นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร|นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร

นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร

  • Defalut Image

การที่นายจ้างใช้สิทธิตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเลิกจ้างลูกจ้างพร้อมกับพนักงานในหน่วยงาน

บทความวันที่ 7 พ.ค. 2563, 09:42

มีผู้อ่านทั้งหมด 1587 ครั้ง


นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร

            การที่นายจ้างใช้สิทธิตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเลิกจ้างลูกจ้างพร้อมกับพนักงานในหน่วยงานที่ถูกปรับยุบทั้งหมด เพราะมีสาเหตุมาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมิได้เลือกปฏิบัติกลั่นแกล้งเฉพาะลูกจ้างบางคนเท่านั้น จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10659 - 10665/2546
              การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หมายความถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ หรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้าง สาเหตุการเลิกจ้างอาจเกิดจากฝ่ายลูกจ้างฝ่ายเดียว เมื่อสาเหตุและความจำเป็นที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและลดจำนวนพนักงานลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับคุ้มทุน มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ให้สิทธิจำเลยในการที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ทั้งเหตุที่ต้องยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงานและโอนงานไปรวมกับหน่วยงานอื่นก็เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการและสัญญาผู้ประกอบการจำหน่ายที่จำเลยทำกับเจ้าหนี้ ดังนั้น การที่จำเลยใช้สิทธิตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเลิกจ้างโจทก์พร้อมกับพนักงานในหน่วยงานที่ถูกปรับยุบทั้งหมด เพราะมีสาเหตุมาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมิได้เลือกปฏิบัติกลั่นแกล้งเฉพาะโจทก์เท่านั้น จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนกรณีที่จำเลยประกาศรับสมัครผู้จัดการในหน่วยงานอื่นของจำเลยซึ่งโจทก์ทั้งสองมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะสมัครเข้าไปทำงานได้นั้น จำเลยก็ได้ดำเนินการหลังจากเลิกจ้างโจทก์เป็นเวลานาน เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการบริหารจัดการที่เพิ่งเกิดมีขึ้นใหม่ในภายหลังตามความประสงค์ของบริษัท ว. ซึ่งจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายที่จะต้องปฏิบัติ เหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเช่นกัน
           จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
มาตรา 49
การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก