กฎหมายไทยใช้ในลาวได้หรือไม่|กฎหมายไทยใช้ในลาวได้หรือไม่

กฎหมายไทยใช้ในลาวได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กฎหมายไทยใช้ในลาวได้หรือไม่

ทำงานที่คลินิคไทยมาเปิดสาขาใหม่ประเทศลาวค่ะ

บทความวันที่ 6 พ.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 7963 ครั้ง


กฎหมายไทยใช้ในลาวได้หรือไม่

   
           ทำงานที่คลินิคไทยมาเปิดสาขาใหม่ประเทศลาวค่ะ โดยตอนเซ็นสัญญาและตามที่ตกลงคือยึดกฎหมายไทย รวมทั้งเวลาการทำงานด้วย หากเกินกว่า 8 ชั่วโมงของการทำงาน (ไม่นับรวมเวลาพักซึ่งคือ 1 ชั่วโมง) จะต้องเป็นค่าล่วงเวลา (OT) แต่ ณ เวลาที่ตกลงดังกล่าวบริษัทแจ้งว่ายังไม่สามารถระบุเวลาเปิด-ปิดได้ เนื่องจากขอไปดูสถานที่จริงและประเมินการเข้าใช้บริการของลูกค้าก่อน
          เมื่อมาทำงานจริง เวลาเปิด-ปิดของคลินิคคือ 09.00-20.30 น. ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วัน (คือ 1 เดือน หยุดได้ 4 วัน) ต้องการสอบถาม ขอคำแนะนำว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายแรงงาน และสามารถดำเนินคดีทางกฎหมายได้หรือไม่ เพื่อจะขอรวบรวมเอกสารและดำเนินการต่อไปค่ะ


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์

         ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างต้องประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบโดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันได้ เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงตามความมาตรา 23 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังนั้น ถ้านายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว ลูกจ้างสามารถร้องเรียนไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก