นายจ้างไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานเกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน ลูกจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้|นายจ้างไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานเกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน ลูกจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้

นายจ้างไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานเกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน ลูกจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

นายจ้างไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานเกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน ลูกจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 3407/2564

บทความวันที่ 29 ก.ย. 2565, 11:08

มีผู้อ่านทั้งหมด 749 ครั้ง


นายจ้างไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานเกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน ลูกจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3407/2564

                 แม้จำเลยจัดเวลาพักระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ในเวลา 12 นาฬิกา ถึง 13 นาฬิกา ภายหลังจากเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 8.30 นาฬิกา หรือ 9 นาฬิกา ตามกฎหมายแล้วก็ตาม แต่การทำงานภายหลังจากเวลา 13 นาฬิกา จนถึงเวลา 18.30 นาฬิกา หรือ 19 นาฬิกา แล้วแต่กรณี จำเลยมิได้จัดให้โจทก์มีเวลาพักหลังจากโจทก์ทำงานในช่วงบ่ายมาแล้วเกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน จึงเป็นการจัดเวลาพักที่ไม่ชอบด้วยพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง 
          โจทก์ฟ้องขอค่าล่วงเวลาเนื่องจากจำเลยไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานในช่วงบ่าย ซึ่งยังเป็นเวลาทำงานปกติของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาในช่วงเวลาดังกล่าวตามฟ้อง แต่ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่จัดเวลาพักระหว่างการทำงานให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่จัดเวลาพักในช่วงบ่าย และย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาว่าค่าเสียหายดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเดียวกับค่าจ้างหรือค่าล่วงเวลา และให้คำนึงถึงการที่โจทก์ได้รับการจัดสรรเวลาพักหนึ่งชั่วโมงแล้วนั้นจึงชอบแล้ว
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 27
 ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงได้ แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
          ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาพักระหว่างการทำงานตามวรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่น ถ้าข้อตกลงนั้นเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง ให้ข้อตกลงนั้นใช้บังคับได้
         เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงาน เว้นแต่เวลาพักที่รวมกันแล้วในวันหนึ่งเกินสองชั่วโมง ให้นับเวลาที่เกินสองชั่วโมงนั้นเป็นเวลาทำงานปกติ
         ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่ายี่สิบนาทีก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงานล่วงเวลา
         ความในวรรคหนึ่งและวรรคสี่ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470, 081-6252161 
#ทนายคลายทุกข์ #คดีแรงงาน #ทำงานล่วงเวลา #ลูกจ้าง #นายจ้าง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก