สิทธิในการอุทธรณ์คดีที่มีหลายข้อหา|สิทธิในการอุทธรณ์คดีที่มีหลายข้อหา

สิทธิในการอุทธรณ์คดีที่มีหลายข้อหา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สิทธิในการอุทธรณ์คดีที่มีหลายข้อหา

  • Defalut Image

ความผิดหลายกรรม สิทธิในการอุทธรณ์ต้องแยกพิจารณาอัตราโทษแต่ละกรรม ว่าต้องห้ามหรือไม่

บทความวันที่ 29 ก.ย. 2562, 11:10

มีผู้อ่านทั้งหมด 1046 ครั้ง


สิทธิในการอุทธรณ์คดีที่มีหลายข้อหา

1.ความผิดหลายกรรม สิทธิในการอุทธรณ์ต้องแยกพิจารณาอัตราโทษแต่ละกรรม ว่าต้องห้ามหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2544

           ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตฐานมีรังนกอีแอ่นไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และฐานขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่นฯมีโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแยกข้อหาความผิดของจำเลยทั้งสามฐานดังกล่าวกับความผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นกรณีต่างกรรมกันและการพิจารณาว่าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทงแยกเป็นรายกระทงความผิด

2.ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท สิทธิอุทธรณ์พิจารณาจากอัตราโทษบทหนักสุด ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ถือว่าความผิดทุกบทไม่ต้องห้ามด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2543

          คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องพิจารณาอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดเป็นสำคัญ เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ก็ถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งเป็นบทเบา แม้จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 193 ทวิ
 ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
(2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือ
(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก