พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ มีความผิดตามมาตรา 157|พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ มีความผิดตามมาตรา 157

พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ มีความผิดตามมาตรา 157

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ มีความผิดตามมาตรา 157

พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ มีความผิดตามมาตรา 157

บทความวันที่ 10 ก.ย. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 15701 ครั้ง


พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ มีความผิดตามมาตรา 157

            ท่านผู้อ่านหลายท่านสอบถามมา กรณีไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และปฏิเสธคำร้องทุกข์ ปัจจุบันมีคำพิพากษาของศาลฎีกาวางบรรทัดฐานว่า มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2531, 7630/2549 นอกจากนี้ ตำรวจไม่ยอมจับคนร้าย ทั้งที่ชี้ให้จับแล้ว มีความผิดตามมาตรา 157 เช่นกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2527 สายสืบของตำรวจขอเงินค่าสืบจับจากผู้เสียหาย ในขณะที่ยังไม่แจ้งความ ไม่ผิดมาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2531
            การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้รับแจ้งความจาก ช. ว่ามีคนร้ายลักเรือและเครื่องยนต์ของผู้เสียหายไป แต่ไม่ยอมลงรับแจ้งความในประจำวันเป็นหลักฐานและเมื่อจับคนร้ายที่ลักทรัพย์ดังกล่าวแล้ว จำเลยกลับปล่อยตัวคนร้ายไปเสีย ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และยังเป็นการกระทำการในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยคนร้ายมิให้ต้องโทษตามมาตรา 200 วรรคแรก การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 157ซึ่งเป็นบทหนัก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2549
             โจทก์เมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน และโจทก์ได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว ทำให้คดีอาญาที่โจทก์ถูกกล่าวหาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 (2) แต่เมื่อโจทก์กล่าวหาต่อจำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนว่าจ่าสิบตำรวจ ป. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยมีเจตนาจะให้จ่าสิบตำรวจ ป. ได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามมาตรา 2 (7) และเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าว จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไว้เพื่อดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไป การที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ในข้อหาทำร้ายร่างกาย อ้างเพียงว่าคดีเลิกกันแล้วโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ จึงเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2527
            จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในกรณีที่มีผู้กระทำผิดซึ่งหน้าแม้ในที่รโหฐานจำเลยก็มีอำนาจจับโดยไม่ต้องมีทั้งหมายจับและหมายค้นดังนั้นการที่จำเลยเข้าไปในห้องเล่นการพนันพบผู้เล่นกำลังเล่นพนันเอาทรัพย์สินกันแล้วไม่ทำการจับกุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการกรมตำรวจจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 157
  ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 ถ้าผมถูกขู่จะทำร้าย หรือหาเรื่องกับผมทั้งที่ผมไม่ได้ทำอะไรเลย อย่างนี้ผมควรทำอย่างไรถึงจะมีความปลอดภัย

โดยคุณ กฤศ 26 ต.ค. 2558, 17:48

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก