คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 9|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 9

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 9

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 9

  • Defalut Image

1.สัญญาขายฝากระบุราคาและสินไถ่ไว้และระบุว่าได้เงินจากผู้รับซื้อฝากเสร็จแล้ว

บทความวันที่ 25 ก.ย. 2562, 09:22

มีผู้อ่านทั้งหมด 1649 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 9

1.สัญญาขายฝากระบุราคาและสินไถ่ไว้และระบุว่าได้เงินจากผู้รับซื้อฝากเสร็จแล้ว ผู้ขายฝากจะอ้างพยานบุคคลมานำสืบหักล้างแก้ไขข้อความในเอกสารไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7519/2560  

    โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับจำเลยต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน จึงเป็นนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ประกอบ มาตรา 491 กรณีจึงเป็นนิติกรรมที่กฏหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ซึ่งการรับฟังพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลในกรณีขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก เมื่อปรากฏว่าหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินระบุราคาขายฝากและสินไถ่ไว้จำนวน 4,200,000 บาท และผู้ขายฝากได้รับเงินจากผู้รับซื้อฝากเป็นการเสร็จแล้ว โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารว่า ราคาขายฝากที่แท้จริงมีเพียง 1,800,000 บาท และได้รับเงินตามสัญญาขายฝากไม่เต็มจำนวนไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามบัญญัติของมาตรา 94(ข) จึงต้องรับฟังตามหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินว่า โจทก์จำเลยตกลงขายฝากที่ดินพิพาทในราคาขายฝากและกำหนดสินไถ่ไว้เป็นเงิน 4,200,000 บาท แม้โจทก์จะนำเงินสินไถ่ไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์เพื่อเป็นค่าไถ่ที่ดินพิพาทที่ขายฝากในราคา 2,030,000 บาท ก็ไม่ครบตามจำนวนสินไถ่ที่กำหนดไว้ตามสัญญา ถือเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง จำเลยย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับเงินสินไถ่ดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทที่ขายฝากคืนให้แก่โจทก์

2. จำเลยไม่ได้ให้การชัดแจ้งว่า ได้ชำระหนี้ตามสัญญาเงินกู้แล้ว แต่นำสืบว่าผ่อนชำระตามสัญญากู้เงินครบแล้ว ถือเป็นการนำสืบนอกเหนือจากที่ให้การต่อสู้ไว้ ห้ามศาลรับฟัง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4376/2560 

    จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่า จำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยยอมรับตามที่โจทก์กล่าวอ้างที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยผ่อนชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวครบแล้ว จึงเป็นการนำสืบนอกเหนือจากที่ให้การต่อสู้ไว้ไม่อาจให้รับฟังได้ 
    จำเลยให้การต่อสู้ว่า ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจำเลยกู้เงินและรับเงินจากโจทก์มาเพียง 40,000 บาท แต่โจทก์กรอกจำนวนเงินกู้ถึง 400,000 บาท โจทก์มีหน้าที่ต้องมอบเงินที่ขาดอยู่อีก 360,000 บาท แก่จำเลย โดยจำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไปแล้วเพียงใด ที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวให้โจทก์แล้ว จึงเป็นการนำสืบนอกเหนือจากที่ให้การต่อสู้ไว้ไม่อาจรับฟังได้

3.ฟ้องเพิกถอนการให้โดยเสน่หา จำเลยทั้งสองจะนำสืบพยานบุคคลว่า เพื่อให้เสียค่าธรรมเนียมน้อยแทนการซื้อขายและการให้โดยมีภาระติดพัน ไม่ถือว่าเป็นการนำพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร 
คำพิพากษาฎีกาที่ 156/2561    

    คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์เป็นกรณีขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และที่ 2 อันสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาทั้งแปลง มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องร้องขอให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาที่ก่อนิติสัมพันธ์กันเอง การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา 400,000 บาท แต่เพื่อให้เสียค่าธรรมเนียมน้อยลงจึงแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินว่า เป็นการให้แทนการซื้อขายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองนำสืบถึงเจตนาที่แท้จริงของการทำนิติกรรมหรือมูลเหตุที่มาของการทำสัญญาให้ระหว่างจำเลยทั้งสอง แม้สัญญาให้ที่ดินระบุว่า จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีค่าตอบแทน เพราะผู้รับการให้เป็นหลานของผู้ให้ จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่า การให้ที่ดินพิพาทตามสัญญาให้เป็นการให้ที่ดินโดยมีค่าภาระติดพันได้ กรณีจึงไม่ใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 94(ข) และพ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการโอนโดยเสียค่าตอบแทน เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมิได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย

4.ประกาศของธนาคารไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมาย การเรียกให้ชำระหนี้และติดตามทวงถาม ต้องมีหนังสือแจ้งเตือน แม้จะไม่ได้มีการส่งหนังสือทวงถามก็นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารได้
คำพิพากษาฏีกาที่ 4573/2561 

    ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยกำหนดว่าในการเรียกให้ชำระหนี้และติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีหนังสือแจ้งเตือนผู้บริโภคที่ผิดนัดชำระหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน  ก่อนดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฏหมายประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ผู้ประกอบธุรกิจใช้ปฏิบัติตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่บทบัญญัติของกฏหมายที่ ป.วิ.พ. มาตรา 94 บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โดยห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดงเมื่อโจทก์นำสืบโดยมี ย. ผู้มอบอำนาจช่วงจากโจทก์มาเบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้บัตรเครดิตและหนี้สินเชื่อพร้อมใช้ตามสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยชอบ และครบกำหนดจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงฟ้องจำเลย แม้โจทก์มิได้นำหนังสือทวงถามมาแสดงต่อศาล ก็รับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94(ก) หรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 

5.ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดและดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดจนถึงวันฟ้องมารวมเป็นจำนวนเงินที่ฟ้องด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ 4187-4189/2561

     ศาลชั้นต้นเป็นศาลแขวงซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาทตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) โดยต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 ขอให้บังคับเอาจากจำเลยทั้งสองในวันที่ยื่นฟ้อง เมื่อโจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในมูลละเมิดตามคำฟ้องเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ที่ 4 ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในมูลละเมิดตามฟ้องเป็นเงินจำนวน 295,707.32 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2557 เป็นต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ และโจทก์ที่ 5 ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในมูลละเมิดตามคำฟ้องเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2557 เป็นต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงต้องนำดอกเบี้ยซึ่งคิดคำนวณนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2557 จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 4 สิงหาคม 2558 มารวมเป็นจำนวนเงินที่ฟ้องด้วย คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ย่อมเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าสามแสนบาท ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงย่อมไม่มีอำนาจรับคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฟ้องคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 เป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 นี้เป็นข้อกฏหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยื่นอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142(5) 

6.ผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 2 กระทง กระทงละ 1 ปี  เป็นคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 6289-6290/2561

    ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 กระทง กระทงละ 1 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียวเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฏหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจได้เองตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 9

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก