กรรมสิทธิ์รวม|กรรมสิทธิ์รวม

กรรมสิทธิ์รวม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กรรมสิทธิ์รวม

  • Defalut Image

ทรัพย์สินที่เป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน  เรียกว่ากรรมสิทธิ์รวม

บทความวันที่ 23 พ.ย. 2565, 10:31

มีผู้อ่านทั้งหมด 1239 ครั้ง


กรรมสิทธิ์รวม
           ทรัพย์สินที่เป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน  เรียกว่ากรรมสิทธิ์รวม  การครอบครองของเจ้าของรวมคนหนึ่งถือว่าเป็นการครอบครองแทนเจ้าของรวมคนอื่นด้วย
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2541
               ที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ก. มีชื่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็น สามีภริยากันในขณะนั้นเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ โดยในบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ เพื่ออก น.ส.3 ก. ได้ระบุว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงต้องฟังว่าจำเลยมีเจตนาให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง แม้นับแต่โจทก์หย่าขาดกับจำเลยเป็นต้นมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์ไม่เคยครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนา สละการครอบครอง เพราะกรณีต้องด้วยลักษณะเจ้าของรวม ซึ่งมีผลในทางกฎหมายว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ตราบใดที่จำเลยยังมิได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ย่อมไม่สิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิเรียกเอาที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ครึ่งหนึ่ง
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9577/2552
            ขณะจำเลยได้รับสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง จำเลยอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ โดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่สิทธิดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับโจทก์ได้มาขณะอยู่กินด้วยกันแล้ว จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยสมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองเพียงผู้เดียวก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับนิคม เมื่อโจทก์กับจำเลยมีสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกึ่งหนึ่ง แม้ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 วรรคสอง จะบัญญัติว่าที่ดินในนิคมซึ่งได้รับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีภายในห้าปี ศาลก็พิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้มิใช่เป็นการบังคับให้จำเลยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้โจทก์แต่อย่างใด กรณีไม่ขัดกับบทบัญญัติดังกล่าว
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2492
          โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ของมารดาโจทก์จากจำเลยซึ่งเป็นสามีของมารดาโจทก์โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อปรากฏว่าทรัพย์เหล่านั้นไม่ใช่เป็นทรัพย์ที่จำเลยร่วมแรงร่วมทุนกับมารดาโจทก์หาได้มา จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2519
        ทรัพย์พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะได้รับมรดกในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยก็ตาม แต่เมื่อการอยู่กินฉันสามีภริยานั้นไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จำเลยก็ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับโจทก์ เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยร่วมหากันมา(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1128/2506)
5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2551
          จำเลยกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรส จึงไม่ต้องพิจารณาว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ คงต้องพิจารณาเฉพาะเรื่องกรรมสิทธิ์รวมว่าเป็นทรัพย์สินที่ซื้อหามาด้วยเงินที่ร่วมกันทำมาหาได้หรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ตายได้รับมาโดยการรับมรดกและโดยการให้โดยเสน่หา ย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของผู้ตายเพียงผู้เดียว
            พินัยกรรมที่ผู้ตายทำขึ้นโดยใช้พิมพ์ดีดทั้งฉบับ ย่อมไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 คงเป็นแต่พินัยกรรมแบบธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ที่ต้องมีพยานรู้เห็นซึ่งมาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน การที่พยานในพินัยกรรมพิพาทลงลายมือชื่อเป็นพยานภายหลังจึงขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวพินัยกรรมพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2533
            การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่พิพาทมาในระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสนั้นถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง แม้ที่พิพาทจะมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเอาที่พิพาทส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนที่พิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จึงเป็นการไม่สุจริต ไม่ผูกพันส่วนของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาทด้วย.
7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2519
            โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมทำมาหากินในการประกอบการค้า ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้มาด้วยกัน ฉะนั้น โจทก์จำเลยจึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์เหล่านั้น การแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยเท่า ๆ กัน
           โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันประกอบการค้า มีรายได้และเกิดทรัพย์สินขึ้นหลายอย่างดังที่ระบุไว้ในฟ้อง จึงขอแบ่งรายได้และทรัพย์สินตามฟ้องครึ่งหนึ่งให้โจทก์นั้น เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และจำเลยก็ให้การต่อสู้มาทุกประเด็น แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาอย่างแจ้งชัดฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
          สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน และต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดกฎหมายและสัญญาซึ่งผู้เช่าจะโอนโดยผู้เช่าไม่ยินยอมไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีสิทธิในการเช่าร่วมกัน ก็ย่อมจะแบ่งสิทธินั้นกันได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

8. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2522
           โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน5 คน ทุกคน อยู่ในห้องเช่าพิพาทโดยน้องชายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมแบ่งให้อาศัยทำมาค้าขาย ต่อมาน้องชายจำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์จำเลย แต่จำเลยยอมให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว ดังนี้ โจทก์จำเลยได้สิทธิการเช่ามาในฐานะเจ้าของร่วมกัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่พิพาทไม่ได้
9. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2560
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท และจำเลยเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินพิพาทแต่ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์  โจทก์จึงไม่สามารถดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทได้ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์  โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์  เพื่อโจทก์จะได้นำไปแสดงเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทตามฟ้อง
10. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2540
          ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปีและแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น ในกรณีเจ้าของขายรถยนต์แล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองบัญญัติถึงตัวทรัพย์สินว่าจะจำหน่ายได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคนการมีชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันที่มีเจ้าของรวมให้ทราบว่าการซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมของเจ้าขอรวมทุกคนก่อน เป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในใบคู่มือจดทะเบียน และผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของรวมที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการขาย ทำให้เจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมและผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการที่ต้องฟ้องและถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ดังนั้น การลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ นอกจากจะไม่ขัดต่อบทกฎหมายแล้วยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในใบคู่มือ จดทะเบียนรถยนต์อีกด้วย ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันพิพาทขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์นั้น จึงมีเหตุสมควรอนุญาตตามที่ขอได้
            เดิมสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1โดยอาศัยสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิการเป็นเจ้าของรวมประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของรวมจำต้องครอบครองทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวม โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก