หนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน|หนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน

หนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 24/2536

บทความวันที่ 11 ธ.ค. 2562, 10:44

มีผู้อ่านทั้งหมด 1182 ครั้ง


หนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน

คำพิพากษาฎีกาที่ 24/2536
                แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษานั้น จนกว่าคำพิพากษาจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบคำบังคับและหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้โอนทรัพย์สินของตนไปหมดแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 800,000 บาท เท่านั้นไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งมีจำนวนหนี้ทั้งสิ้นถึง 1,000,000 บาทเศษ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
ต่อมายังมีคำพิพากษาฎีกาที่ 8116/2557,18795/2557, 8627/2558, 15515/2558 และ 914/2559 วินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 25/2536

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 9
  เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ
(3) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
มาตรา 10 ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน และ
(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
มาตรา 14  ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง

ที่มา : หนังสือฎีการวมคำบรรยายเนติฯ เล่มที่1 กฎหมายล้มละลาย (อ.กนก จุลมนต์) สมัยที่ 72

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก