คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 5|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 5

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 5

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 5

  • Defalut Image

1. การที่โจทก์ส่งบันทึกคำเบิกความให้ฝ่ายจำเลยเพียงปากเดียว ส่วนพยานอีก 2 ปาก โจทก์นำพยานมาเบิกความ

บทความวันที่ 12 ก.ย. 2562, 10:38

มีผู้อ่านทั้งหมด 2944 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 5

1. การที่โจทก์ส่งบันทึกคำเบิกความให้ฝ่ายจำเลยเพียงปากเดียว ส่วนพยานอีก 2 ปาก โจทก์นำพยานมาเบิกความ โดยไม่ได้จัดทำบันทึกเบิกความให้จำเลยตามที่แถลงต่อศาลและศาลอนุญาต คำเบิกความพยานโจทก์ ทั้ง 2 ปาก ไม่ได้มีกฎหมายห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานแต่ประการใด
คำพิพากษาฎีกาที่ 41/2561

    จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงว่า จะจัดบันทึกคำเบิกความแทนการซักถามมายื่นต่อศาล และส่งให้อีกฝ่ายก่อนวันสืบพยานภายในระยะเวลาตามกฎหมาย และศาลชั้นต้นอนุญาตแต่โจทก์ส่งบันทึกคำเบิกความของ ว. ให้ฝ่ายจำเลยทั้งสองเพียงปากเดียว ส่วนพยานอีก 2 ปากคือ ก. และ ส. โจทก์นำพยานมาเบิกความโดยไม่จดทำบันทึกเบิกความส่งให้จำเลยตามที่แถลงต่อศาลและศาลอนุญาตแต่อย่างใด อันเป็นการไม่ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 103/2 มาตรา 120/1 และมาตรา 120/3 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ชอบที่ศาลจะยกฟ้องของโจทก์
    เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงตามท้องสำนวนจะปรากฏว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ดำเนินการสืบพยานหลักฐานไปตามวิธีการที่คู่ความตกลงกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 103/2 โดยคู่ความจะจัดทำบันทึกคำเบิกความแทนการซักถามมายื่นต่อศาลและส่งให้อีกฝ่ายก่อนวันสืบพยานภายในระยะเวลาตามกฎหมาย อันเป็นการสืบพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตาม 120/1 วรรคหนึ่ง แต่ตามบทบัญญัติของกฎหมายเมื่อมีการยื่นบันทึกถ้อยคำต่อศาลแล้ว  คู่ความที่ยื่นไม่อาจถอนบันทึกถ้อยคำนั้น บันทึกถ้อยคำนั้นเมื่อพยานเบิกความรับรองแล้วให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความตอบคำซักถามเท่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120/1 วรรคสอง ในกรณีที่โจทก์ส่งบันทึกคำเบิกความของ ว. ให้ฝ่ายจำเลยทั้งสองเพียงปากเดียว ส่วนพยานอีกสองปากคือ ก. และ ส. โจทก์นำพยานเบิกความโดยไม่ได้จัดทำบันทึกคำเบิกความส่งให้จำเลยทั้งสองตามที่แถลงต่อศาลและศาลอนุญาตแต่อย่างใด มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานแต่ประการใด และบันทึกคำเบิกความของ ว. ที่โจทก์ส่งให้ฝ่ายจำเลยทั้งสองเพียงปากเดียวก็ปรากฎข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกับประเด็นโดยตรง ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกับคำเบิกความของ ก. และ ส. การสืบพยานของโจทก์แม้จะมิได้ดำเนินการไปตามวิธีการที่คู่ความตกลงกัน แต่ก็มิได้ก่อให้เกิดความไม่เป็นเที่ยงธรรมแก่ฝ่ายจำเลยทั้งสอง มิใช่เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 103/2 มาตรา 120/1 และมาตรา 120/3 และเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้ชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์แต่ประการใด การรับฟังพยานหลักฐานตามทางนำสืบโจทก์เป็นไปโดยชอบแล้ว

2. คดีก่อนโจทก์ฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรส ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากไม่มีเหตุหย่า คดีหลัง โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสและชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่คดีก่อนยังไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่ง จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาฎีกาที่ 2854/2561

    คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากันและแบ่งสินสมรส ประเด็นในคดีก่อนมีว่า มีเหตุหย่าหรือไม่ หากศาลพิพากษาให้หย่า จึงจะมีการแบ่งสินสมรสว่ามีทรัพย์สินใดที่เป็นสินสมรส เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากไม่มีเหตุหย่า จึงไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสและให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุให้แยกสินสมรสหรือไม่ และจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือไม่ และสินสมรสที่ต้องแยกได้แก่ทรัพย์สินใด ประเด็นแห่งคดีนี้และประเด็นคดีก่อนจึงต่างกัน แม้ทรัพย์สินที่อ้างตามฟ้องคดีนี้จะเป็นทรัพย์สินตามฟ้องกับคดีก่อน แต่เมื่อคดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่ ต้องแบ่ง จึงถือไม่ได้ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เกี่ยวกับสินสมรสเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน

3.การชำระเงินกู้ผ่านทางธนาคารของผู้ให้กู้ ถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยมีสิทธินำสืบการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยการนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 97/2561

    จำเลยผู้กู้นำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ผู้ให้กู้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมจากโจทก์ เป็นการชำระหนี้ผ่านธนาคารที่โจทก์มีบัญชีเงินฝากเพื่อให้โจทก์ได้รับเงินที่ชำระหนี้ โดยไม่ได้ทำนิติกรรมโดยตรงโจทก์ จึงไม่อาจมีการกระทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ได้ การที่โจทก์เจ้าหนี้มิได้โต้แย้งไม่รับเงินถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้อย่างแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จำเลยมีสิทธินำสืบการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยการนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ได้

4. จำเลยอ้างว่ากู้ยืมเงินไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ การลงลายมือชื่อโดยไม่ได้มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จำเลยย่อมนำพยานบุคคลมานำสืบได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 34/2561

    สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจะบริบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงินทั้ง 2 ฉบับจึงเป็นสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ สัญญากู้เงินทั้ง 2 ฉบับเกิดจากการฉ้อฉลโดยโจทก์บีบบังคับหลอกลวงจำเลยลงลายมือชื่อโดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญากู้เงินทั้ง 2 ฉบับ ถือว่าเป็นการปฏิเสธอ้างเหตุความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นที่จำเลยจะสืบพยานให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ แห่งหนี้ดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ทั้ง 2 ฉบับ จึงเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ มาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้

5. ระยะเวลายื่นคำร้องเพิกถอนกระบวนการผิดระเบียบ ต้องกระทำไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1564/2561

    ส่วนระยะเวลาในการยื่นคำร้อง มาตรา 27 วรรคสอง กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยื่นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา
    ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ในวันนัดดังกล่าว ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาซึ่งมีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้โจทก์นำสืบพยานเพิ่มเติม ให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสามฉบับ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาต่อไป และศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา หากโจทก์เห็นว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดหลงหรือผิดระเบียบ โจทก์ต้องยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น กรณีจึงไม่มีคำสั่งของศาลชั้นต้นที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาของศาลชั้นต้น จึงเป็นการปฏิบัติที่ผิดขั้นตอนไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้

6. การขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องยื่นภายในระยะเวลาอุทธรณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 349/2561

    การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย ผู้อุทธรณ์ต้องยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์จะยื่นเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้เมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยพลัน การที่ผู้พิพากษาได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า ที่ดินพิพาทราคาประเมิน 50,000 บาท และโจทก์ถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดี จำเลยซึ่งมีทนายความช่วยแก้ต่างย่อมต้องทราบมาแต่ต้นแล้วว่าคดีนี้ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับอุทธรณ์ จำเลยหาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ ข้ออ้างของจำเลยพึ่งมาทราบเมื่อศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาทตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่าที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกิน 50,000 บาทนั้นจึงรับฟังไม่ได้

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 5

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก