนอายุ 40 ปี

บทความวันที่ 16 พ.ย. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 8086 ครั้ง


เสียชีวิตก่อนเลิกจ้าง จะได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา118 หรือไม่

           กรณีทำงาน บริษัทเอกชน ทำงานได้15 ปี เกิดเสียชีวิตตอนอายุ 40 ปี ตามกฎหมายแรงงานทายาทมีสิทธิ์ ได้ร้บเงินชดเชยหรือไม่ และก.ม แรงงานกำหนดอายุ เกษียนหรือไม่(บ.เอกชน)

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
            ได้ครับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118  กำหนดว่าทำงานตามกำหนด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ได้กำหนดเรื่องของความตาย ส่วนอายุเกษียณราชการอยู่ที่ 60 ปี บริษัทเอกชนอยู่ที่ระเบียบของแต่ละบริษัท

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 118
  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

กรณีเส้นเลือดแตกในสมองในการออกไปทำงานที่บริษัทลูกค้า พนักงานไม่ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทจะทำอย่างไร

โดยคุณ chaleaw 11 พ.ย. 2559, 16:09

ความคิดเห็นที่ 3

 อ. บอกว่า เสียชีวิตนอกงาน มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา  118  เหมือนกับการเลิกจ้าง

อันนี้ผมว่าจะเข้าใจผิดนะครับ  การเสียชีวิตไม่ใช่การเลิกจ้าง ตาม พรบ.แรงงานฯ

โดยคุณ นนท์ 24 เม.ย. 2557, 13:20

ความคิดเห็นที่ 2

คุณพ่อผมเกิดอาการเส้นเลือดสมองแตกในขณะเตรียมตัวไปทำงานพอไปถึงโรงพยาบาลก็เสียชีวิต ตอนนี้ทางนายจ้างยืนยันว่าจะไม่ชดเชยใดๆทั้งสิ้น เหตุการณ์แบบนี้ตาม พรบ.มาตรา 118 สามารถหาทางเรียกร้องทางไหนได้บ้างครับ

โดยคุณ ณรงค์ชัย บัวผัน (สมาชิก) 4 ก.พ. 2554, 13:25

ความคิดเห็นที่ 1

หากเสียชีวิต ไม่ใช่การเลิกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย แค่ทายาทสามารถเรียกร้องเอาจากสำนักงานประกันสังคม จากกองทุนประกันสังคม กรณีเสียชีวิตธรรมดา หรือจากกองทุนเงินทดแทนในกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน

โดยคุณ ทนายจัน 17 พ.ย. 2553, 11:44

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก