คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 8|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 8

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 8

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 8

  • Defalut Image

1. การใช้ปืนยิงไปยังรถทั้งที่รู้อยู่ว่ามีคนวิ่งไปหลบอยู่ แต่โดนกระจก มีความผิดฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์

บทความวันที่ 1 ส.ค. 2562, 11:29

มีผู้อ่านทั้งหมด 3253 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 8

1. การใช้ปืนยิงไปยังรถทั้งที่รู้อยู่ว่ามีคนวิ่งไปหลบอยู่ แต่โดนกระจก มีความผิดฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 7716/2561

    จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 เมื่อผู้เสียหายที่ 1 วิ่งหลบหนีไปในบริษัท จำเลยยังไล่ยิงไปยังรถบัสของผู้เสียหายที่ 2 ขณะมีพนักงานวิ่งหนีเพื่อไปหลบบนรถ กระสุนไม่ถูกผู้ใด แต่ถูกกระจกมองข้างของรถบัสผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหาย จากการกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายที่ 1 ถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 1  เมื่อกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายที่ 1 แต่ถูกกระจกมองข้างของรถบัสได้รับความเสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 และทำให้เสียทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2

2. ขอยืมรถจักรยานยนต์ของผู้อื่น แล้วนำไปจำนำ มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 8644/2561

    พฤติการณ์ที่จำเลยขอยืมรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจาก ช. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อนั้นการที่ ช. อนุญาตให้จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปส่ง ส. จึงเป็นการส่งมอบการครอบครองรถจักรยานยนต์ให้จำเลยชั่วคราว ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องนำรถจักรยานยนต์ที่ขอยืมไป มาคืน ช. เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจำนำแก่บุคคลภายนอก จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริตขณะที่จำเลยครอบครองทรัพย์นั้นอันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก การกระของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ ที่โจทก์ฎีกาว่าได้ความจาก ส. ว่า จำเลยบอกว่า หลังจากจำเลยได้รถจักรยานยนต์แล้วนำไปขายทันที การขอยืมรถจึงเป็นอุบายที่จะได้รถจักรยานยนต์ไปนั้นก็เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ถึงเจตนารมณ์ของจำเลยซึ่งไม่อาจนำมารับฟังเป็นผลร้ายว่าจำเลยมีเจตนาเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น

3. ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนปลดกรรมการ ประธานกรรมการและแต่งตั้งตัวเองเป็นประธานกรรมการบริษัทได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6454/2561

    ป.พ.พ มาตรา 1175 วรรคหนึ่ง กำหนดให้แจ้งวันนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนั้น ก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มา การแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือขอเชิญชวนประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 4 เมษายน 2557 เรียนประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 เมษายน 2557 โดยจัดส่งหนังสือเชิญประชุมไปยังภูมิลำเนาของผู้ถือหุ้นทุกคนทางไปรษณีย์ตอบรับและลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ส่วนท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันตามบทบัญญัติดังกล่าวและตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แล้ว การเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 เมษายน 2557 จึงชอบด้วยกฎหมาย
    ป.พ.พ. มาตรา 1185 มีความหมายเพียงว่า ห้ามมิให้ออกเสียงลงมติเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเกี่ยวกับข้อซึ่งที่ประชุมลงมติเท่านั้น เมื่อการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัท เป็นเรื่องปกติของการบริหารจัดการบริษัทซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมหรือครอบงำของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น  ดังนั้นผู้ถือหุ้นย่อมมีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัทได้ ถือตามคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รับรองสิทธิของผู้ถือหุ้นในการควบคุมดูแลการจัดการงานของบริษัท การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิออกเสียงปลดโจทก์ทั้งสองออกจากกรรมการและปลดโจทก์ที่ 1 ออกจากประธานกรรมการ และแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 แทน จึงเป็นปกติธรรมของวิธีการจัดการบริษัทจำกัด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1144 และมาตรา 1151 นอกจากนี้การที่ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นมีมติให้ถอดถอนโจทก์ทั้งสองออกจากกรรมการและถอดถอนโจทก์ที่ 1 ออกจากประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 และแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 หลุดพ้นจากการถูกตรวจสอบการบริหารงานของจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการและจำเลยที่ 3 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ยังคงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ในความครอบงำหรือการควบคุมของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอยู่ต่อไป ดังนั้น การออกเสียงลงคะแนนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นกรณีพิเศษแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องดังกล่าวก็เป็นเพียงส่วนได้เสียตามธรรมดาหาใช่ส่วนได้เสียเป็นพิเศษที่จะถึงกับต้องห้ามไม่ให้ร่วมลงมติตามมาตรา 1185 แต่อย่างใดไม่ การออกเสียงลงมติ ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ขัดบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

4. การโอนหุ้นที่ฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทแต่ได้แจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ผู้รับโอนจะใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นไม่ได้ 
คำพิพากษาฎีกาที่ 5953/2561

     หุ้นของผู้คัดค้านที่บริษัท ค.โอนให้ ก.เป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นโดยมีข้อบังคับของผู้คัดค้านกำหนดไว้ว่าหุ้นของบริษัทนั้นโอนกันได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการก่อนเท่านั้น และมติในการประชุมของคณะกรรมการเกี่ยวกับการให้ความยินยอมในการโอนหุ้นใดๆของบริษัท จะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากกรรมการอย่างน้อย 5 คน ดังนี้การโอนหุ้นระหว่างบริษัท ค. กับ ก. จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับดังกล่าวที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคหนึ่ง
    ขณะที่บริษัท ค.ทำสัญญาโอนหุ้นให้ ก.นั้นการโอนหุ้นของบริษัท ค.ให้ ก.ไม่ได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการของผู้คัดค้านและมิได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ แม้จะแจ้งชื่อจะแจ้งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่า ก.เป็นผู้ถือหุ้นที่รับโอนจากบริษัท ค. ก็ดี แต่เป็นการกระทำของ ก.ไม่ใช่เป็นของคณะกรรมการผู้คัดค้าน การโอนหุ้นระหว่างบริษัท ก.จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับของผู้คัดค้านและไม่ชอบด้วยมาตรา 1129 วรรคหนึ่ง ก.จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นของผู้คัดค้าน และไม่อาจใช้สิทธิใดๆในฐานะผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้ การที่ ก.ออกหนังสือเชิญประชุมเข้าร่วมประชุมทำหน้าที่ประธานที่ประชุมและออกเสียงในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเรื่องเปลี่ยนแปลงกรรมการอำนาจกรรมการและเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติต่างๆที่ลงไว้ก็เป็นมติที่ไม่ชอบ

5. การประชุมที่มีผู้ถือหุ้น ไม่ถึงหนึ่งในสี่ของบริษัท และมีบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม ไม่ถือเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนมติมีการประชุม ไม่อยู่ในกำหนดต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมติ
คำพิพากษาฎีกาที่ 6713/2561

    การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. จำนวน 300,000 หุ้น จากจำนวนทั้งหมด 1,500,000  หุ้นและจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. ดังนี้ นอกจากลำพังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. เป็นจำนวนไม่ถึงหนึ่งในสี่ของบริษัทจะไม่สามารถเป็นองค์ประชุมที่จะปรึกษากิจการอันใดของบริษัทตามมาตรา 1178 ได้แล้ว การที่ไม่มีผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. เข้าร่วมประชุมตั้งแต่ 2คนขึ้นไป ย่อมทำให้ไม่อาจดำเนินการประชุมหรือลงมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. ได้โดยสภาพอีกทั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. ยังเข้าร่วมประชุมและลงมติด้วย จึงไม่มีลักษณะเป็นการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. เป็นการทั่วไปตามมาตรา 1171 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เช่นนี้การประชุมดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. กรณีหาใช่เป็นเพียงมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัท พ. อันผิดระเบียบเพราะมีการประชุมและลงมติโดยฝ่าฝืนมาตรา 1178 แต่ต้องถือว่าการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. มิได้เกิดขึ้นและไม่มีการประชุมกันจริง คงมีเพียงการลงมติที่ประชุมของจำเลยทั้งเก้าซึ่งนำไปใช้อ้างต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่าเป็นการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. เพื่อใช้ในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการเท่านั้นอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายและกรณีมีเหตุต้องเพิกถอนมติที่ประชุมของจำเลยทั้งเก้าดังกล่าวการที่โจทก์ทั้งหกฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของจำเลยทั้งเก้าซึ่งอ้างว่าเป็นการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. จึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัท อันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 และไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องขอให้เพิกถอนภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้น แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องพ้นกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่มีการลงมติที่ประชุมของจำเลยทั้งเก้าแล้ว โจทก์ทั้งหกก็มีสิทธิฟ้องคดีนี้
    โจทก์ทั้งหกฟ้องขอให้ถอนมติที่ประชุมของจำเลยทั้งเก้าซึ่งอ้างว่าเป็นการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัท พ. และไม่อาจถือว่ามติที่ประชุมของจำเลยทั้งเก้าซึ่งนำไปใช้อ้างต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัท พ. มานั้นเป็นการพิพากษาซึ่งไม่ตรงกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งหกและเป็นการเป็นการพิพากษาเกินคำขอเป็นการพิพากษาซึ่งไม่ตรงกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งหกและเป็นการพิพากษาเกินคำขอปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 8

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก