คดีแรกศาลลงโทษจำคุก และยังไม่พ้น 5 ปี คดีหลังรอการลงโทษไม่ได้|คดีแรกศาลลงโทษจำคุก และยังไม่พ้น 5 ปี คดีหลังรอการลงโทษไม่ได้

คดีแรกศาลลงโทษจำคุก และยังไม่พ้น 5 ปี คดีหลังรอการลงโทษไม่ได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คดีแรกศาลลงโทษจำคุก และยังไม่พ้น 5 ปี คดีหลังรอการลงโทษไม่ได้

  • Defalut Image

เคยต้องโทษจำคุกเกิน 6 เดือน และไม่ใช่ความผิดประมาทและพ้นโทษไม่เกิน 5 ปี

บทความวันที่ 13 ก.ค. 2563, 10:34

มีผู้อ่านทั้งหมด 524 ครั้ง


คดีแรกศาลลงโทษจำคุก และยังไม่พ้น 5 ปี คดีหลังรอการลงโทษไม่ได้

               เคยต้องโทษจำคุกเกิน 6 เดือน และไม่ใช่ความผิดประมาทและพ้นโทษไม่เกิน 5 ปี แม้คดีหลังจะเป็นความผิดฐานประมาทก็ตามจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์รอการลงโทษ

คำพิพากษาฎีกาที่ 645/2563
          ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (ใหม่) ได้เพิ่มหลักเกณฑ์ให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจการลงโทษให้แก่จำเลยได้มากขึ้น จากเดิมที่จำกัดเฉพาะแต่จำเลยที่ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน หรือเคยต้องโทษจำคุกแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ได้เพิ่มให้จำเลยที่เคยต้องโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน และจำเลยที่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จากหลักเกณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมานั้น แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้จำเลยที่เคยต้องโทษจำคุกมาในระยะเวลาสั้นและจำเลยที่เคยได้รับโทษจำคุกระยะเวลายาวแต่พ้นโทษมานานแล้ว มีโอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดี
           จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนในความผิดฐานร่วมกันประกอบกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตและเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และจำเลยพ้นโทษมาไม่เกินห้าปี แม้คดีนี้เป็นการกระทำความผิดโดยประมาทก็ตามจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะใช้ดุลพินิจรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (2) , (3)

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 56
  ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น
    (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ
    (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ
    (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
    และเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
    เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจกำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อตามควรแก่กรณีได้ ดังต่อไปนี้
    (1) ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพ หรือจัดให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์
    (2) ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ
    (3) ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก
    (4) ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด
    (5) ให้เข้ารับการฝึกอบรม ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด
    (6) ห้ามออกนอกสถานที่อยู่อาศัย หรือห้ามเข้าในสถานที่ใดในระหว่างเวลาที่ศาลกำหนด  ทั้งนี้ จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางด้วยก็ได้
    (7) ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเยียวยาความเสียหายโดยวิธีอื่นให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้กระทำความผิดและผู้เสียหายตกลงกัน
    (8) ให้แก้ไขฟื้นฟูหรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม หรือชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการดังกล่าว
    (9) ให้ทำทัณฑ์บนโดยกำหนดจำนวนเงินตามที่ศาลเห็นสมควรว่าจะไม่ก่อเหตุร้าย หรือก่อให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สิน
    (10) เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู หรือป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก หรือเงื่อนไขในการเยียวยาผู้เสียหายตามที่เห็นสมควร
             เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดตามความในวรรคสองนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำขอของผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่าพฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควรศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดเสียก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขข้อใดตามที่กล่าวในวรรคสองที่ศาลยังมิได้กำหนดไว้เพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้ หรือถ้ามีการกระทำผิดทัณฑ์บนให้นำบทบัญญัติมาตรา 47 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยายภาค 1 สมัยที่ 73 ปี พ.ศ.2563 เล่ม 1

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก