ถอนฟ้องในศาลสูง ศาลสูงเท่านั้นมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง|ถอนฟ้องในศาลสูง ศาลสูงเท่านั้นมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง

ถอนฟ้องในศาลสูง ศาลสูงเท่านั้นมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ถอนฟ้องในศาลสูง ศาลสูงเท่านั้นมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7388/2562

บทความวันที่ 5 ม.ค. 2564, 10:24

มีผู้อ่านทั้งหมด 590 ครั้ง


ถอนฟ้องในศาลสูง ศาลสูงเท่านั้นมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7388/2562
            คดีความอันยอมความได้ โจทก์อาจถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 35 วรรคสอง  โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นชอบที่มีคำร้องของโจทก์ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาสั่ง  การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเสียเอง  เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ  ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง  ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 15 เมื่อสำนวนคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว  เพื่อมิให้คดีล่าช้า  ศาลฎีกามีคำสั่งไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งใหม่โดยศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
             โจทก์ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ด้วย  เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350  เป็นความผิดอันยอมความได้และโจทก์มิได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ภายในสามเดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
            ปัญหาว่า คดีขาดอายุความหรือไม่  เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย  ศาลยกขึ้นอ้างได้แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นก็ตาม  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก