คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 14|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 14

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 14

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 14

  • Defalut Image

แม้หนังสือบอกกล่าวจะส่งกลับคืนมาเพราะไม่มีคนไปรับ ก็ถือว่าได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วโดยชอบ

บทความวันที่ 8 ต.ค. 2562, 09:36

มีผู้อ่านทั้งหมด 2689 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 14

1.แม้หนังสือบอกกล่าวจะส่งกลับคืนมาเพราะไม่มีคนไปรับ ก็ถือว่าได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วโดยชอบ และความรับผิดของผู้ค้ำประกันในส่วนของค่าขาดประโยชน์ถือเป็นหนี้อุปกรณ์หลุดพ้นความรับผิดเฉพาะที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน
คำพิพากษาฎีกาที่ 220/2562

    จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันเกินกว่าสามงวด โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 
    คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเสียหายต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด
    เห็นว่า ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ ข้อ 8 ระบุว่า "บรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าวใด ๆ ของเจ้าของที่ส่งไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าตามสัญญานี้ โดยส่งเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือไม่ลงทะเบียนไม่ว่าจะถึงตัวหรือไม่ถึงตัว และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่มีผู้ใดยอมรับไว้ หรือไม่ยอมมารับภายในกำหนดที่ไปรษณีย์แจ้งให้มารับ ... ข้าพเจ้ายินยอมผูกพันให้ถือว่าหนังสือ จดหมาย หรือคำบอกกล่าวใดๆ นั้น ได้ส่งให้ข้าพเจ้าโดยชอบแล้ว" ข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือขอให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับว่าโจทก์ได้ส่งไปตามที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งไว้ในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแล้ว แม้ทางไปรษณีย์จะคืนหนังสือที่ส่งไปให้จำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่มารับภายในกำหนดก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2558 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 จึงพ้นกำหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคสอง สำหรับหนี้การส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนถือเป็นหนี้ประธาน แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 2 เกิน 60 วัน นับแต่ผิดนัดก็ตาม จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมไม่หลุดพ้น ส่วนหนี้ค่าขาดประโยชน์ถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดเฉพาะที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดกับจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาเป็นเงินแทน 20,000 บาท  และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดค่าขาดประโยชน์อันเป็นค่าเสียหายนับแต่วันผิดนัดแต่ไม่เกิน 60 วัน เป็นเงิน  1,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์
    หมายเหตุ มาตรา 681/1 ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
    ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่กรณีผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นนิติบุคคลและยินยอมเข้าผูกผันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ในกรณีเช่นนั้นผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 688 มาตรา 689 และมาตรา 690

2. สัญญาซื้อขายรถยนต์ ที่ผู้ขายลงชื่อโอนลอยให้ไว้และยืนยันว่าสามารถโอนได้ เป็นเพียงการรับประกันของผู้ขายเท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 783/2562

    สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีข้อตกลงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทดังกล่าวจะโอนเป็นของผู้ซื้อก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใดข้อสัญญาที่ว่า ผู้ขายได้มอบเอกสารและลงชื่อการโอนลอยให้ไว้และยืนยันว่าสามารถโอนได้จึงเป็นเพียงการรับประกันของผู้ขายว่าผู้ขายได้มอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อไว้แล้ว และรับรองว่าสามารถไปดำเนินการโอนได้เท่านั้น มิใช่เงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโจทก์ในฐานะผู้ซื้อเมื่อได้รับมอบรถยนต์จากจำเลยและชำระราคารถยนต์ให้จำเลยครบถ้วนแล้วโดยในการตกลงซื้อขาย โจทก์ได้ตรวจสอบสภาพรถและรับทราบถึงความชำรุดของรถพิพาท โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในรถพิพาทไปตามสภาพที่ซื้อขาย ไม่อาจเรียกราคารถยนต์ที่โจทก์ชำระและเรียกค่าซ่อมแซมรถยนต์จากจำเลยได้

3.ด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย เป็นเพียงถ้อยคำที่คนทั่วไปไม่ควรพูด 
คำพิพากษาฎีกาที่ 1021/2562

    จำเลยใช้มีดพร้าฟันโจทก์ร่วมหลายครั้งโดยแรงจึงทำให้มีบาดแผลลึกถึงกระดูกและกะโหลกศีรษะและยังทำให้เส้นประสาทขาด สำหรับกรณีศีรษะถือเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การที่จำเลยใช้มีดพร้าขนาดใหญ่เช่นนี้ฟันโจทก์ร่วมจนทำให้มีบาดแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะบริเวณท้ายทอยลึกถึงกะโหลกศีรษะ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าโจทก์ร่วมย่อมได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
    โจทก์ร่วมเขียนจดหมายไปถึงจำเลยโดยมีข้อความบางตอนว่า " ไอ้คนสิ้นคิด สมองหมาปัญญาควาย...อย่ามุดหัวอยู่แต่ในผ้าถุงเมียให้มากนัก...มึงมีปัญญาแค่ลักเล็กขโมยน้อยเท่านั้นแหละ " ก็ตาม...แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุคดีนี้นานกว่า 7 เดือน จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่ามีความโมโหสะสมอยู่ได้ และแม้ในวันเกิดเหตุ โจทก์ร่วมมาด่าจำเลยก่อนว่า "ไอ้เย็ดแม่ ควายไอ้ชิงหมาเกิด ไม่รับผิดชอบ" และชี้หน้าแช่งจำเลยให้ขับรถชนตายก็ตาม แต่ถ้อยคำด่าดังกล่าวเป็นเพียงถ้อยคำที่หยาบคายซึ่งตามปกติวิญญูชนโดยทั่วไปจะไม่กล่าวออกมาเช่นนั้น และไม่ปรากฎว่าหลังจากที่โจทก์ร่วมกล่าวถ้อยคำด่าดังกล่าวในวันเกิดเหตุแล้วโจทก์ร่วมได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อจำเลยอีกก่อนที่จำเลยจะใช้มีดพร้าฟันโจทก์ร่วม การกระทำของโจทก์ร่วมตามที่จำเลยกล่าวอ้างยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยใช้มีดพร้าฟันโจทก์ร่วมโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 

4.กลัวจะถูกข่มขืน จึงถอดสร้อยคอทองคำให้ โดยไม่ได้ข่มขู่หรือใช้กำลังเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ ก็เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 1513/2562

    จำเลยเข้ามาทางด้านหลังของผู้เสียหายแล้วถามผู้เสียหายว่ามีเงินเท่าใด จากนั้นเข้าประชิดตัวผู้เสียหายพร้อมทั้งทำท่าจะล้วงอาวุธจากขอบกางเกงด้านหลัง ซึ่งลักษณะการกระทำของจำเลยเป็นการข่มขู่คุกคามผู้เสียหาย โดยเฉพาะจำเลยเป็นชายอยู่ในวัยฉกรรจ์ มีร่างกายล่ำกำยำและสูงกว่าผู้เสียหายมาก ผู้เสียหายเป็นหญิงและกำลังศึกษาย่อมเกิดความเกรงกลัวจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายว่าในทันใดนั้นว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายการที่จำเลยกระทำและพูดกับผู้เสียหายเช่นนั้น ก็เพื่อให้ผู้เสียหายส่งเงินให้แก่จำเลย เมื่อผู้เสียหายส่งเงินให้เพราะเกิดความกลัวเนื่องจากถูกจำเลยขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 339 (2) วรรคสอง ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยเป็นผู้หญิงเอาทรัพย์นั้นเองหรือผู้เสียหายเป็นผู้หยิบส่งให้ไป
    จำเลยขับรถจักรยานยนต์ติดตามผู้เสียหายไปถึงที่เกิดเหตุ แล้วชิงทรัพย์ของผู้เสียหายไป ย่อมเป็นการใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี 
    ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะข่มขืนกระทำชำเราจึงถอดสร้อยคอทองคำที่สวมอยู่ให้จำเลยไปเอง โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยขู่เข็ญหรือใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อมุ่งประสงค์ต่อสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย หากแต่ผู้เสียหายคิดว่าเมื่อจำเลยได้สร้อยคอทองคำแล้วจะปล่อยตัวผู้เสียหายการที่จำเลยรับเอาสร้อยคอทองคำจากผู้เสียหายไป เป็นเจตนาทุจริตที่เกิดขึ้นภายหลังการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 334
    ข้อเท็จตามการพิจารณาได้ความว่า นอกจากจำเลยมีเจตนาชิงเงินของผู้เสียหายแล้ว จำเลยยังลักสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายอันเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากกัน เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นความผิดที่รวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วยแม้โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์เงินสดและสร้อยคอทองคำ แต่เมื่อพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์สร้อยคอทองคำ ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดและบทลงโทษจำเลยลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่งได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มโทษต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
    หมายเหตุ ความผิดฐานกระทำอนาจารผู้อื่นและทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
    สรุปแล้ว จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 , 295 , 339 (2) วรรคสามประกอบมาตรา 334

5.การเรียกเอาเงินโดยไม่ได้ข่มขู่จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาฎีกาที่ 683/2562

    จำเลยทั้งสี่วางแผนจะเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายโดยวิธีให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์แซงรถยนต์จำเลยที่ 1 จากนั้นให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ขับรถยนต์ไล่หลังรถยนต์ไล่หลังรถยนต์ผู้เสียหาย จนผู้เสียหายถูกบีบให้ต้องรีบขับรถกลับเข้าช่องเดินรถด้านซ้าย แล้วจำเลยที่ 1 ขับรถจี้ตามหลังรถยนต์ผู้เสียหาย จนเกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น จากนั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขอเจรจาผู้เสียหายเพื่อเรียกเอาเงิน ซึ่งวิธีการของจำเลยทั้งสี่เช่นว่านั้นจะทำให้เกิดความเสียหายต่อรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้วแม้จำเลยที่ 2 เรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย แต่มิใช่คำพูดที่เป็นการขู่เข็ญหรือข่มขู่ว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้เสียหาย ทั้งไม่ใช่ใช้กำลังประทุษร้ายการกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ.  มาตรา 337 วรรคหนึ่ง (มีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 83 , 358)

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 14

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก