การย้ายพนักงานไปทำงานที่อื่นโดยพนักงานไม่เต็มใจ|การย้ายพนักงานไปทำงานที่อื่นโดยพนักงานไม่เต็มใจ

การย้ายพนักงานไปทำงานที่อื่นโดยพนักงานไม่เต็มใจ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การย้ายพนักงานไปทำงานที่อื่นโดยพนักงานไม่เต็มใจ

ผมมีเรื่องสอบถามปรึกษาดังนี้ครับ ตอนนี้ทำงานอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

บทความวันที่ 12 เม.ย. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 73321 ครั้ง


การย้ายพนักงานไปทำงานที่อื่นโดยพนักงานไม่เต็มใจ

          ผมมีเรื่องสอบถามปรึกษาดังนี้ครับ  ตอนนี้ทำงานอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง แต่ทางบริษัทได้ให้พนักงานบางคนย้ายไปทำงานอีกสาขาหนึ่งที่บางประอินทร์ จ.อยุธยา  โดยมี 2 ตัวเลือกดังนี้ 1.ให้ย้ายที่อยู่ไปบางประอินโดยมีค่าชดเชยให้   2. ให้นั่งรถรับส่งไปทำงานโดยมีค่าชดเชยให้ 2000 ต่อเดือน  เข้างาน กะเช้า 06.00 -18.00 น. แต่พนักงานต้องนอนตั้งแต่ตี 3 กว่า เพื่อไปนั่งรถรับส่งประมาณตี 4 และกลับมาถึงที่พักประมาณ 20.00 น. กะดึก เข้างาน 18.00-06.00 น. ต้องตื่นนอนเพื่อเตรียมตัวไปนั่งรถประมาณ 15.00 น.เพื่อนั่งรถรับส่งมารับประมาณ 16.00 น.  และเลิกงาน 06.00 น. กลับมถึงที่พัก 08.10 น.
           เนื่องจากมีเวลาพักผ่อนน้อย สภาพร่างกายอ่อนเพลีย จึงไม่อยากไปทำงานที่บางประอินทร์ อยากทำอยู่ที่ลาดกระบังเหมือนเดิมพอที่จะทำอย่างไรได้บ้างครับ

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          ไปใช้สิทธิ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120  ถ้ามีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตตามปกติของลูกจ้างและครอบครัว  โดยลูกจ้างต้องบอกเลิกสัญญาจ้างภายใน 30 วันนับจากที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างและมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชย ตามมาตรา 118

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 118
ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

มาตรา 120 ในกรณีที่นายจ้างจะย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง หรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 118
ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างบอกเลิกสัญญา
ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสาม ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาและมีคำสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้ว ปรากฏว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคำสั่งเป็นหนังสือ ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้าง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบ หรือถือว่าทราบคำสั่ง
ในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้วปรากฏว่า ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคำสั่งเป็นหนังสือและแจ้งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบ
คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลนายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจำนวนที่ต้องจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 67

สอบถามค่ะถูกนายจ้างโอนย้ายจากตำแหน่งจัดซื้อไปเป็นตำแหน่งธุรการในไลน์ผลิต แต่เราไม่เต็มใจค่ะ เราะมันดูด้อยค่าแล้วเราไม่ถนัดในงานนี้ แต่นายจ้างไม่ได้ลดเงินเดือน แต่เราไม่เต็มใจ เหมือนเค้าจะบีบเราออกเองเหมือนคนเก่าๆที่ออกไปค่ะ นายจ้างอ้างว่าถ้าไปฟ้องก็แพ้ เพราะเราขาดงานบ่อย แต่เรามีใบแพทย์แล้วเงินใบลาทุกครั้งค่ะ เราสามารถฟ้องได้ไหมค่ะ เครียดมากๆไม่อยากไปทำงานตำแหน่งใหม่

โดยคุณ ธัญญพัฒน์ จันทร 15 ก.ค. 2564, 23:37

ความคิดเห็นที่ 66

สอบถามค่ะ สาขาที่ทำอยู่จะปิดสาขาอีก 3 วันค่ะนายจ้างบอกปากเปล่าว่าจะปิด ไม่มีการติดประกาศชัดเจน

โดยนายจ้างสั่งย้ายให้ไปทำงานอีกที่นึงใกล้ๆบ้าน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือคนละนิติบุคคลกัน บอกประมาน1-2 อาทิตย์โดยไม่มีหนังสือโยกย้ายถึงเรา วันนี้นายจ้างเรียกเข้าไปที่บริษัทเพื่อมาคุยกันให้ชัดเจน(อีก5 วันสาขาปิด) ดิฉันมาเห็นเขาติดประกาศไว้บอร์ดบริษัทแต่มิได้แจ้งเรารับทราบ 

จากการคุยเขาให้ดิฉัน เลือกย้ายหรือลาออกโดยไม่ได้ชดเชย เพราะเราเซ็นสัญญาว่าโยกย้ายได้ แต่ดิฉันเลือกไม่เซ็น


กรณีนี้เรามีสิทธิได้ค่าชดเชยไหมคะและมีสิทธิอะไรบ้าง


โดยคุณ นัชชา 7 ก.พ. 2563, 20:48

ความคิดเห็นที่ 65

ดิฉันเป็นพนักงานธนาคารค่ะ อาจมีคำสั่งให้ย้ายจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง โดยที่สาขาปัจจุบันมีค่าตำแหน่ง ค่าคอมมิชชั่นงานขาย แต่สาขาใหม่ที่สั่งย้ายไป ไม่มีค่าตำแหน่ง(แต่ตำแหน่งไม่ได้ลด) ค่าคอมมิชชั่นมีน้อยกว่าที่เดิม ซึ่งดิฉันไม่ยินยอมในการย้ายไป จะทำอย่างไรได้บ้างคะ

โดยคุณ สิริพรรณ 4 ธ.ค. 2562, 11:35

ตอบความคิดเห็นที่ 65

มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่า การย้ายลูกจ้างนั้นนายจ้างสามารถกระทำได้ แต่ต้องเข้าหลัก 2 หลักนี้คือ
1)      ต้องย้ายโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ในสัญญาจ้าง ในระเบียบหรือข้อบังคับ ต้องกำหนดให้นายจ้างมีสิทธิย้ายลูกจ้างได้ และ
2)      การย้ายนั้นต้องเป็นธรรมกับลูกจ้าง ข้อนี้หมายถึง ต้องย้ายเพราะความจำเป็นของกิจการจริงๆ ไม่ใช่ย้ายเพราะกลั่นแกล้งลูกจ้าง ย้ายไปแล้วต้องไม่ลดค่าจ้าง ไม่ลดสวัสดิการ ไม่ลดตำแหน่งของลูกจ้าง และ สภาพการจ้างหรือการทำงานใหม่นั้นต้องไม่ต่ำกว่าสภาพหรือตำแหน่งเดิม สรุปง่ายๆว่า หากย้ายโดยมีเหตุมีผลอันสมควรรองรับ สามารถอธิบายให้ศาลฟังได้ ก็ถือว่าย้ายเป็นธรรม
กรณีที่ไม่พอใจหรือไม่รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนที่พนักงานคุ้มครองแรงงานได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ธ.ค. 2562, 13:41

ความคิดเห็นที่ 64

ถูกย้ายตำแหน่งจากธุรการ ให้เป็นคนส่งพัสดุ ซึ่งไม่เต็มใจและไม่บอกล่งวหน้า และคิดว่าไมไ่ด้ทำงานตามหน้าที่และความสามารถ มีผลต่อค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเยอะเพราะต้องเติมน้ำมันเอง ไม่มีค่าชดเชย หากไม่ทำตามจะถูกเลิกจ้าง 

-เราสามารถดำเนินการผ่านหน่วยงานไหนได้บ้างครับ หรือฟ้องเรียกค่าชดเชยใดๆได้บ้างครับ


โดยคุณ anirut 3 พ.ย. 2562, 12:09

ตอบความคิดเห็นที่ 64

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งต้องดูว่ากระทบเงินเดือนหรือไม่ แต่การลดตำแหน่งต้องไม่เป็นการลดตำแหน่งหรือค่าจ้าง ซึ่งจากธุรการมาเป็นคนส่งพัสดุ แม้เงินเดือนจะเท่าเดิม ซึ่งมองแล้วเป็นลักษณะงานที่ด้อยกว่าเดิม จึงต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน แนะนำให้ไปร้องเรียนที่กรมคุ้มครองแรงงานจังหวัดเพื่อไกล่เกลี่ยหรือทำการฟ้องคดี

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 8 พ.ย. 2562, 09:29

ความคิดเห็นที่ 63

ถาเราโดนย้ายแผนกแบบไม่ตั้งตัวไม่บอกล่วงหน้าไม่เต็มใจย้าย

ไม่ได้ทำอะไรผิด แบบนี้เราควรทำเช่นไรดีค่ะ

โดยคุณ เรณู พรมศรีดางาม 29 ต.ค. 2562, 23:47

ตอบความคิดเห็นที่ 63

ต้องพิจารณาว่ามีผลต่อเงินเดือนหรือกระทบยังไงครับ เพราะการปรับตำแหน่งงานสามารถทำได้ครับ แต่ต้องไม่กระทบต่อสัญญาจ้างที่ได้ทำไว้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 8 พ.ย. 2562, 09:52

ความคิดเห็นที่ 62

ผมทำงานเป็นพนักงานขายที่ห้างแห่งหนึ่งแถวบางแค สิ้นเดือนนี้จะมีการยุบเคาเตอร์ แล้วบริษัทจะให้ผมไปทำงานอยู่ในออฟฟิตของบริษัทซึ่งอยู่แถวราชปรารภ ผมมีสิทธิ์เรียกร้องค่าชดเชยเลิกจ้างไหมครับ

1.บริษัทแจ้งล่วงหน้าเพียงแค่อาทิตย์เดียวก่อนจะยุบเคาเตอร์ (ไม่เกิน 30 วัน)

2.ผมไม่สมัครใจที่จะไปทำงานในออฟฟิต เนื่องจาก

-ต้องเดินทางไกลขึ้น เข้างาน 8:00 น.จากเดิม10.30 น.ส่งผลกระทบต่อครอบครัวผม (ผมต้องไปส่งลูกที่โรงเรียนตอนเช้าทุกวัน)

-ค่าใช้จ่ายมากขึ้น รายรับลดลง (ไม่มีโอที)

-ประเภทงานที่ให้ไปทำก็คนละตำแหน่งงานจากเดิมที่ผมสมัครเข้าทำงานในวันแรก

โดยคุณ ธวัชชัย 27 ก.ย. 2562, 08:33

ความคิดเห็นที่ 61

ปรึกษาค่ะ ปัจจุบันงานที่ทำยู่เป็นแบบรับงานบริหารตามไซต์งาน เมื่อหมดสัญญาจากลูกค้าก็ต้องย้ายไปในที่ต่างๆที่บริษํทฯจัดหาให้ แต่ไม่มีค่าครองชีพใดๆเพิ่มให้เลย เนื่องจากปัจจุบันทำงานที่แจ้งวัฒนะ และเดือนตุลาคม นี้ต้องย้ายไปทำที่รัชดา แบบนี้เราจะทำอย่างไรได้บ้างคะ

โดยคุณ ละอองทอง 24 ก.ย. 2562, 17:33

ตอบความคิดเห็นที่ 61

เป็นเรื่องของการเจรจาตอนทำสัญญากัน ไม่สามารถเรียกร้องอะไรเพิ่มได้หลังจากที่ได้ตกลงทำสัญญา 


โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 4 พ.ย. 2562, 13:44

ความคิดเห็นที่ 60

ถ้าบริษัทย้ายพนักงานปากเปล่าโดยที่ไม่เอกสารแล้วตัวพนักงานไม่เต็มใจยอมไป พอจะมีคำปรึกษาไหมครับ

โดยคุณ จินดานัย 23 ส.ค. 2562, 13:49

ความคิดเห็นที่ 59

ดิฉันถูกหัวหน้าแจ้งด้วยวาจาให้โยกย้ายไปทำงานที่บริษัทในเครือที่เพิ่งซื้อกิจการในตำแหน่งใหม่ โดยไม่มีกำหนดเวลาในการย้ายที่ชัดเจน พอถึงเวลาที่เค้าอยากให้ไปก็ให้ไปทันที โดนไม่ได้มีการโอนถ่ายงานให้ลูกน้อง และโอนย้ายชื่อไปอยู่ใต้บังคับบัญชาผู้บริหารอีกคน ซึ่งดิฉันไม่เต็มใจที่จะย้าย เนื่องจากอยู่ห่างจากที่พักปัจจุบัน ทางบริษัทก็เลยดำเนินการเช่าที่พักให้ แต่ได้ไม่ครบตามจำนวนทั้งหมด และต้องออกส่วนต่างเอง สามารถใช้ข้อกฎหมายใดได้บ้างที่จะขอต่อรองย้ายกลับมาทำงานที่เดิม เพราะมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และเงินที่ต่องจ่ายส่วนต่างเองจากที่บริษัทจำกัดค่าที่พักบ้างคะ

โดยคุณ Nawarat 17 ส.ค. 2562, 20:17

ความคิดเห็นที่ 58

ถูกแจ้งทางวาจา(ไม่มีเอกสารแจ้งเป็นทางการ) ให้ย้ายไปทำงานตำแหน่งเดิม ผลตอบแทนเท่าเดิม(เงินเดือน 12,000 บาท อายุงาน 4 ปี) และไม่มีการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้น 

โดยย้ายจากสาขา กทม ไปที่เกาะสมุย (สาขา กทม ก็ยังเปิดทำการปกติไม่ได้ปิดตัวลง)
และที่ตอนที่เซ็นต์สัญญาเข้าทำงานนั้นสาขาเกาะสมุยยังไม่มี ณ เวลาที่เริ่มงานนั้นทางนายจ้างมีเพียงสาขาเดียว แบบนี้จะมองว่าเป็นย้ายแบบไม่เป็นธรรมแล้วฟ้องร้องเพื่อขอเป็นการชดเชยเลิกจ้างแทนได้หรือไม่

เพราะตำแหน่งงานรายไม่สูง การจะไปอยู่ที่เกาะสมุย จะเป็นการเพิ่มภาระมากกว่าเดิมมาก

และกรณีนายจ้างทำสัญญาจ้างฉบับที่เราเซ็นต์ไว้(ที่มีระบุว่าให้เราย้ายสถานที่ทำงานได้)สูญหาย กรณีนี้จะมองว่านายจ้างกลั่นแกล้งย้ายเราไปห่างจากที่สาขาที่เราทำงานปกติ 750 กิโลเมตร ได้หรือไม่
ขอบคุณครับ

โดยคุณ Iyakupt Semanon 16 ส.ค. 2562, 01:56

ความคิดเห็นที่ 57

สวัสดีครับ,
ผมทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง ในตำแหน่งผู้จัดการ อายุงานทั้งสิ้น 6 ปีกว่า โดยการเข้าทำงานในตำแหน่งดังกล่าวแต่แรก ก็ไม่ได้มีสัญญาจ้าง หรือกำหนดชัดเจนว่าต้องออกประจำต่างจังหวัด และในช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานั้น ผมได้รับมอบหมายออกต่างจังหวัด เพื่อประชุมกับลูกค้าบางเป็นครั้งคราว อาทิตย์ละครั้ง หรือ เดือนละครั้ง และ 4 ปีที่ผ่านมานี้ ก็ย้ายไปดูแล 2 หน่วยงานธุรกิจของบริษัท และได้เลื่อนตำแหน่งผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการโครงการ  

เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯได้เปิดหน่วยงานธุรกิจเพิ่มขึ้นมาใหม่ และให้ผมไปดูแล 
เมื่อปีที่ผ่านมา ผมได้ถูกให้ไปช่วยปิดงานของหน่วยงานใหม่ที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อเสร็จงาน จึงให้มาช่วยปิดงานที่ จ.สงขลา เมื่อสิ้นสุดโครงการ บริษัทจะให้ไปทำงานประจำที่ จ.เชียงใหม่ และลดตำแหน่ง ให้เป็นพนักงานระดับล่าง โดยให้เหตุผลว่า โครงการที่บริษัทฯรับมาประสบสภาพขาดทุน และเงินเดือนผมค่อนข้างสูง 

ผมปฎิเสธที่จะไม่ไปอยู่ประจำที่ จ.เชียงใหม่ ดังกล่าว เนื่องจากเพราะครอบครัวอยู่ กทม. และอยู่ต่างจังหวัดก่อนหน้านั้นเป็นเวลานานอีกทั้งการปรับลดตำแหน่งดังกล่าว ,

แต่ทางบริษัทไม่ยินยอม และออกหนังสือเตือน เพราะขัดคำสั่งบริษัทฯ และอาจเป็นผลให้ออกจากงานเนื่องจากขัดคำสั่งบริษัทฯได้ 

กรณีดังกล่าว ต้องทำอย่างไร ,หากแจ้งลาออก จะได้รับเงินชดเชยในกรณีที่ปฎิเสธดังกล่าวนี้ไหมครับ  

โดยคุณ คุณนครินทร์ 19 ก.ค. 2562, 23:49

ตอบความคิดเห็นที่ 57

หากมีการย้ายตำแหน่งหรือย้ายที่ทำงาน ทำให้มีผลต่อเงินเดือน หากเราไม่ต้องการทำต่อ ก็สามารถเรียกค่าชดเชย

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 13 ส.ค. 2562, 16:55

ความคิดเห็นที่ 56

รบกวนสอบถาม ถ้าเราทำงานประจำที่บริษัท ก. แล้วนายจ้างสั่งงานเพิ่มให้ทำงานให้บริษัท ข.(ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ)โดยไม่มีสัญญาที่จะมีค่าตอบแทนเพิ่ม ( คือทำงานให้ฟรี) แล้วเราไม่เต็มใจทำ เรามีความผิดอะไรไหม นายจ้างสามารถไล่เราออกจากงานได้ไหมค่ะ...ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ เบญจา 4 ก.ค. 2562, 11:39

ตอบความคิดเห็นที่ 56

ตามด้วยคนครับ ตอนนี้ประสบปัญหาเหมือนกัน ตอนตกลงงานให้ประจำอยู่ออฟฟิตบริษัท ก ซึ่งไกลจากที่อยู่  อยู่ๆวันนึงก็ส่งเราไปเรียนเพิ่มบอกเราครึ่งวันเราเลยตกลงไปๆมาๆกลายไปเป็นคอนเซ้าทำงานให้บริษัท ข และไปทำงานให้กับบริษัท ข ก็พาเราไปทำที่ บริษัท ค โดยกรอกแบบฟอร์มบริษัท ค ว่าทำงานอยู่บริษัท ข ไม่มีการเพิ่มเติมค่าจ้าง บวก ไห้ไปทำงานในสิ่งที่เราเพิ่งเรียนกับ บริษัท ข แต่บริษัท ข ไปคอนเฟริม บริษัท ค ว่าเราทำได้ ตอนนี้จะมีการให้เราบินไปต่างจังหวัดอีกเดือนหน้า อยากกลับมาประจำออฟฟิตไม่ทราบว่าสามารถทำได้ไหม

โดยคุณ Tanawat 31 ก.ค. 2562, 11:41

ความคิดเห็นที่ 55

โดยคุณ AromaOil 1 ก.ค. 2562, 12:28

ความคิดเห็นที่ 54

สวัสดีค่ะ ดิฉันทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเกั่ยวกับบรรรจุภัณต์มี 3 แผนก ได้แก่ 1.ผลิตกระป๋อง 2. Offset

3.ผลิตถุงพลาสติก 

ต่อมาทางโรงงานได้ย้ายแผนกกระป๋องไปอยู่ที่จ.ราชบุรี แต่มีพนักงานของแผนกกระป๋องบางส่วนที่ไม่ย้ายตามไป และได้สั่งยุบแผนกถุงพลาสติกโดยให้พนักงานของแผนกถุงพลาสติกและพนักงานของแผนกกระป๋องที่ไม่ได้ย้ายไป จ.ราชบุรี ไปรวมอยู่กับแผนก offset และจะย้ายสถานที่ทำงานจากที่เดิมไปอยู่อีกที่หนึ่งซึ่งห่างสถานที่เดิมประมาณ 4-5 กิโลเมตรเป็นเวลาชั่วคราว เนื่องจากจะทุบโรงงานเก่าและสร้างอาคารใหม่จากนั้นจึงจะย้ายกลับมา

แต่ในการยุบแผนกนั้นทางบริษัทไม่ได้มีหนังสือแจ้งโยกย้ายแต่อย่างใด มีเพียงแค่กระดาษ 1 ใบ ที่พิมพ์รายชื่อและวุฒิการศึกษาของพนักงานโดยให้พนักงานติ๊กที่ช่องที่กำหนดมาให้ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ 

1. ให้ประจำอยู่ที่บางพลี จ.สมุทรปราการ (แผนก offset)

2. ลาออก 

จากกรณีดังกล่าวพนักงานที่ไม่ประสงค์จะย้ายไป จ.ราชบุรีและพนักที่ไม่ประสงค์จะย้ายแผนกมีสิทธิ์เรียกร้องค่าชดเชยได้หรือไม่คะ

โดยคุณ Aphiyanamsri 24 พ.ค. 2562, 15:20

ตอบความคิดเห็นที่ 54

ตามกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 120 ในกรณีที่นายจ้างจะย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง หรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 118 

 ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 13 มิ.ย. 2562, 09:55

ความคิดเห็นที่ 53

สวัสดีค่ะดิฉันทำงานบริษัทครบ2ปี  เป็นพนักงานขายโดยบริษัทได้ทำสัญญากับห้างที่ทำไว้ แต่ด้วยยอดขายที่น้อยประกอบกับค่าเช่าที่สูงขึ้นทำให้บริษัทไม่ต่อสัญญา และให้ดิฉันย้ายไปทำงานที่กรุงเทพ ซึ่งส่วนตัวดิฉันเองเป็นคนในจังหวัดพังงา ดิฉันไม่สะดวกในการเดินทางไป ลูกดิฉันคนโตกำลังศึกษาอยู่ส่วนคนเล็กพึ่งจะ2ปี กรณีนี้ดิฉันอยากทราบว่าบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยไหมค่ะถ้าดิฉันขอลาออก ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ ปิยะรัตน์ มัจฉากิจ 20 พ.ค. 2562, 12:36

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก