หลักเกณฑ์ของศาลในการกำหนดค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาท|หลักเกณฑ์ของศาลในการกำหนดค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาท

หลักเกณฑ์ของศาลในการกำหนดค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาท

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หลักเกณฑ์ของศาลในการกำหนดค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาท

  • Defalut Image

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2537

บทความวันที่ 6 ก.ค. 2565, 11:19

มีผู้อ่านทั้งหมด 830 ครั้ง


หลักเกณฑ์ของศาลในการกำหนดค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาท
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2537
             กว่าที่โจทก์จะเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงและเกียรติคุณเป็นที่รู้จักและยอมรับแก่บุคคลทั่วไปได้ โจทก์ต้องสร้างคุณงามความดีเป็นเวลานาน การที่จำเลยไขข่าวแพร่หลายใส่ความโจทก์ในหนังสือพิมพ์รายวันว่าภรรยาโจทก์กำลังหาทนายความทำเรื่องขอหย่าขาดจากโจทก์ เพราะโจทก์มีความสนิทชิดชอบกับหญิงอื่น ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนความจริง ย่อมทำให้ผู้ที่รู้จักโจทก์และได้อ่านข่าวดังกล่าวคิดว่าโจทก์มีความประพฤติไปในทางไม่ดี กระทำผิดศีลธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ครอบครัวของโจทก์เกิดความร้าวฉานก่อให้เกิดความเกลียดชังและดูหมิ่นโจทก์ ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบข่าวนี้แล้วย่อมขาดความเคารพเชื่อถือ เป็นผลเสียต่อหน้าที่การงานและความเจริญก้าวหน้ากับทำให้เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณที่เคยมีอยู่ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จำเลยต้องรับผิดในมูลละเมิด

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2551
             โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่า จำเลยทั้งสามลงพิมพ์ข้อความเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 อันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงและมิใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมเป็นละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางทำมาหาได้และทางเจริญในกิจการของโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ ส่วนการคิดคำนวณค่าเสียหายอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
           จำเลยที่ 2 เขียนข่าวลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจสืบเนื่องจาก ว. เพื่อนของจำเลยที่ 2 มาแจ้งให้ทราบว่าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของโจทก์ 1 คืน เสียค่ารักษาพยาบาลประมาณ 4,000 บาท แพงกว่าที่โรงพยาบาลประมาณไว้ 3,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 ลงข่าวมีข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์อ่านแล้วเป็นที่เข้าใจว่าโรงพยาบาลศรีสยามได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตว์ แพทย์ของโรงพยาบาลเป็นโจรในเครื่องแบบสีขาว โรงพยาบาลเป็นโรงทรมานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ซึ่งไม่ได้เป็นข้อความที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลคิดค่ารักษาพยาบาลแพงเกินกว่าความเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 2 รับทราบมา จึงไม่ใช่ข้อความที่ติชมด้วยความสุจริตเป็นธรรมเพื่อปกปักรักษาประโยชน์สังคมโดยส่วนรวม การที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจลงพิมพ์โฆษณาต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423
           จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำมาลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด จะอ้างว่าโดยปกติตนจะตรวจข่าวในกรอบพาดหัวหน้า 1 เป็นหลัก ข่าวในส่วนปลีกย่อยจะไม่ให้ความสนใจนั้นไม่ได้ เมื่อข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็จะต้องรับผิดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ด้วย

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2542
          ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องได้ถึงที่สุดโดยพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งฟังยุติแล้วว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดการลงข่าวดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยการเผยแพร่โฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 ไม่อาจนำสืบพิสูจน์ว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดที่ใส่ความโจทก์นั้นเป็นความจริงหรือเป็นการเสนอข่าวสารอันจำเลยที่ 2 มิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง ศาลฎีกาจะฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
          จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2ด้วยตามมาตรา 425
          โจทก์เป็นนักการเมืองอาวุโสมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันถึง 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งขาดความเชื่อถือทางการค้า และสูญเสียโอกาสในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161 
#หมิ่นประมาท #ค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาท #ทนายคลายทุกข์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก