คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

  • Defalut Image

1.ใบแต่งทนายความระบุให้ทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความ

บทความวันที่ 26 ก.ค. 2562, 10:21

มีผู้อ่านทั้งหมด 1140 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

1.ใบแต่งทนายความระบุให้ทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความ เมื่อทนายความตกลงประนีประนอมยอมความโดยไม่แจ้งตัวความ ตัวความไม่สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 10005/2559

    ในกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอม หากคู่ความฝ่ายใดฝายหนึ่งเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย คู่ความจะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวหากเข้าเหตุหนึ่งเหตุใดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความว่า ใบแต่งทนายความจำเลยระบุข้อความเกี่ยวกับอำนาจของทนายความให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของจำเลย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ โดยมีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยพร้อมตราประทับของจำเลยถูกต้องตามหนังสือรับรองของจำเลย ทนายความจำเลยย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่ตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสม ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ทนายความจำเลยไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นแม้จำเลยไม่ต้องการตกลงกับโจทก์ ก็เป็นเรื่องทนายความจำเลยกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของจำเลย หากจำเลยเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

2. โจทก์ฟ้องทำให้เสียทรัพย์ แต่ไม่บรรยายว่าทรัพย์นั้นเป็นพืชหรือพืชผลของกสิกร ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3119/2558

    การที่จะเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 359 (4) นั้น ต้องได้ความว่าเจ้าของทรัพย์นั้นเป็นกสิกร เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ข้าวนาปรังที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำให้เสียหายเป็นพืชหรือพืชผลของกสิกร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 359 ได้ เท่ากับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามแต่เพียงมาตรา 358 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 สำหรับคดีในส่วนแพ่งนั้น แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์จะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งที่เป็นการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกัน ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46

3. คำร้องที่ขอถอนผู้จัดการมรดกที่ศาลแต่งตั้งไว้ในฉบับก่อนโมฆะแล้วเพราะถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง หากนำพินัยกรรมฉบับก่อนมายื่นฟ้องอีก ถือว่ามีประเด็นพิพาทเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาฎีกาที่ 6475/2556

    หลังจากศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 207/2553 โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทน โดยอ้างว่าจำเลยนำพินัยกรรมฉบับแรก (ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2533) ซึ่งเป็นโมฆะเพราะถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง มาอ้างต่อศาลเพื่อแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก อันมีพฤติกรรมไม่สุจริตและเท่ากับ จำเลยสละสิทธิตามพินัยกรรมฉบับหลังสุด (ลงวันที่ 29 เมษายน 2536) และพินัยกรรมทุกฉบับสิ้นผลบังคับแล้วเพราะล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ทั้งสองในคดีดังกล่าวเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล จึงถือได้ว่าเป็นคำฟ้อง เมื่อจำเลยยื่นคำคัดค้านคำร้องของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง คำคัดค้านของจำเลยจึงเป็นคำให้การ แม้คดีดังกล่าวจะมีประเด็นพิพาทว่า ใครสมควรเป็นผู้จัดการมรดก แต่การที่ศาลจังหวัดสีคิ้วจะมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก หรือแต่งตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่หรือไม่นั้น ศาลในคดีดังกล่าวจะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2533 ที่ผู้ตายระบุตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนั้นเป็นโมฆะหรือสิ้นผลบังคับตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างหรือไม่ คดีนี้ โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุทำนองเดียวกันกับคดีดังกล่าวว่า จำเลยใช้พินัยกรรมที่ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังแล้วยื่นต่อศาลขอให้แต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว ถือว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริต ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ และให้แบ่งที่ดินมรดกแก่โจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองในคดีนี้จะมีคำขอให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองด้วย แต่ศาลชั้นต้นก็จะพิพากษาให้ได้ความเสียก่อนว่า พินัยกรรมที่จำเลยอ้างเป็นโมฆะหรือสิ้นผลบังคับหรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 207/2553 ของศาลจังหวัดสีคิ้ว เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นด้วยกันและมีประเด็นจะต้องวินิจฉัยในเรื่องเกี่ยวกับคดีนี้ ฟ้องคดีนี้ของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) 

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก