งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ความผิดหลายกรรม(ถึงแม้จะทำต่อเนื่องกัน)
ศึกษาฎีกาเพิ่มเติมด้านล่างนี้
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2535
จำเลยป่วยเป็นโรคจิตได้บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายและใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยวิ่งหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปในบ้านร้างแล้วจำเลยแกล้งยิงปืน 1 นัดและใช้เท้ากระทืบพื้น เป็นการลวงว่าจำเลยฆ่าตัวตายเพื่อให้พวกเจ้าพนักงานตำรวจขึ้นไปบนบ้าน จำเลยจะได้ยิงบุคคลเหล่านั้น แต่เมื่อผู้กำกับการตำรวจมาถึงจำเลยก็ยินยอมมอบตัวโดยดี ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบและยังสามารถบังคับตนเองได้ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง สำหรับปัญหาว่า การที่จำเลยถืออาวุธปืนบังคับให้ผู้เสียหายเปิดประตูบ้านแล้วเข้าไปในบ้านกับผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ยิงผู้เสียหายทันที แต่เพิ่งยิงผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไม่ยอมเข้าไปในห้องนอนกับจำเลยตามที่จำเลยต้องการ และกระสุนปืนถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายด้วย จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนั้น เห็นว่าเจตนาของจำเลยที่บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายนั้น จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปยิงผู้เสียหายจึงเป็นความผิดสองกรรม แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย และกระสุนปืนยังไปถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายอันเป็นการทำให้เสียทรัพย์ด้วยนั้น จำเลยมีเจตนายิงผู้เสียหายเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์นั้นเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2548
จำเลยมิได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ทันทีที่บุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายที่ 2 หลังจากที่จำเลยถามหาผู้เสียหายที่ 1 แล้วผู้เสียหายที่ 2 ตอบว่าผู้เสียหายที่ 1 ไปธุระนอกบ้าน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 เจตนาที่จะบุกรุกบ้านของผู้เสียหายที่ 1 กับเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 จึงแยกจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2530
จำเลยบุกรุกเข้าบ้านผู้เสียหาย เมื่อคนในบ้านรู้ตัวเรียกจำเลยให้ออกจากห้อง จำเลยกลับพังฝาห้องกระโดดลงจากบ้านหลบหนี ดังนี้การกระทำฐานบุกรุกสำเร็จลงแล้ว ส่วนการกระทำให้เสียทรัพย์เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจึงเป็นคนละกรรมกัน แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เรียงกระทงลงโทษ แต่เมื่อบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันศาลลงโทษ 2กรรมได้ ไม่เกินคำขอ.(ที่มา-ส่งเสริม)
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2552
การกระทำความผิดแม้จะกระทำต่อเนื่องและใกล้ชิดกันจะเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือต่างกรรมกันนั้น ต้องพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำด้วย เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายก่อน 1 นัด ทันทีที่ผู้ตายกระโดดลงจากรถ ผู้ตายล้มลงและหมดสติไป และเมื่อผู้เสียหายกระโดดลงจากรถ จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายอีก 1 นัด ทันที การกระทำของจำเลยจึงเห็นได้ชัดว่า มีเจตนาประสงค์ต่อผลในการกระทำทั้งสองครั้งแตกต่างกัน กล่าวคือหากผู้เสียหายไม่กระโดดลงจากรถ จำเลยอาจไม่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน
5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5821/2544
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปีไปเสียจากความปกครองดูแลของบิดา เพื่อการอนาจารต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุว่า ขอให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าววรรคใด และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 และไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์เสียก่อน ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรกได้
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กหญิง ณ. ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร การที่จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ทั้งจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. ไปเพื่อการอนาจารถึง 2 ครั้ง ต่างวันเวลากัน และกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้นอีก 2 ครั้งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91