แอบโอนสินสมรส|แอบโอนสินสมรส

แอบโอนสินสมรส

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แอบโอนสินสมรส

  • Defalut Image

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6286/2562

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2565, 11:46

มีผู้อ่านทั้งหมด 1002 ครั้ง


แอบโอนสินสมรส
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6286/2562
              เรื่องราวเกี่ยวกับสินสมรสเป็นเรื่องที่มีปัญหาเกิดขึ้นได้เสมอหากคู่สามีภริยามีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างกัน หากทั้งสองคนอยู่กันแบบรักใคร่กันดี ปกติแล้วปัญหาเหล่านี้มักจะไม่เกิดขึ้น แต่ปัญหาเมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือเกิดส่วนได้เสียจากทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสขึ้น ทําให้มีปัญหาตามมาว่าสิทธิของบุคคลภายนอกจะเป็นอย่างไรเมื่อไปทําธุรกรรมที่ทําให้ได้สินสมรสอย่างหนึ่งไปโดยคู่สมรสอีกฝ่ายไม่รู้เรื่องรู้ราว ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย
              นายศุกร์กับนางเสาร์เป็นสามีภรรยากัน แต่งงานอยู่กันกันมานาน แต่ต่อมาทั้งสองคนเริ่มมีเรื่องระหองระแหงกันเป็นระยะด้วยสาเหตุต่าง ๆ นานา ตามประสาของคนที่พอเริ่มมีเรื่องไม่พอใจกันแล้ว แม้แต่เรื่องเล็กเรื่องน้อยก็กลายเป็นปัญหาด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งสองคนทํามาหากินมีทรัพย์สินหลายอย่าง โดยเฉพาะที่ดินแปลงหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทําเลที่ดีมีราคาพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเจริญของพื้นที่รอบข้าง ต่อมานายศุกร์ได้ทําสัญญาขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายเสือ ในราคา 19 ล้านบาท โดยที่นางเสาร์ ภรรยาไม่รู้ระแคะระคายเกี่ยวกับการซื้อขายรายนี้ ต่อมาเมื่อนางเสาร์ รู้เรื่องเข้าจึงได้ฟ้องนายศุกร์และนายเสือเพื่อขอให้เพิกถอนการซื้อขายรายนี้ ด้วยเหตุที่ทําการซื้อขายที่ดินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์โดยที่นางเสาร์ไม่ได้ให้ความยินยอมตามปกติ หากเป็นสินสมรสที่เป็น “อสังหาริมทรัพย์” อย่างเช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม แล้วถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักมีราคาค่างวดมาก การจะทําอะไรที่เป็นการทําให้สิทธิที่มีอยู่อาจเสียไปอย่างเช่น การขาย จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย ถ้าหากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งขายที่ดินไปอย่างเช่นในกรณีที่เรากําลังกล่าวถึงอยู่นี้โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสฝ่ายที่ไม่รู้ไม่เห็นด้วยมีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนธุรกรรมดังกล่าวได้
    ในส่วนของบุคคลภายนอกที่ได้ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสไปโดยที่ไม่มีการให้ความยินยอมโดยชอบนี้จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อภายหลังจากทําธุรกรรมแล้วคู่สมรสที่ไม่รู้เรื่องนั้นมาให้สัตยาบันรับรองการทํานิติกรรมการขายนั้นในภายหลังให้ หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นได้กระทําการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
               ในกรณีของนายเสือนี้ นายเสือจ่ายเงินไป 19 ล้านเพื่อซื้อที่ดินแปลงนี้จากนายศุกร์ จึงถือว่านายเสือได้ “เสียค่าตอบแทน” ตามราคาที่ดินที่เสียไปนั้น ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะถือได้หรือไม่ว่านายเสือกระทําการ “โดยสุจริต”ซึ่งจะถือว่านายเสือทําโดยสุจริตได้ต่อเมื่อนายเสือไม่รู้ถึงการที่ที่ดินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่รู้ว่านางเสาร์ ภรรยานายศุกร์ไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย แต่ถ้าหากพอถือได้ว่านายเสือรู้ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสหรือรู้ว่านางเสาร์ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วยแล้ว ย่อมต้องถือว่านายเสือกระทําการ “โดยไม่สุจริต” และการซื้อขายระหว่างนายเสือกับนายศุกร์จะต้องถูกเพิกถอนจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏนายเสือย่อมจะรู้อยู่แล้วว่าการซื้อขายรายนี้ไม่มีความยินยอมจากนางเสาร์ เพราะตอนไปทําการโอนนางเสาร์ก็ไม่ได้ไปด้วย และไม่ได้ลงชื่อในเอกสารให้ความยินยอมใด ๆ มาแสดง แถมพอเจ้าพนักงานที่ดินถามนายศุกร์ก็บอกว่าภรรยาตนเองไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถทําการงานอะไรได้ยิ่งไปกว่านั้น นายเสือเองก็บอกว่าเคยไปตรวจสอบที่ดินที่จะโอนก่อนแล้ว รู้ว่ามีบ้านที่นางเสาร์กับบุตรพักอาศัยอยู่ด้วย นายเสือพยายามจะอ้างว่าตนเองตรวจสอบแล้ว แต่เข้าใจไปว่าที่ดินที่จะซื้อนั้นเป็น “สินส่วนตัว” ของนายศุกร์ เพราะเชื่อที่นายศุกร์อ้างว่าเป็นที่ดินที่ได้มาตั้งแต่ก่อน
แต่งงานกับนางเสาร์แล้ว แต่ข้อที่นายเสืออ้างจะเห็นได้ว่าขัดกับข้อเท็จจริงที่              ปรากฏเพราะในสารบบที่ดินที่นายเสือไปตรวจดูก็ปรากฏอยู่แล้วว่าในการทํานิติกรรมครั้งก่อน ๆ เกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นก็มีชื่อนางเสาร์มาให้ความยินยอมโดยตลอด ตอนที่เจ้าพนักงานที่ดินถามนายศุกร์ นายศุกร์ก็บอกเพียงว่าภรรยาป่วย ถ้าหากที่ดินแปลงนั้นเป็นสินส่วนตัวของนายศุกร์ที่โอนได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม นายศุกร์ก็คงบอกไปแบบนั้นแล้ว สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า นายเสือรู้อยู่แล้วว่าที่ดินแปลงนี้เป็น “สินสมรส” ระหว่างนายศุกร์กับนางเสาร์ และการซื้อขายรายนี้ทําโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนางเสาร์ การซื้อขายของนายเสือจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะไม่ถือว่านายเสือกระทําการ “โดยสุจริต”
                สินสมรสถือว่าเป็นทรัพย์สินที่คู่สามีภรรยาทํามาหาได้ร่วมกันแม้ว่าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งอาจเป็นคนทํางานสร้างรายได้ อีกคนหนึ่งทํางานบ้านดูแลครอบครัวก็ตาม ดังนั้น หากเป็นสินสมรสที่สําคัญอย่างเช่น ที่ดิน บ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ แล้วจะขายหรือจําหน่ายจ่ายโอนให้บุคคลอื่นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน มิฉะนั้นการซื้อขายหรือการโอนนั้นอาจถูกเพิกถอนเสียได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1476
  "สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
          (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
          (2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
          (3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
          (4) ให้กู้ยืมเงิน
          (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
          (6) ประนีประนอมยอมความ
          (7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
          (8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
          การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง"
มาตรา 1476/1   "สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติในมาตรา 1465 และมาตรา 1466 ในกรณีดังกล่าวนี้ การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส
          ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของมาตรา 1476 การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้เป็นไปตามมาตรา 1476"
มาตรา 1480
  "การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
         การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น"
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161 
#สินสมรส   #โอนสินสมรส #ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน
#ทนายคลายทุกข์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก