นายจ้างเลิกจ้างโดยอ้างว่าปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และต้องการลดต้นทุนการผลิตซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม|นายจ้างเลิกจ้างโดยอ้างว่าปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และต้องการลดต้นทุนการผลิตซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

นายจ้างเลิกจ้างโดยอ้างว่าปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และต้องการลดต้นทุนการผลิตซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

นายจ้างเลิกจ้างโดยอ้างว่าปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และต้องการลดต้นทุนการผลิตซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

  • Defalut Image

นายจ้างที่เลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าต้องการลดต้นทุนการผลิต เพื่อความอยู่รอดในธุรกิจต่อไป

บทความวันที่ 10 ม.ค. 2563, 09:56

มีผู้อ่านทั้งหมด 1466 ครั้ง


นายจ้างเลิกจ้างโดยอ้างว่าปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และต้องการลดต้นทุนการผลิตซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

                นายจ้างที่เลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าต้องการลดต้นทุนการผลิต เพื่อความอยู่รอดในธุรกิจต่อไป แต่ปรากฏว่านายจ้างประสบภาวะขาดทุนเพียง 1 ปีก่อนเลิกจ้าง และหลังจากเลิกจ้างลูกจ้างรายนี้แล้ว ได้จ้างผู้อื่นเข้ามาทำงานแทน ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ต้องจ่ายเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้กับลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2560
             คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า วันที่ 3 สิงหาคม 2544 จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งหัวหน้าแผนกเอกสาร ได้รับค่าจ้างเดือนละ 52,800 บาท วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นหนังสือ อ้างเหตุว่าต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยยกเลิกตำแหน่งงานและลดต้นทุนการผลิต เพื่อความอยู่รอดในธุรกิจซึ่งไม่ป็นความจริง ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป การเลิกจ้างไม่มีเหตุตามกฏหมายและไม่เป็นธรรม ขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 677,600 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าประสบปัญหาด้านธุรกิจเป็นอย่างมาก จึงยกเลิกตำแหน่งงานบางตำแหน่งและลดต้นทุนการผลิต
            ศาลแรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่าเมื่อพิจารณางบการเงินเฉพาะกิจของจำเลยในปี 2554 จำเลยมีกำไร 175,266,366 บาท ปี 2555 มีกำไร 62,762,010 บาท และปี 2556 จำเลยขาดทุน 86,539,186 บาท แสดงว่าจำเลยมีการประกอบการขาดทุนเพียงปีเดียวก่อนเลิกจ้าง และหลังจากเลิกจ้างแล้ว จำเลยยังรับนายก.เข้าเป็นลูกจ้างแทนโจทก์ อีกทั้งหัวหน้างานที่ประเมินการทำงานของโจทก์มีความขัดแย้งกับโจทก์ การเลิกจางจึงไม่มีเหตุจำเป็นหรือสมควรเพียงพอ พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 158,400 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่า  แม้โจทก์จำเลยจะตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะต้องการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อความอยู่รอดในธุรกิจ เป็นการเลิกจ้างโจทก์เป็นธรรมหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้อีกว่า ในการประเมิน มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์แล้ว ศาลแรงงานก็มีอำนาจหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบเพื่อวินิจฉัยว่ามีเหตุจำเป็นและสสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่ จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องนอกประเด็น ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยจ่ายเงินตามกฎหมายแล้วเป็นเงิน 823,680 บาท การที่ศาลแรงงานกลางให้จ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีก 158,400 บาท ไม่ถูกต้องนั้น เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก