คำพิพากษาเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและสหกรณ์|คำพิพากษาเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและสหกรณ์

คำพิพากษาเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและสหกรณ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและสหกรณ์

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2526 โจทก์ในฐานะตัวการฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 3 ได้ให้จำเลยที่1

บทความวันที่ 12 เม.ย. 2560, 15:18

มีผู้อ่านทั้งหมด 13906 ครั้ง


คำพิพากษาเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและสหกรณ์

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2526
    โจทก์ในฐานะตัวการฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 3 ได้ให้จำเลยที่1 กู้เงินไปโดยปราศจากอำนาจหรือนอกขอบอำนาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่อาจบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าโจทก์ได้ดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ได้รายงานให้ทราบทุกเดือนโจทก์ไม่เคยทักท้วง จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดไม่ได้ เพราะข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกฟ้องให้ตัวการรับผิดในการกระทำของตัวแทนซึ่งเป็นคนละกรณีกับตัวการฟ้องตัวแทนให้รับผิดต่อตัวการ

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2531
    จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์อนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยผิดระเบียบหลายราย แต่โจทก์ก็ได้ติดตามทวงถามจนได้รับชำระหนี้ครบถ้วนคงเหลือเพียง 2 ราย ในการอนุมัติดังกล่าวจำเลยได้รายงานให้สำนักงานใหญ่ทราบทุกครั้งเป็นวัน ๆ ไป โจทก์หาได้ทักท้วงเป็นกิจจะลักษณะหรือดำเนินการลงโทษจำเลยทางวินัยไม่ กลับยอมรับเอาดอกเบี้ยอันเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการกระทำของจำเลยมาตลอด แสดงว่าโจทก์เต็มใจยอมรับเอาผลเสียหายอันอาจเกิดแก่โจทก์ในอนาคต ไม่ได้ถือเอาการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างจริงจังจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญาตัวแทนโดยการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยไม่ได้

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2512
    จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโดยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ ได้ขายมะพร้าวเชื่อให้ ป. และ ส. ไปโดยมิได้ให้ผู้ซื้อทำหลักฐานการซื้อไว้ และขายมะพร้าวเชื่อให้ ต.และง.เกินอำนาจผู้จัดการสาขาที่จะให้ผู้ซื้อซื้อเชื่อได้ จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ในเรื่องการค้ามะพร้าว ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 ข้อที่โจทก์เคยฟ้องเรียกหนี้ค่าซื้อเชื่อมะพร้าว แล้วถอนฟ้อง เหตุที่โจทก์จำต้องถอนฟ้องก็เพราะจำเลยมิได้ทำหลักฐานการซื้อเชื่อไว้และยังปล่อยให้หนี้ขาดอายุความ จำเลยจึงยังต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้น เพราะโจทก์ไม่มีทางรับชำระหนี้อีกต่อไป
    จำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ขายมะพร้าวเชื่อให้ พ.เกินอำนาจของจำเลย โจทก์ฟ้อง พ. เรียกให้ชำระหนี้ค่าซื้อมะพร้าวจนโจทก์ชนะคดีไปแล้ว แต่บังคับคดีไม่ได้ เพราะ พ. หลบหนีไป โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยอีกไม่ได้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์หมดไป โดยการที่โจทก์บังอาจบังคับคดีเอาจาก พ. ลูกหนี้ได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในกรณีนี้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20-22/2512)

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2532
    จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ได้ทำหนังสือสัญญาและไม่มีหลักประกัน ทั้งไม่ได้รับอนุมัติจากโจทก์ตามระเบียบ เป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่โจทก์ยังไม่ฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย เพราะหนี้รายนี้ไม่มีหลักประกัน ในการที่โจทก์จะฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้คืนแก่โจทก์โจทก์จะต้องพิจารณาทางได้เสียในทุก ๆ ทาง

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625-626/2534
    ปล่อยสินเชื่อโดนไม่ตรวจสอบ เสนอข้อมูลบิดเบือนจากควาจริงเพื่อให้เป็นประโยชน์กับลูกค้าทำให้ผู้บังคับบัญชาหลงเชื่ออนุมัติสินเชื่อ ต่อมาทวงหนี้ไม่ได้ เนื่องจากลูกหนี้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งมีการประเมินราคาหลักประกันสูงเกินจริง ถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำใหนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2509
    กู้เงินแทนประธานธนาคารโจทก์ ผู้กู้ต้องผูกพันตามสัญญากู้ยืมเงิน

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2559
    ลูกจ้างกู้ยืมเงินแทนผ้จัดการธนาคารออกหน้าแทน ลูกจ้างต้องผูกพันตามสัญญากู้ยืมเงิน

8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549
    บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ และการที่โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่ง เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยก็ยังไม่มีการตกลงกันในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้

9.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2554
    ในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการดำเนินการของโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการ ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2540 ของโจทก์มีมติอนุมัติให้ซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์สองคัน ในวงเงิน 1,500,000 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด 1 คัน ราคา 291,970 บาท และยี่ห้อเบนซ์ 1 คัน ราคา 1,750,000 บาท เกินกว่าวงเงินตามมติของโจทก์ดังกล่าวถึง 541,970 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ และทำให้โจทก์เสียหาย เพราะโจทก์จะต้องจ่ายเงินซื้อรถยนต์ในราคาที่สูงเกินไป แทนที่จะนำเงินจำนวนนั้นไปใช้อย่างอื่นตามวัตถุประสงค์ของโจทก์เป็นการไม่ประหยัดไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของโจทก์ ที่จำเลยทั้งสิบสี่อ้างว่าโจทก์ให้สัตยาบันยอมรับรู้การกระทำดังกล่าวแล้ว ทั้งโจทก์ยังขายรถยนต์ทั้งสองคัน โดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุนไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า ความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์จะขายรถยนต์ทั้งสองคันโดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุนก็ไม่อาจทำให้ความเสียหายของโจทก์กลับเป็นไม่มีความเสียหายอีกได้ และการให้สัตยาบันยอมรับรู้การกระทำของจำเลยทั้งสิบสี่ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อผู้ขายรถยนต์ทั้งสองคัน ผู้สุจริตจากการกระทำของจำเลยทั้งสิบสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 ถึง 823 เท่านั้นโดยมิได้ทำให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นความรับผิดในความเสียหายจากการกระทำของตนต่อโจทก์

10.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2557
    ไม่ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง ต่อมาลูกค้าไม่อาจชำระหนี้ได้ เป็นการกระทำที่ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

11.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704-1705/2515
    จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคาร โจทก์จึงแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยตกลงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ธนาคารหมดแล้วจะคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการแสดงเจตนาลวง ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่จำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่ดินคืนให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้

12.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2529
    ผู้ร้องอ้างว่าได้ทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทของตนให้จำเลยที่1โดยมิได้มีเจตนายกให้จริงๆแต่จำเลยที่1นำทรัพย์ดังกล่าวไปขายให้จำเลยที่3แล้วต่อมาโจทก์ได้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่3ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่านี้จะยกขึ้นต่อสู้จำเลยที่3หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นหาได้ไม่. แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าตนครอบครองที่ดินทรัพย์พิพาทตลอดมาเป็นเวลาเกือบ20ปีก็ตาม.แต่เมื่อทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1โดยมีการจดทะเบียนที่ดินกรณีต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อนับตั้งแต่วันที่ผู้ร้องทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1ถึงวันที่ยื่นคำร้องยังไม่ถึง10ปีผู้ร้องจะอ้างว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382หาไม่ได้

13.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3495/2546
    ลูกจ้างธนาคารซึ่งไม่มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อรับเงินจากลูกค้าผู้ขอสินเชื่อเป็นการทุจริตและทำผิดระเบียบร้ายแรง
14.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2557
    จำเลยยืมโฉนดของโจทก์ไปเป็นหลักประกันกับสหกรณ์ โดยเอาชื่อจำเลยใส่เป็นเจ้าของรวมไปจำนอง แต่หลังจากนั้นไม่คืน โจทก์ฟ้องขอคืนได้ ถือเป็นการติดตามเอาทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 (ไม่มีอายุความ)

15.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14329/2559
    เจ้าหนี้สามารถยึดโฉนดจนกว่าลูกหนี้ชำระหนี้

16.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2552
ตีทรัพย์ใช้หนี้เงินกู้ เจ้าหนี้ต้องคิดตามราคาท้องตลาด มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

17.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2537
    การค้ำประกันการทำงานของ ณ. ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราว เมื่อจำเลยได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันไปยังโจทก์ที่สำนักงานของโจทก์ โดยณ. ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ลงลายมือชื่อรับไว้ตั้งแต่วันที่3 กันยายน 2530 ถือว่าการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันมีผลทันที โดยไม่จำต้องให้ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์อนุมัติก่อนฉะนั้นการที่ ณ.เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน2530 และวันที่ 30 ตุลาคม 2530 เป็นวันหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด

18.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2554 (กรรมการกระทำการเกินขอบอำนาจ)
    ในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการดำเนินการของโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการ ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2540 ของโจทก์มีมติอนุมัติให้ซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์สองคัน ในวงเงิน 1,500,000 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด 1 คัน ราคา 291,970 บาท และยี่ห้อเบนซ์ 1 คัน ราคา 1,750,000 บาท เกินกว่าวงเงินตามมติของโจทก์ดังกล่าวถึง 541,970 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ และทำให้โจทก์เสียหาย เพราะโจทก์จะต้องจ่ายเงินซื้อรถยนต์ในราคาที่สูงเกินไป แทนที่จะนำเงินจำนวนนั้นไปใช้อย่างอื่นตามวัตถุประสงค์ของโจทก์เป็นการไม่ประหยัดไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของโจทก์ ที่จำเลยทั้งสิบสี่อ้างว่าโจทก์ให้สัตยาบันยอมรับรู้การกระทำดังกล่าวแล้ว ทั้งโจทก์ยังขายรถยนต์ทั้งสองคัน โดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุนไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า ความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์จะขายรถยนต์ทั้งสองคันโดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุนก็ไม่อาจทำให้ความเสียหายของโจทก์กลับเป็นไม่มีความเสียหายอีกได้ และการให้สัตยาบันยอมรับรู้การกระทำของจำเลยทั้งสิบสี่ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อผู้ขายรถยนต์ทั้งสองคัน ผู้สุจริตจากการกระทำของจำเลยทั้งสิบสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 ถึง 823 เท่านั้นโดยมิได้ทำให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นความรับผิดในความเสียหายจากการกระทำของตนต่อโจทก์
    เมื่อปรากฏว่าตั้งแต่วันที่จำเลยทั้งสิบสี่อนุมัติให้ซื้อรถยนต์ทั้งสองคัน จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 อันเป็นวันที่นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการชั่วคราว จำเลยทั้งสิบสี่ยังมีฐานะเป็นกรรมการดำเนินการของโจทก์อยู่ จึงยังถือไม่ได้ว่าก่อนหน้าวันที่ 20 ธันวาคม 2543 โจทก์ทราบเหตุการณ์กระทำละเมิดของจำเลยทั้งสิบสี่ แต่ถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 20 ธันวาคม 2543 อันเป็นวันที่นายทะเบียนสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นจากตำแหน่งและตั้งกรรมการดำเนินการโจทก์ชั่วคราว เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

19.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2519 (ไม่ใช่กรรมการบริหารไม่ต้องรับผิด)
    กรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้จัดการ ไม่มีหน้าที่จัดธุรกิจของบริษัท คงเป็นแต่ผู้แทนของบริษัทในฐานะที่บริษัทเป็นนิติบุคคล และมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการประชุมกรรมการแก่ผู้จัดการเท่านั้น ปรากฏว่าการจัดธุรกิจของบริษัทซึ่งอยู่ในความรับผิดของผู้จัดการ ได้ทำให้บริษัทต้องเสียหาย ดังนี้ หากการกระทำนั้นมิได้อยู่ในข้อหนึ่งข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 ซึ่งกรรมการของบริษัทจะต้องรับผิดชอบร่วมกันแล้ว กรรมการที่ไม่ใช่ผู้จัดการก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
    การที่กรรมการบริษัทละเลยไม่เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแจ้งให้ทราบว่าบริษัทขาดทุนตลอดมาทุกปี และเมื่อบริษัทขาดทุนลงถึงกึ่งจำนวนต้นทุน กรรมการก็ไม่เคยเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแจ้งให้ทราบถึงการขาดทุนนั้น เป็นข้อที่น่าตำหนิ แต่ก็มิใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้บริษัทเสียหาย กรรมการบริษัทจึงไม่ต้องรับผิด

20.คำพิพากษาฎีกาที่ 2191/2541 
    กรรมการต้องมีมาตรฐาน มีความรู้ มีความเข้าใจเพียงพอในการประกอบกิจการ มิฉะนั้น ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการได้ ตามปพพ. มาตรา 1168

21.คำพิพากษาฎีกาที่ 3362/2532
    การเป็นกรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ต้องกระทำการด้วยตนเองจะมอบให้คนอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการไม่ได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก