ไม่ต้องการทำงานกับนายจ้างใหม่|ไม่ต้องการทำงานกับนายจ้างใหม่

ไม่ต้องการทำงานกับนายจ้างใหม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ไม่ต้องการทำงานกับนายจ้างใหม่

กรณีนายจ้างปล่อยให้เช่าโรงแรม

บทความวันที่ 7 พ.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 7167 ครั้ง


ไม่ต้องการทำงานกับนายจ้างใหม่


          กรณีนายจ้างปล่อยให้เช่าโรงแรมในใบสัญญาผู้เช่าใหม่ต้องดูแลพนักงานเก่าด้วย นายจ้างคนเก่าก็บอกเราว่าให้อยู่กับนายจ้าใไหม่ไป เพราะเขายังจ้างเราอยู่ แต่พวกเราไม่อยากอยู่กับนายจ้างใหม่ พวกเราทำงานกับนายจ้างเก่ามา 3 ปีแล้ว ส่วนนายจ้างเก่าก็ไม่พูดอะไร มีแต่บอกว่าไห้ทำกับนายจ้างไหม่ไป เค้าไม่ได้ชดเชยอะไรให้เราเลย กรณีอย่างนี้ เราจะเรียกร้องสิทธิอะไรได้มั้ยค่ะ คือถ้าพวกเราจะไม่ทำงานกับนายจ้างใหม่ เขาต้องจ่ายค่าชดเชยให้เราไหม  


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
          ในกรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากการโอนหรือด้วยประการอื่นใด สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใด ลูกจ้างย่อมมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 13 ดังนั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างซึ่งนายจ้างใหม่รับโอนไปแล้วจากนายจ้างเดิม ลูกจ้างก็ไม่อาจอาศัยสิทธิที่จะเรียกร้องให้นายจ้างเดิมรับผิดชดเชยค่าเสียหายใดๆอีกเมื่อตนไม่สมัครใจทำงานกับนายจ้างใหม่นั้น


ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 13 
ในกรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากการโอน รับมรดกหรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใดให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ขอสอบถามหน่อยครับ ผมทำงานที่ บ.ประกันภัยแห่งหนึ่ง มี่หน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุ พื้นที่ดูและที่ จ.สมุทรปราการ ซึ่งทาง บ.ที่ผมอยู่เป็นที่ผมมีชื่ออยู่เป็น บ.ลูกของ บ.ประกันภัย ดังกล่าว ทำงานมา9ปี. ต่อมาได้มีการขาย บ.แม่ไปให้บุคลใหม่และบ.ลูกที่ผมอยู่นันมิได้ขายไปด้วย ทาง เมื่องกลางเดือน พค.ที่ผ่านมา ผจก.สินไหม ของ บ.แม่ก็เรียกประชุมแจ้งว่าสิ้นเดือนหน้า บ.แม่จะไม่จ้าง บ.ลูกทำงานต่อ ดังนั้น สินเดือนหน้า พนง.จะไม่ได้เงินเดือนและบอกให้เซ็นใบลาออกจาก บ.ลูกก่อน เพื่อมาสมัครกับ บ.ใหม่ที่เปิดลองรับไว้โดยไม่มีการโอนสิทธิใดเริ่มนับหนึ่งใหม่หมดซึ่งพนักงานที่ เซ็นใบลาออกก็จะได้ทำงานต่อจากเดิมได้เลยจึงมี พนง.เซ็นลาออกกันเกือบหมดเหลือผมกับเพื่อน 2 คนที่ไม่เซ็นลาออก ทางฝ่ายบุคคลได้แจ้งว่าให้ผมเดินทางไปออฟฟิตเพื่อรายงานตัวทุกวันเพื่อจะบีบให้ผมลาออก เพราะโดยปกติ งานผมจะวิ่งตรวจสอบอุบัติเหตุที่ ปากนำ้ แต่ให้ผมไปรัชดาทุกวัน (ทั้ง บ.แม่และ บ.ลูก ใช้พนักงานออฟฟิตเดียวกันทุกอย่าที่เดียวกัน หน.ที่ดูแล ก็เป็นของ บ.แม่มาโดยตลอด เช่นนี้ ผมสามารถทำอะไรได้บ้างเพราะเข้าบอกไม่เลิกจ้างและจะจ่ายให้เฉพาะเงินเดือนโดยตัดสิทธิเงินพิเศษต่างๆหมดและทาง บ.คงไม่มีงานในหน้าที่เดิมให้ทำอีกเพราะทั้ง บ.เหลือ 2 คนเท่านั้น ผมควรทำอย่าไรได้บ้างครับ ตอนนี้ลำบากมาก ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นพฤติการเลิกจ้างได้หรือไม่เพราะต้อนแลกทาง หน.งานได้รับมอบหมายให้มาแจ้งผวกผมให้เซ็นลาออกก่อนหน้านี้แล้ว ช่วยแนะนำหน่อยครับเดือดร้อนมาก
โดยคุณ ธเนศ รุธกาญจน์ 11 มิ.ย. 2562, 07:44

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ลองร้องเรียนไปที่กรมคุ้มครองแรงงานดูก่อนนะครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 27 มิ.ย. 2562, 10:44

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก