แบงก์รุมโขกค่าทวงหนี้ |แบงก์รุมโขกค่าทวงหนี้

แบงก์รุมโขกค่าทวงหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แบงก์รุมโขกค่าทวงหนี้

ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับขูดค่าทวงถามหนี้บัตรเครดิต 250 บาท

บทความวันที่ 9 ก.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 11022 ครั้ง


แบงก์รุมโขกค่าทวงหนี้ 

 

          ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับขูดค่าทวงถามหนี้บัตรเครดิต 250 บาท ถามครั้งที่ 3 เก็บ 300 บาท เริ่ม 1 ส.ค.  ซึ่งนโยบายของสถาบันการเงินดังกล่าวถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

        นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศแจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.เป็นต้นไป ธนาคารไทยพาณิชย์จะคิดค่าติดตามทวงถามหนี้ลูกค้าบัตรเครดิตจากที่ไม่เคยเรียกเก็บสำหรับผู้ที่มียอดค้างชำระเป็นเวลา 1 หรือ 2 รอบบัญชีติดต่อกัน โดยคิดค่าธรรมเนียม 250 บาทต่อรอบบัญชี
ขณะเดียวกัน หากมียอดค้างชำระเกินกว่า 2 รอบบัญชีติดต่อ กันขึ้นไป ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 300 บาทต่อรอบบัญชี

         ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงหนี้ดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

         ปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์มีจำนวนลูกค้าผู้ถือบัตรร่วม 1 ล้านราย และไม่ได้เรียกเก็บค่าติดตามทวงถามหนี้บัตรเครดิต ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคารแห่งนี้คิดจากลูกค้า ขณะที่ดอกเบี้ยบัตรเครดิตยังคิดอยู่ที่ 20%

         น.ส.อัญชลี จรัสยศวุฒิชัย ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาดบัตรเครดิต ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้เก็บค่าติดตามทวงถามหนี้บัตรเครดิต และยังไม่มีนโยบายจะเก็บ

         อย่างไรก็ดี การจะปรับขึ้นค่าธรรมเนียม หรือเก็บค่าทวงถามหนี้บัตรเครดิต ธนาคารจะต้องพิจารณา ดอกเบี้ยด้วย เพราะปัจจุบันดอกเบี้ยบัตรเครดิตของธนาคารก็ยังไม่ได้ลด ยังเก็บ 20% ฉะนั้นหากธนาคารคิดค่าติดตามทวงถามหนี้บัตรเครดิต อีกรายการ ก็เท่ากับว่าลูกค้าจะมีต้นทุนสูงขึ้น

         “ธนาคารยังต้องการช่วยลูกค้าไหว เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็ยังไม่ได้ลดตามธนาคาร แห่งหนึ่ง สมมติถ้ารายได้ดอกเบี้ยของธนาคารหายไป ก็คงต้องหารายได้ค่าธรรมเนียมกลบ แต่ตอนนี้ดอกเบี้ยก็ยังไม่ได้ลด จะเก็บค่าติดตามทวงถามหนี้อีก ก็คงต้องหันมามองลูกค้าด้วย” น.ส.อัญชลี กล่าว

        ธนาคารกรุงเทพแจ้งว่า ธนาคาร ไม่คิดค่าติดตามทวงถามหนี้บัตรเครดิต กรณีชำระล่าช้าเกิน 5 วัน จะมีโทรศัพท์ติดต่อกลับ และมีจดหมายแจ้งให้ทราบ แต่ไม่คิดค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ และปัจจุบันก็ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตเหลือ 18%

        ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยาแจ้งว่า ธนาคารคิดค่าทวงถามหนี้ครั้งแรก และครั้งที่สอง ครั้งละ 267.50 บาท ส่วนครั้งที่สามจะเก็บเพิ่มเป็น 321 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

        การคิดค่าธรรมเนียมของธนาคารกรุงศรีอยุธยานั้นไม่จำเป็นต้องโทรศัพท์ทวงถาม แต่จะปรากฏในรอบบิลถัดไป เนื่องจากเป็นสัญญาที่อยู่ในเงื่อนไขตั้งแต่สมัคร

        นอกจากนี้ สินเชื่อสไมล์ แคช หรือสินเชื่อบุคคลอื่นๆ ธนาคารก็จะคิดค่าทวงถามหนี้ในอัตราเดียวกัน โดยจะเก็บในรอบบิลถัดไป

         ขณะที่ธนาคารยูโอบี และ บริษัท บัตรกรุงไทย (เคทีซี) ก็คิดค่า ทวงถามหนี้บัตรเครดิตครั้งละ 267.50 บาท ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คิด 310.30 บาท ซึ่งเป็นการเก็บอัตโนมัติ ไม่มีพนักงานแจ้ง

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ค่าติดตามถวงถาม ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าติดตามทวงทาม ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน และดอกเบี้ย รวมกันเกินร้อยละ 15 ต่อปี จะผิด กฎหมายที่ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือไม่แม้ว่าประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้มีการเรียกเก็บรวมไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปีก็ตาม แต่ประกาศดังกล่าวจะถือว่าขัดต่อกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยดังกล่าวหรือไม่ซึ่งจะทำให้ธนาคารไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้ใช้บัตรเครดิตเวลามีการฟ้องร้องในชั้นศาลหรือไม่ครับ

โดยคุณ ศรชัย ค้ามีผล 25 พ.ย. 2556, 23:47

แสดงความเห็น