งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
คำพิพากษาฎีกา/การบวกโทษในคดีอาญา/คดียาเสพติด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2508
การที่ศาลจะบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ได้นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่าให้กล่าวในฟ้องและมีคำขออย่างไร ต่างกับขอให้เพิ่มโทษแต่มาตรา 192 ก็ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ฉะนั้น โจทก์ต้องกล่าวมาในฟ้องและมีคำขอมาด้วยแต่มาตรา 58 นี้มิใช่เป็นมาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาตรามาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องและมีคำขอแล้วโจทก์จะอ้างมาตรา 58 หรือไม่ ศาลก็บวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2519
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) บัญญัติไว้เพียงว่าฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดทางอาญาไม่ หากแต่เป็นบทมาตราที่ใช้แก่ความผิดโดยทั่ว ๆ ไปว่า เมื่อมีความผิดโดยการกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเกิดขึ้น ศาลจะต้องวางโทษบุคคลเหล่านั้นอย่างไร ฉะนั้นฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้แล้วว่าจำเลยทั้งสามได้สมคบกันสั่งจ่ายเช็ค เพียงแต่ไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ลงไว้ด้วย จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162(1) บัญญัติว่าถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเอง โดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาแม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2539
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่10)พ.ศ.2532มาตรา4เมื่อจำเลยแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยเคยต้องโทษตามคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นจริงและคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจำคุก6เดือนโดยให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56และในระหว่างที่ยังไม่ครบ2ปีจำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้เช่นนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษคดีนี้แต่เป็นกรณีที่ความปรากฎแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติทั้งจำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วข้างต้นศาลจึงต้องนำโทษที่รอไว้ในคดีอาญาเรื่องนั้นของศาลชั้นต้นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2540
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์อ้างว่า เช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามมูลหนี้เดียวกับเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังหาเช็คและใบคืนเช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่พบ ต่อมาโจทก์พบเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวในแฟ้มเอกสารโจทก์จึงมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ถือได้ว่ามีเหตุอันควรและโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี เรียงกระทงลงโทษ รวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ 6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)
จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8682/2543
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีกเป็นครั้งที่สามภายในเวลาที่รอการลงโทษไว้ในสองคดีก่อน แสดงว่าจำเลยไม่เข็ดหลาบและมิได้เกรงกลัว ไม่มีประโยชน์ที่จะปราณีรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยอีก
ศาลล่างทั้งสองไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนสองคดีมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ ศาลฎีกามีอำนาจนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก และกรณีมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบังคับให้ดำเนินการ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2548
หลังจากโจทก์ชำระเงินงวดที่ 11 ให้จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ไม่ได้ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จจนปัจจุบันนี้เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน กรณีจึงเป็นที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโดยพฤติการณ์แห่งคดีหรือโดยสภาพหรือโดยเจตนาของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอันเป็นการไม่ชำระหนี้อยู่ดีและหากยังคงให้โจทก์ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 อีก ย่อมเป็นการยังความเสียหายแก่โจทก์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จอีก การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้วและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์